ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สิทธิ หน้าที่ และจริยธรรมของ สื่อ สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ ในทางการเมืองการปกครอง

สิทธิ หน้าที่ และจริยธรรมของ สื่อ สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ ในทางการเมืองการปกครอง

เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
12 มิถุนายน 2557 16.45 น.
-------------------

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น
          นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการพัฒนาท้องถิ่น ควรจะต้องรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจระบบ หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ได้อย่างถูกต้อง ไม่กระทำผิดกฎหมายเสียเอง กฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น มีดังนี้
1. กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการท้องถิ่น แบ่งออกเป็น
          (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
          (2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

          2. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้ง แบ่งออกเป็น
                   (1) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
(2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528        
(3) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542     
(4) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
(5) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
3. กฎหมายด้านอื่น ๆ แบ่งออกเป็น
(1) พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545
                   (2) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
(3) พระราชบัญญัติเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2509
(4) พระราชบัญญัติเครื่องแบบและบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530
(5) พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500
(6) พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542
(7) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
                    นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการพัฒนาท้องถิ่น ควรจะต้องรู้จักและเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ดังนี้
                   1. กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ประกอบด้วย
                   2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ประกอบด้วย
                   3. กฎหมายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ได้แก่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560
                    4. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
                    5. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521

                    ผู้เขียนขอกล่าวถึงกฎหมายสำคัญมากต่อการปฏิบัติงานของนักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น นั่นคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักศึกษาในฐานะผู้เรียน และในฐานะผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่น ปฏิบัติงานในงานการปกครองท้องที่ หรือปฏิบัติงานในองค์กรอื่น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ องค์กรการกุศลที่ไม่หวังกำไร องค์กรเอกชน จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเคารพต่อสิทธิของบุคคลอื่นในสังคม และไม่กระทำการฝ่าฝืน เพราะมีอัตราโทษสูงมาก ทุกท่านจึงควรศึกษาทำความเข้าใจและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  

                    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติว่า
ด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 มีสาระสำคัญที่นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการพัฒนาท้องถิ่น ควรจะต้องรู้จักและเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

                    บทบัญญัติที่มุ่งรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศและคุ้มครองสิทธิของประชาชน
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (๑) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้”
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทําความผิด ตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิด ตามมาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทําให้แพร่หลายของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนําข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ”

                    บทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของประชาชน
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้นน่าจะทําให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็น การติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา ผ้กระท ู ําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”
มาตรา ๑๖/๑ ในคดีความผิดตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๖ ซึ่งมีคําพิพากษาว่าจําเลย มีความผิด ศาลอาจสั่ง
(๑) ให้ทําลายข้อมูลตามมาตราดังกล่าว
(๒) ให้โฆษณาหรือเผยแพร่คําพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จําเลยเป็นผู้ชําระค่าโฆษณา หรือเผยแพร่
(๓) ให้ดําเนินการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทํา ความผิดนั้น
มาตรา ๑๖/๒ ผู้ใดรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ในความครอบครองของตนเป็นข้อมูลที่ศาลสั่งให้ทําลาย ตามมาตรา ๑๖/๑ ผู้นั้นต้องทําลายข้อมูลดังกล่าว หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๖ แล้วแต่กรณี



จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

                    นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการพัฒนาท้องถิ่น ควรจะต้องรู้จักและเข้าใจหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ดังนี้
                    1. สิทธิและหน้าที่ของนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
                        นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจาก http://nattawatt.blogspot.com/2014/06/blog-post_4.html)
                        สิทธิ
    นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการ
ปกครองท้องถิ่น มีสิทธิ ดังต่อไปนี้
                        1. สิทธิของสื่อมวลชนในการแสวงหาข่าวสารมานำเสนอต่อชุมชนท้องถิ่น (Right to access)
                        2. สิทธิของสื่อมวลชนในการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ เสนอแนะ ข่าวสารที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น (Freedom of expression)
                        3. สิทธิของสื่อมวลชนในเผยแพร่ข่าวสารต่อชุมชนท้องถิ่นและต่อสังคมทั่วไป (Freedom of print)
                        หน้าที่
    นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการ
ปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    1. หน้าที่ในการแจ้งข่าวสาร (to inform) ต่อประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
                        2. หน้าที่ในการพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล (Safeguarding personal liberties) ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
                        3. หน้าที่ในการพิทักษ์ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น (Safeguarding Natural Resources) ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
    3. หน้าที่ในการเกื้อกูลระบบการเมืองและการปกครองท้องถิ่น (Servicing the Political
System) ของชุมชนท้องถิ่น
    4. หน้าที่ในการเกื้อกูลระบบการเศรษฐกิจ (Servicing the Economic System) ของ
ชุมชนท้องถิ่น
    5. หน้าที่ในการเกื้อกูลระบบวัฒนธรรม (Servicing the Cultural System) ของ
ชุมชนท้องถิ่น
    6. หน้าที่ในการสร้างเสริมสติปัญญาแก่สาธารณชน (Enlightening the Public) ให้แก่
ประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
                        7. หน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของชุมชนท้องถิ่น (Information Center)
                        8. หน้าที่ในการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับรัฐและสังคม (Connectivity)
                        9. หน้าที่ในการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น (Participatory) ในทางการเมืองการปกครอง
                        10. หน้าที่ในการสร้างเสริมความเป็นพลเมืองของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น (Citizenship) ในทางการเมืองการปกครอง
                    2. หลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
                        หลักจริยธรรม
                        นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, 2554 หน้า 5-14-5-16)
                              1. ความรับผิดชอบ
                              2. ความจริง
                              3. ความเที่ยงธรรม
                              4. ความรอบคอบ
                              5. ความเป็นกลาง
                              6. การไม่มีความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ หรือ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
                              7. การไม่ละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคล
                              8. การคำนึงถึงประโยชนาธารณะ
                              9. ความกล้าหาญทางจริยธรรม
          3. การหลีกเลี่ยงการกระทำผิดจริยธรรม
                        นักนิเทศศาสตร์ นักประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน และนักสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการประพฤติผิดหลักจริยธรรม ดังต่อไปนี้ (ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, 2554 หน้า 5-5-5-9)
1. การโกหกและการหลอกลวง
2. การเสแสร้ง
3. การบิดเบือน
4. การนำเสนอความจริงครึ่งเดียว
5. การสร้างเหตุการณ์เทียม
6. การละเมิดสิทธิส่วนตัวบุคคลอื่น
7. การซ้ำเติมผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรม
8. การอคติลำเอียง
9. การไม่เที่ยงธรรม
10. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน
11. การมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับแหล่งข่าว
12. การชี้ช่องอาชญากรรม
13. การแต่งเรื่อง
14. การพาดหัวข่าวเกินจริง
15. การสถาปนาบุคคลให้กลายเป็นวีรบุรุษ
16. การขยายความจริงให้ใหญ่กว่าความเป็นจริง
17. การทำข่าวให้เป็นละคร
18. การอนุมานเอาเอง
19. การลงความเห็น
20. ความขาดเขลาของสื่อ
21. การขาดเมตตาธรรมของสื่อ
22. การยึดภาพฝังใจ
23. การไม่ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นที่ตั้ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค