ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข่าว..วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น

ข่าว..วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น
.................................................................
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีช่องทีวีเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีดิจิทัล..ช่วยให้เรามีทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีกหลายสถานี

ยิ่งเปิดสถานีโทรทัศน์มากขึ้น..ยิ่งเปิดช่องทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น จะส่งผลให้..

การแข่งขันการนำเสนอข่าวจะมีมากขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงเรตติ้งรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงขึ้น..
การแข่งขันช่วงชิงผู้ชมรายการข่าวจะยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น..
.....................................
ข่าว..จะกลายเป็น "สินค้า" (Commodity) อย่างหนึ่ง
ข่าวจะถูกผลิต (Production) มากขึ้น
ข่าวจะถูกผลิตซ้ำ (Reproduction) มากยิ่งขึ้น
......................................
ข่าวจะผลิต "ความตื่นเต้น" (Exciting) ให้แก่ผู้ชม
ผู้ชมจะบริโภคความตื่นเต้นนั้นอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ไม่นานเกินกว่า 5 วัน..ข่าวนั้นก็จะจางหายไปจากความทรงจำและความรู้สึกของผู้คน
.....................................
ข่าว..จึงต้องมีการผลิตซ้ำ  (Reproduction) เพื่อทำหน้าที่ตอกย้ำความตื่นเต้น รักษาระดับความตื่นเต้นไว้ให้สม่ำเสมอ ในความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม

นอกจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารแล้ว การชมข่าวยังเป็นการบริโภคอารมณ์ความรู้สึกตื่นเต้น ที่มนุษย์มีความต้องการแสวงหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน

การชมข่าว..กลายเป็นสิ่งจำเป็น กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คน และกลายเป็นวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง

ผู้ชมบริโภคข่าวในฐานะที่มันเป็น "สินค้าทางวัฒนธรรม" ชนิดหนึ่ง
ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้
....................................
นัยหนึ่ง ข่าวจะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการด้านการรับรู่้ข่าวสารและความเคลื่อนไหวในสังคม

แต่อีกนัยหนึ่ง ข่าวกลับทำหน้าที่ในการตอบสนอง human interest ได้ดียิ่งกว่า นั่นคือ "การตอบสนองทางอารมณ์" และ "การสร้างความพึงพอใจทางอารมณ์" ให้แก่ผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนอง "ความต้องการบริโภคความตื่นเต้น" ของผู้ชม
...................................
อันที่จริงผู้ชมได้บริโภคความตื่่นเต้นที่ได้รับจาก "ละคร" มาจนท่วมท้นแล้ว

หากแต่ผู้ชม "รู้เท่าทัน" ความรู้สึกของตัวเองว่า ละคร มันเป็น "เรื่องเล่า" มันไม่ใช่เรื่องของความเป็นจริงที่เราพบเห็นในชีวิต ขณะที่ผู้ชมกำลังชมละคร ผู้ชมก็มีสติรับรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังดูเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์สมมุติ หาใช่ความเป็นจริงแต่อย่างใด

ในขณะที่ "ข่าว" กลับให้ความรู้สึกการสัมผัสถึง "ความเป็นจริง" (Reality) ได้มากกว่า
ภาพข่าว ภาพเหตุการณ์ สร้างความรู้สึกตระหนักถึงความเป็นจริงได้มากกว่าละคร

ความเป็นจริงในข่าว..ไม่ว่าจะเป็น ข่าวอาชญากรรม ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวความก้าวหน้าเทคโนโลยี ล้วนแต่นำเสนอ "ความเป็นจริงอันน่าตื่นเต้น" อยู่ตลอดเวลา

ผู้บริโภค..เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการบริโภคความตื่นเต้น ย่อมพึงพอใจ

เมื่อนั้น "ข่าว" ย่อม "ขายได้"
.........................................
"ข่าว"..จะกลายเป็น "วัฒนธรรมการบริโภคสินค้าความตื่นเต้น" ไปในที่สุด
.........................................
ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
2 มิถุนายน 2557
23.09 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค