ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Best pracice ความสำเร็จในการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรีไทย ของ "ปุ้ย เปิงมาง" และวง "สวัสดี"

การสืบทอดทางวัฒนธรรม..ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ


         หากมองในแง่มุมของการถ่ายทอด (transmit) ทางวัฒนธรรม จะเน้นการมองจากมุมมองของผู้ถ่ายทอดหรือผู้ส่งสาร หมายถึง การส่งผ่านรูปแบบและเนื้อหาของวัฒนธรรม (form and content of culture) จากผู้ถ่ายทอดหรือผู้ส่งสารไปยังผู้รับการถ่ายทอดหรือผู้รับสาร ในลักษณะที่ว่า ได้รับอะไรมาก็ส่งผ่านไปอย่างนั้น มีอย่างไรก็ส่งไปอย่างนั้น

         แต่หากมองในแง่มุมของการสืบทอด (inherit) ทางวัฒนธรรม จะเน้นการมองจากมุมมองของผู้รับการถ่ายทอดหรือผู้รับสารเป็นหลัก โดยผู้รับสารจะพยายามรักษาวัฒนธรรมนั้นไว้มิให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือต่อสู้ดิ้นรนให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยทีี่สุด ในลักษณะที่ว่าได้รับมาอย่างไรก็พยายามนำไปปฏิบัติอย่างนั้นให้มากที่สุด และได้รับมาอย่างไรก็พยามนำไปถ่ายทอดให้เหมือนต้นแบบมากที่สุด

        ความหมายโดยสรุปของการสืบทอดทางวัฒนธรรม (cultural inheritance) คือ กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนา (learning and development) ของมนุษย์เพื่อที่จะรักษาอัตลักษณ์ของแบบแผนของความคิด ความเชื่อ วิถีทาง และแนวปฏิบัติของตนเองไว้

        โดยอาศัยกระบวนการในการสืบทอดทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเป็นการไหลเวียนอย่างต่อเนื่องกันไปอย่างไม่รู้จบ

         การสืบทอดทางวัฒนธรรมในที่นี้หมายถึงการสืบทอดในสิ่งที่ประกอบด้วยแนวคิด (concept) รูปแบบ (form) และเนื้อหา (content) และวิธีการ (method) ที่ใช้ในการสืบทอดวัฒนธรรม การสืบทอดทางวัฒนธรรมพิจารณาได้เป็น 3 มิติ คือ
             (1) มิติบุคคล (man) เป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมจากบุคคลกลุ่มหนึ่งไปยังบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง 
             (2) มิติพื้นที่ (space) เป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานอีกที่หนึ่ง 
             (3) มิติเวลา (time) เป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรมจากห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง

         เมื่อเรานิยามวัฒนธรรมว่าเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ไม่ตายตัว แต่สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับแต่งวัฒนธรรมให้เข้ากับยุคสมัยได้ การสืบทอดทางวัฒนธรรมจึงเป็นมากกว่า การรับไว้ (recieve) การรักษา (maintain) และการส่งผ่าน (transmit) วัฒนธรรม แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะรับ (recieve)  เรียนรู้ที่จะเลือก (select) เรียนรู้ที่จะใช้ (using) เรียนรู้ทีี่จะพัฒนา (develop) วัฒนธรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของมนุษย์ภายใต้บริบททางสังคมของพื้นที่และเวลาแห่งยุคสมัยนั้น

        ดนตรีไทย..เป็นวัฒนธรรมแขนงหนึ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการสืบทอดวัฒนธรรม..

        การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยในความหมายตามขนบเดิม คือ การการถ่ายทอดแนวคิด เป็นการเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพลงนั้น อันประกอบด้วย ถ่ายทอดแนวคิด เนื้อหา รูปแบบ และวิธีการของดนตรีไทย..

        แนวคิด หมายความถึง ความคิดและเจตนารมย์ของผู้ประพันธ์บทเพลงของเพลงนั้นว่าผู้ประพันธ์มีความคิดอย่างไรจึงได้แต่งเพลงนั้นออกมา และแต่งเพลงนั้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายใด สิ่งใดที่เป็นแรงบันดาลใจให้แต่งเพลง บริบททางสังคมช่วงนั้นเป็นอย่างไร..เนื้อหาของบทเพลงพูดถึงเรื่องอะไร ประเด็นอะไร..รูปแบบของบทเพลงเป็บแบบใด ใช้ทำนองดนตรีอย่างไร..วิธีการขับร้องและบรรเลงดนตรีควรใช้วิธีการแบบใด ใช้เครื่องดนตรีอะไร จำนวนกี่ชิ้น ผสมผสานกันอย่างไร บทเพลงนี้ควรใช้บรรเลงในวาระโอกาสใด

         หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทเพลงนั้นแล้ว ผู้ถ่ายทอดบทเพลง เช่น ครูสอนดนตรีไทย โรงเรียน มหาวิทยาลัย ชุมชน จะนำบทเพลงนั้นไปใช้ในการถ่ายทอดด้วยรูปแบบและวิธีการ 5 วิธี ได้แก่
         วิธีแรกคือ การสอนและการอบรม (teaching and training) เช่น การสอนตามหลักสูตร การสอนแก่ผู้สนใจ
         วิธีที่สองคือ การแสดง (performing) เช่น การบรรเลงดนตรีไทยในงานแต่งงาน งานบวช งานเทศกาลสงกรานต์
         วิธีที่สามคือ การเผยแพร่ความรู้ (diffusion) เช่น การจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย การจัดทำพิพิธภัณฑ์ การจัดทำเว็บไซต์ให้ความรู้เรื่องดนตรี
         วิธีที่สี่คือ การสร้างความรู้ (construction)การศึกษาวิจัย การอภิปรายถกเถียงทางสิชาการดนตร
         วิธีที่ห้าคือ การรักษาและเผยแพร่อุปกรณ์การเล่นดนตรี (instrument) เช่น การเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดนตรี การจัดตั้งศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ดนตรี..

        สำหรับรูปแแบบวิธีการถ่ายทอดดนตรีไทยด้วยการสอนและการอบรม จะมีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบเส้นตรง (linear communication model) หมายถึง การส่งเนื้อหาสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารผ่านวิธีการสื่อสารด้วยบอก การแนะนำ การให้ลงมือปฏิบัติ ลักษณะสำคัญของการถ่ายทอดด้วยวิธีการนี้คือ การคงรักษาต้นแบบสาร (original message) ไว้ให้มากที่สุดทั้งเนื้อเพลงและดนตรี รูปแบบเพลงและดนตรี และวิธีการบรรเลงเพลงและดนตรี โดยพยายามให้เกิดการคงรูปแบบและเนื้อหาของสาร (message) ตามต้นฉบับเอาไว้ ผู้สอนในฐานะผู้ส่งสารจะสอนตามต้นฉบับ ผู้เรียนในฐานะผู้รับสารก็จะได้รับการถ่ายทอดสารตามต้นฉบับ และจะได้รับการปลูกฝังจากผู้สอนว่า

        หากจะนำวิชาดนตรีไทยไปใช้และนำไปถ่ายทอดก็ควรจะต้องรักษาความเป็นต้นฉบับไว้ให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน การถ่ายทอดดนตรีไทยในความหมายนี้จึงเป็นการสื่อสารเพื่อที่จะคงไว้หริอรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมดนตรีไทยเอาไว้ให้ได้มากที่สุด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดนั่นเอง

         วิธีการสืบทอดดนตรีไทยตามแนวคิดการรักษาต้นฉบับดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการสืบทอดที่เข้มแข็งสามารถรักษาวัฒนธรรมดนตรีไทยไว้ได้อย่างต่อเนื่องยาวนานนับร้อยปีจนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย

         แต่เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความคิด วิถีชีวิต ความต้องการของคนในสังคม สภาพเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ทำมให้ผู้คนมีชีวิตที่แข่งขัน รีบเร่ง รวดเร็ว สะดวกสบายเป็นเศรษฐกิจแบบบริโภคนิยม อาศัยปัจจัยการบริโภคเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

         การบริโภคนอกจากการบริโภปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว ยังขยายความไปถึง "การบริโภคเพื่อสร้างความแตกต่าง" อีกด้วย

         การบริโภคเพื่อสร้างความแตกต่าง หมายถึง การสร้างความโดดเด่น สร้างภาพลักษณ์ สร้างการโอ้อวด การบริโภคเพื่อแก้ปัญหาความตึงเครียด ความเหงา ความอ้างว้างโดดเดี่ยว การลดความทุกข์ใจจากปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการหารายได้ไม่พอรายจ่าย ปัญหาความแตกแยกความขัดแย้งในสังคม ปัญหาการจราจร ปัญหาสภาะโลกร้อน ปัญหาสารพิษ ปัญหาสุขภาพที่คนในสังคมต้องเผชิญอยู่ทุกวัน

         สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อความคิด ทัศนคติ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และการปฏิบัติตนของคนในสังคม..ดนตรีไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในสังคม เปลี่ยนแปลงทั้งแนวคอด เนื้อหา รูปแบบและวิธีการ คนในสังคมบริโภคดนตรีไทยในฐานะผู้เล่นดนตรีไทย ในฐานะผู้ฟังดนตรีไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง สภาพเศรษฐกิจและสังคม และการแพร่ขยายของวัฒนธรรมดนตรีฝรั่ง ดนตรีญี่ปุ่น ดนตรีเกาหลี ที่คนในสังคมไทยรับเข้ามาในวิถีชีวิต..

         ทำให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการในการบริโภคดนตรี ทั้งเนื้อหา จังหวะ ทำนอง ที่เร็วกระชับ เน้นความสนถกสนานเป็นหลัก ประกอบกับมีการแสดงออกทางคำพูด ท่าเต้น การจัดแสง สี เสียง ที่เร้าความสนใจ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การตลาด เป็นสิ่งที่ครอบครองความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมไปหลายส่วน

         สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีผลทำ. ให้ประชาขนเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ ค่านิยม วิถีการดำเนินชีวิต ประชาชนในฐานะผู้บริโภควัฒนธรรมดนตรี

        ภายใต้แนวคิดการสืบทอดทางวัฒนธรรมข้างต้น ทีี่มองการสืบทอดเป็นการเรียนรู้และการพัฒนา การสืบทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยจึงควรมีการเรียนรู้ที่จะประยุกต์ดนตรีไทยให้เข้ากับยุคสมัย คำว่าให้เข้ากบยุคสมัยหมายถึง การพิจารณาถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ค่านิยมของบุคคล ความต้องการของบุคคล ความตัองการของชุมชน ความต้องการของสังคม ในพื้นที่นั้น ในชุมชนนั้น ในห้วงเวลานั้น

         กระบวนการสืบทอดทางวัฒนธรรมเป็นอย่างไร

         การสืบทอดทางวัฒนธรรมทำได้โดยอาศัยการทำงานในลักษณะกระบวนการ ประกอบด้วยกระบวนการผลิต (production) ทางวัฒนธรรม กระบวนการเผยแพร่ (distribution) ทางวัฒนธรรม กระบวนการบริโภค (consumption) ทางวัฒนธรรม และกระบวนการผลิตซ้ำเพืี่อเผยแพร่ขยายผลสืบต่อ (reproduction) ทางวัฒนธรรม ผมขออนุญาตตั้งชื่อเป็นการส่วนตัวเพื่อให้เรียกง่ายๆว่า PDCR: Production - Distribution - Consumption - Reproduction


          กลุ่มผู้รักดนตรีไทยกลุ่มหนึ่ง ใช้ชื่อวงว่า "สวัสดี" หัวหน้าวงคือคุณ "ปุ้ย เปิงมาง" หรือชื่อจริง "ชาลิตา สวัสดี"   กำลังพยายามสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรีไทย ในแนวทางของตนเอง ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับแนวคิด "กระบวนการสืบทอดทางวัฒนธรรม" PDCR ที่ผมพูดถึง

           ก. กระบวนการผลิต (production) ทางวัฒนธรรม ของวงสวัสดี และ ปุ้ย เปิงมาง คือการแสดงดนตรีไทยนี่แหละ แต่การแสดงดนตรีไทย โดยวงสวัสดีมิได้เล่นดนตรีไทยตามรูปแบบเดิม มิได้เล่นตาม "ขนบธรรมเนียม" เดิม หากแต่ได้มีการประยุกต์ เสริม เติม แต่ง ดัดแปลง เทคนิค ทักษะ และอารมณ์ทางดนตรี ใส่เข้าไปในการแสดงดนตรีตามแนวทางของตนเอง การออกแบบสร้างสรรค์ใหม่ (recreation) ทางการแสดงดนตรีไทย ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้เข้าไป ได้แก่
          (1) รูปแบบและวิธีการแสดงดนตรี
          (2) กลิ่นและรสชาด
          (3) ความสนุก
          (4) ความเป็นเอนเทอร์เทนเนอร์
          (5) การสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเอง

          ข. กระบวนการเผยแพร่ (distribution) ทางวัฒนธรรม ของวงสวัสดี และ ปุ้ย เปิงมาง ทำโดยการสื่อสารผ่านช่องทาง
          (1) การแสดงศิลปะ (performing) ของตนเองให้เป็นที่ชื่นชอบ ประทับใจผู้ชม โดยการแสดงโชว์ "เดี่ยวกลอง" ของ ปุ้ย เปิงมาง จนชนะใจผู้ชมแทบทุกพื้นที่ที่ไปเปิดการแสดง
          (2) การสื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์กระแสหลัก คือ รายการ Thailand Got Talent ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนได้เป็น "แชมป์" ของรายการ
          (3) การสื่อสารผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook และ YouTube


         ค. กระบวนการบริโภค (consumption) ทางวัฒนธรรม เป็นการบริโภคการแสดงดนตรีของของวงสวัสดี และ ปุ้ย เปิงมาง โดยผู้ชมที่ชมการแสดงสด การแสดงที่บันทึกไว้ในสื่อออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดีย Facebook และ YouTube คุณปุ้ย เปิงมาง ฉลาดที่จะเลือกใช้สื่อเพื่อสร้างการยอมรับวงสวัสดี

        ง. กระบวนการผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ขยายผลสืบต่อ (reproduction) ทางวัฒนธรรม โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้
            1. คุณปุ้ย เปิงทาง และชาวคณะดนตรีสวัสดี ได้ทำการผลิตซ้ำดนตรีไทย (thai tradition music reproduction) โดยได้ทำการออกแบบสร้างสรรค์ใหม่ (recreation) และพัฒนาการแสดงดนตรีไทยไปเรื่อย โดยการคำนึงถึงสภาพปัจจุบันของสังคม คำนึงถึงบริบททางสังคมการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแห่งยุคสมัย เช่น เพลงที่เลือกมาแสดงเป็น "เพลงเร็ว" เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย กระแตไต่ไม้ 
            2. การผลิตซ้ำโดยการคอมเม้นท์แสดงความคิดเห็นต่อท้าย และการแบ่งปัน (Share) ภาพวิดีโอผลงานแสดงที่อัพโหลดอยู่ใน YouTube
            3. การผลิตซ้ำโดยการพูดคุย แนะนำ เชิญชวน ผ่านการโต้ตอบสนทนาในสื่อสังคมโซเชียลมีเดียเฟสบุ๊ก

            หากสนใจศึกษา ลองเข้าไปชมผลงานของ ปุ้ย เปิงมาง และชาวคณะสวัสดี ได้ที่ลิ้งค์ >>

http://www.youtube.com/watch?v=9LvA6ODj8ag

http://www.youtube.com/watch?v=rwG_hWtRd-c

http://www.youtube.com/watch?v=uGov3lTj9Uw

         กระบวนการสืบทอดทางวัฒนธรรม" PDCR ซึ่งคุณปุ้ยและคณะสวัสดี  ได้สื่อสารจนทำให้เกิดการรับรู้ถึงการมีอยู่ เกิดความสนใจ โน้มน้าวใจประชาชนให้ติดตามชม ทางชมการแสดงสด และการชมทางสื่อออนไลน์ จนเป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง ข้ามประเทศ ได้รับการติดต่อให้ไปแสดงโชว์ในหลายๆ ประเทศ เหล่านี้คือ ตัวอย่างที่ดี หรือ Best Practice ของการสื่อสารเพื่อการสืบทอดทางวัฒนธรรมที่ผมพูดถึง
   
          คุณปุ้ย เปิงมาง และ ชาวคณะสวัสดี ได้ทำการผลิตซ้ำดนตรีไทย (thai tradition music reproduction) ได้อย่างสวยงาม น่าสนใจ น่าศึกษาวิเคราะห์ในฐานะผู้อยู่ในแวดวงการสื่อสาร และการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์

          รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
         15 เมษายน 2556
         เวลา 3.33 น.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค