ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเรียน คือ Reality drama..!! กฏแห่งการดรามา 14 ข้อ เพื่อความสำเร็จในชีวิต

การเรียน คือ Reality drama

การเรียนปริญญาโทปริญญาเอกทุกแห่ง รวมทั้งนิเทศศาสตร์ มสธ. และที่อื่นๆเปรียบเสมือนภาพยนตร์..ที่เรียกว่า "หนังชีวิต"แต่ไม่ใช่
         (1) ไม่ใช่หนังชีวิตแบบ melodrama นิยายรักน้ำเน่า เจ้าหญิงเจ้าชาย
         (2) ไม่ใช่ action drama ข้าเก่งคนเดียว ยิงไม่เข้าฟันไม่ออก ปราบศัตรูราบคาบด้วยกำลังสมองโง่ๆ
         (3) ไม่ใช่ sentimental drama รักหวานกระจุ๋มกระจิ๋ม ในโรงเรียนมัธยม ไม่ใช่ชีวิตรักแสนหวานในมหาวิทยาลัย
         (4) ไม่ใช่ sentimental comedy ตลกรักหนุ่มสาวใสก๊ก ชีวิตมีแต่ความสนุกสนาน ตลกขบขัน

ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่
         (5) ไม่ใช่ Thriller พิศวาสฆาตรกรรม
         (6) ไม่ใช่ suspense ตามหาใครคือจอมบงการ (ทำให้นักศึกษาสอบตกหรือเรียนไม่จบ)

แต่..เป็นหนังชีวิตประเภท Reality drama หนังชีวิตที่ต้องอยู่กับความจริง

ทุกอย่างคือ โลกแห่งความเป็นจริง (แม้ว่าความเป็นจริงบางอย่างจะถูกประกอบาร้างขึ้นมาแบบปลอมๆ กลวงๆ และกลวงๆ)
ความเป็นจริงก็คือ
        (1) ต้องเรียนรู้
        (2) ต้องจริงจัง
        (3) ต้องทุ่มเท
        (4) ไม่มีอะไรได้มาง่าย แม้ว่าเกรด A   บางตัวอาจจะได้มาง่ายๆ)
        (5) ความรู้ที่ได้มาเพียงผิวเผิน ที่เอาไว้ใช้โอ้อวด ไม่ใช่ความรู้จริง
        (6) คนที่รู้จริง จะต้องสามารถคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ประยุกต์ใช้เป็น แก้ปัญหาเป็น และพัฒนาเป็น
        (7) สิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบความรู้จริงคือ การมีความสามารถในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและความรู้เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาได้
        (8) คนที่รู้ไม่จริง จะถูกตรวจสอบจากสังคมในที่สุด จากการทำงาน จากการแก้ปัญหา จากการสร้างสรรค์ และจากการพัฒนา ซึ่งจะเกิดขึ้นในสังคมที่เราไปมีบทบาทอยู่ด้วย
        (9) คนรู้ไม่จริงจะไม่มีที่ยืนในสังคม หากจะมีก็ต้องไปยืนอยู่ในที่ซึ่งมีกลุ่มคนประเภทเดียวกัน ซึ่งยืนเกาะกลุ่มรออยู่แล้วเป็นจำนวนมาก
        (10) ผู้ที่เลือกหนังชีวิตแบบ Reality drama ต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (self learning) 
        (11) ผู้ที่เลือกหนังชีวิตแบบ Reality drama ต้องสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับยุคสมัยได้ 
        (12) ผู้ที่เลือกหนังชีวิตแบบ Reality drama ต้องมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และที่สำคัญคือต้องมี "เข็มมุ่ง" ในการบังคับจิตใจตนเองให้เดินทางไปใน direction ที่กำหนดไว้ อย่างมั่นคง ไม่โลเล ไม่เหลาะแหละ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง
        (13) ผู้ที่เลือกหนังชีวิตแบบ Reality drama ต้องเรียนรู้ให้รู้เท่าทัน (literacy) ทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆ ตัว
        (14) ผู้ที่เลือกหนังชีวิตแบบ Reality drama ต้องเป็นนักปฏิบัติจริง  (actualize man) เมื่อมีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาสิ่งใดๆ แล้ว ต้องนำความรู้ ความคิด นั้นมาลงมือปฏิบัติให้ปรากฏผลสำเร็จชัดเจนขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าสิ่งนั่นจะปรากฏในรูปแบบใดๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บทกวี วรรณกรรม รูปวาด รายงาน วิทยานิพนธ์ ผลการวิจัย อาหาร ขนม การเพาะพันธ์สัตว์ การทำการเกษตร ฯลฯ
.................................................
..หากต้องการทดสอบ..
..ลองไปสมัครงานที่..
..บริษัท CPF, CP all, SCG เครือปูนซิเมนต์ไทย PTT ปตท. ปตท. สผ..Shell, Esso, ช.การช่าง อิตัลไทย..
..ลองเรียกเงินเดือนเริ่มต้น 100,000 บาท..(หนึ่งแสนบาท)
..แล้วแสดงเอกสารหลักฐานให้เขาดูว่า ผมจบปริญญาโท เกรดเฉลี่ย 3.89 ครับ ดิฉันจบปริญญาเอก เกรดเฉลี่ย 3.98 ค่ะ

..เขาจะมองเอกสารของคุณแค่ 5 วินาที..
..แล้วเขาจะถามคุณสั้นๆ ว่า..
"คุณทำอะไรได้บ้าง ?"
"คุณจะแก้ปัญหาเรื่อง..ให้บริษัทของเราได้ไหม ?"
"คุณช่วยพัฒนาระบบ..ให้บริษัทของเราได้ไหม ?"
"คุณช่วยออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับ..ให้บริษัทของเราได้ไหม ?"
...............................................
การเรียน คือ หนังชีวิต
การเรียน คือ หนังชีวิตแบบ reality
การเรียน คือ หนังชีวิต ที่ต้องติดตามชมกันยาวๆ เพราะอาจมีสิ่งที่สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย เราได้ตลอดเวลา
........................................................
เพราะ..การเรียน คือ Reality drama
เพราะ..ชีวิต คือ Reality drama

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
29 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค