ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รดน้ำดำหัว..มองทะลุพิธีกรรมไปสู่ความหมายที่แท้จริง

มองทะลุพิธีกรรมไปสู่ความหมาย..

พิธีกรรมหลายพิธีผู้ริเริ่มพิธีนั้นขึ้นมา ต่างมีความคิด มีเจตนา มีความมุ่งหมาย แอบแฝงไว้เสมอ..พิธีรดน้ำดำหัว บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้สูงอายุ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณ..ล้วนมีความหมายแฝง..หากเราใช้สายตามองผ่านๆ เราจะเห็นแค่ผู้คน น้ำ น้ำอบไทย ดอกไม้ การไหว้ รอยยิ้ม และคำพูดอวยพร..

นั่นเป็นเพียงความหมายชั้นต้น (denotation meaning) เรารับรู้ ดีใจ ประทับใจ ชื่นชมยินดีแบบผิวเผิน..ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ไร้รอยจารึกแห่งคุณค่า..

แต่หากเรามองด้วยความคิดแบบวิเคราะห์ มองภาษาแห่งพิธีกรรม เพื่อค้นหาความหมายทัี่แท้จริงของสิ่งที่เรากระทำ..เราจึงจะเข้าใจ..โดยเราจะต้องอาศัยการวิเคราะห์ทำความเข้าใจความหมายชั้นที่สอง (connotation meaning) ที่ต้องมองผ่านบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ห่อหุ้มเราอยู่เราจึงจะเข้าใจจริงๆ..

ขอให้มองไปที่ "น้ำ" ซึ่งมีฐานะเป็นวัตถุที่ให้ความหมาย (meaning-laden objects)

ขอให้ "อ่าน" (read) ความหมายของน้ำ ทั้งความหมายชั้นต้นและความหมายชั้นที่สอง

นัยนี้ พิธีรดน้ำดำหัว ได้อาศัย "น้ำ" เป็น "สัญญะ" (sign) ในระบบภาษาแห่งพิธีกรรมการรดน้ำดำหัว

น้ำบริสุทธิ์ ที่เจือด้วย น้ำอบไทย แอบซ่อนความหมายไว้อย่างแนบเนียน

น้ำคือ ธาตุหนึ่งในธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบกันเป็นธาตุแห่งมนุษย์ # น้ำ เป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต

น้ำเป็นบ่อเกิดของชีวิตทุกชีวิต น้ำเป็นความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช
น้ำใช้ชำระล้างสิ่งสกปรกในชีวิต
น้ำใช้ดับความร้อนทางกาย
น้ำใช้ดับความร้อนทางใจ..ดับไฟกิเลสของมนุษย์
น้ำอบไทยที่ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ หมายความถึงน้ำใจ หมายถึงสิ่งที่แสดงออกถึงความตั้งใจของผู้ประกอบพิธีที่จะมอบสิ่งพิเศษให้กับบุคคลที่ตนเคารพ..และหมายรวมถึงวัฒนธรรมของความเป็น "ไทย"

สัญญะของ น้ำ ในพิธีรดน้ำดำหัว น้ำจึงหมายถึง น้ำใสใจจริงของผู้ประกอบพิธีและผู้ร่วมพิธีที่ส่งมอบแด่ผู้มีพระคุณ ส่งมอบแด่ผู้อาวุโสมากกว่า เพื่อแทนคำขอขมา เพื่อชำระล้างความผิดบาปที่เคยล่วงเกินผู้มีพระคุณ และเพื่อชำระล้างจิตใจตนเองให้ผ่องใสขึ้น

คนโบราณได้สร้างความหมายผ่านภาษาแห่งพิธีกรรมไว้ในพิธีรดน้ำดำหัว ให้ผู้คนให้ตระหนักในการเคารพ การระลึกถึงผู้มีพระคุณ การระลึกถึงผู้ให้ชีวิต การระลึกถึงผู้ขัดเกลาชีวิตให้ดีงาม และการชำระล้างจิตใจตนเองให้ใสสะอาด

วันเวลาผันผ่าน กาลเวลาเปลี่ยนใจคน สังคมหล่อหลอม สิ่งแวดล้อมควบคุม เทคโนโลยีมีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์..เวลาเปลี่ยนใจคนเปลี่ยน ช่างกระไร ใจหนอใจคน สมดัง อสนี พลกุล ว่าไว้..

แม้นวันเวลาผันผ่านนานสักเพียงใด "น้ำ" ยังคงความหมายของความเป็นน้ำเสมอมามิได้แปรเปลี่ยน..ใจคนต่างหากที่เปลี่ยนแปร..พิธีรดน้ำดำหัว เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน ผ่านรูปแบบภาษา (language) ผ่านกิจกรรมของมนุษย์ที่มีความหมาย (meaningful human activity)

พิธีรดน้ำดำหัวในอดีต..มีความหมายและมีคุณค่าต่อผู้คนจึงมีการสืบทอดวัฒนธรรมนี้ต่อกันมาในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม..

พิธีรดน้ำดำหัวในปัจจุบัน..จะคงความหมายและคุณค่าที่แท้จริงไว้เพียงใด ไม่อ่าจดูได้แค่เพียงรูปแบบภายนอก รูปแบบวัฒนธรรมที่เห็นได้จากภายนอก ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย มีการประยุกต์ดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ แต่จะต้องพิจารณาจากแก่นแท้อันเป็นหัวใจของการสืบทอดวัฒนธรรมรดน้ำดำหัว โดยพิจารณาถึงความหมายและคุณค่าที่แท้จริง..

หากต้องการรู้ว่ามีการสืบทอดคุณค่าของพิธีรดน้ำดำหัวได้เพียงใด..

ขอให้ดูจากผู้คนว่า..เข้าใจความหมายของสัญญะ ที่แอบแฝงอยู่ใน "น้ำ" ที่เรานำมาใช้รดน้ำดำหัว..มากน้อยเพียงใด ??

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
21 เมษายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค