ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อครูบาอาจารย์ลุกขึ้นมาทำ SWOT ตัวเอง

การวิเคราะห์ SWOT ตนเองของครูบาอาจารย์ในปี พ.ศ. 2556
TEACHER SELF SWOT 2013

เมื่อครูบาอาจารย์ลุกขึ้นมาทำการ SWOT ตัวเอง ในปี ค.ศ. 2013
ปรากฏผลการวิเคราะห์ดังนี้

จุดแข็งของครู (Strength) :    รอบรู้ แสวงหาความรู้มาสอนคนอื่นได้แทบทุกเรื่อง

จุดอ่อนของครู (Weakness) : ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเอง ลืมสอนตัวเอง คิดว่าตัวเองรู้หมดทุกเรื่อง
โอกาสของครู (Opportunity) : มีผู้คนสมัครใจเข้ามาให้สอนเรื่อยๆ พร้อมที่จะเชื่อฟังอยู่เสมอ เพราะ
                                               ตำแหน่งทางวิชาการ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง เกียรติคุณ อำนาจ บารมี
                                               ยินยอมที่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของครูอาจารย์
                                               เพราะมีอำนาจเหนือกว่าในการให้เกรด A B C D E F แก่นักเรียน นิสิต
                                               นักศึกษา และผู้เรียน อันยากที่จะโต้แย้งได้สำเร็จ
ภัยคุกคามของครู (Threat) :   คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม ระบบเซลลูล่าร์ 3G 4G 5G etc.
                                              สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต iPhone iPAD โซเชียลมีเดีย YouTube เว็บไซต์
                                              ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self learning)
                                               ความขยันหมั่นเพียร และความใฝ่เรียนใฝ่รู้
                                               ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้เรียนสมัยใหม่ ซึ่งเป็น
                                               ผู้เรียนที่ชาญฉลาด (Smart Student / Smart Learner)

         ขอเปิดเผยความรู้สึกในระหว่างที่ทำการวิเคราะห์ว่า ผู้ทำ SWOT เองวิเคราะห์ไป พร้อมๆ กับ
ความหวั่นไหว หวาดกลัว และวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
20 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค