ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความสำเร็จไม่ได้มาเพราะโชคช่วย..

ความสำเร็จไม่ได้มาเพราะโชคช่วย..

@ คุณพิษณุ นิลกลัด..นักพากย์กีฬาคนสำคัญคนหนึ่ง..เคยพูดวิจารณ์นักมวยระดับแชมป์คนหนึ่ง ซึ่ง "ชื่อเสียงและความสำเร็จของนักกีฬาคนนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่เป็นเพราะฝีมือความสามารถล้วนๆ อีกทั้งความมุ่งมั่น และความทุ่มเทอย่างเต็มที่ จึงมีวันนี้ได้"..

ผมถือว่านี่เป็น "วรรคทอง" ของคุณพิษณุ นิลกลัดเลยทีเดียว..ผมยังเห็นว่าเป็นข้อคิดที่มีค่ามาก..

คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ปะกอบสำคัญ 5 ประการได้แก่

(1) องค์ประกอบสำคัญอันดับแรกคือ ความรู้ ความสามารถของตนเอง ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความขยันขันแข็ง เอาการเอางาน ทุ่มเทกับสิ่งที่ทำอย่างเต็มที่ มีความจริงใจกับสิ่งที่ทำ นี่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่ง

(2) องค์ประกอบสำคัญอันดับสองคือ ความพร้อมด้านอื่นๆ ของเรา ที่สำคัญคือ สุขภาพ สภาพจิตใจ เวลา ทรัพย์สินเงินทอง เครื่องมือ สถานที่ เทคโนโลยี

(3) องค์ประกอบสำคัญอันดับสาม คือ การช่วยเหลือสนับสนุนของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้างบนคือ เจ้านาย ผู้บริหาร ข้างๆ คือ เพื่อนร่วมงาน ข้างล่าง คือ ลูกน้องและบริวาร

(4) องค์ประกอบสำคัญประการที่สี่คือ คอนเน็คชั่น (connection) ในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึง การรู้จักคนใหญ่คนโตและการวิ่งเต้นเส้นสาย แต่ผมหมายถึงบุคคลที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เราทำดีต่อเขาเขาทำดีต่อเรา ยามสุขร่วมเสพ ยามทุกข์ร่วมต้าน มีความสม่ำเสมอในการคบหา มีกความระลึกถึงน้ำใจ บุญคุณที่ต้องทดแทน

(5) องค์ประกอบสำคัญอันดับที่ห้า คือ โชคช่วย ผมถือว่ามีส่วนสำคัญเหมือนกัน บางคนประสบความสำเร็จเพราะโชคช่วย..แต่ในโลกนี้จะมีสักกี่คน?? ที่ประสบความสำเร็จเพราะโชคช่วย..ในทัศนะของผมคิดว่ามีเพียง 10% เท่านั้นที่ "ได้มาเพราะโชคช่วย" ส่วนใหญ่ต้องอาศัยฝีมือความสามารรถล้วนๆ @ ผมเห็นว่าข้อคิดของคุณพิษณุ นิลกลัด สามารถนำมาใช้กับการเรียนหนังสือทุกระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สามารถนำมาใช้กับการทำงาน และการดำเนินชีวิตของเราทุกคน..ช่วงเวลาที่ผมประกอบวิชาชีพอาจารย์ ผมจะไม่อวยพรให้นักศึกษาโชคดีในการสอบ หรือขอให้ได้เกรดนั่นเกรดนี้ เพราะผมคิดว่านั่นเป็นการซ้ำเติมให้นักศึกษาไม่ลงมือต่อสู้ชีวิต แต่รอโชคช่วย และโชคก็ไม่เคยมาช่วย

ผมจึงเห็นว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ อย่ารอความหวัง อย่ารอเวลา อย่าพึ่ง "โชคช่วย"..เพราะมันคงใช้เวลาทั้งชีวิตของคุณที่ต้องรอ..และคุณอาจจะไม่ได้พบเห็นความสำเร็จเลยตลอดชีวิตคุณ..เพราะโชคไม่สามารถมาช่วย..

โชคไม่มีเวลามาช่วยเราหรอก..เพราะ "โชค" ต้องเดินทางไปช่วยคนในโลกนี้อีกหลายล้านคนที่กำลังงอมืองอเท้ารอให้โชคช่วย

เราต้องเรียนรู้ (Learning) เราต้องพึ่งตนเอง (Self-reliance) เราต้องลงมือกระทำด้วยตนเอง (Doing) อย่างเต็มความสามารถ อย่างเต็มกำลัง อย่างทุ่มเททั้งหัวใจ (Heart)

แล้วโชคจะตามมาช่วยเราเอง..โชคจะมาบอกเราว่า..

คุณโชคดีที่คุณรู้ความจริง

คุณโชคดีที่คุณลงมือกระทำด้วยตัวคุณเอง

คุณโชคดีที่ไม่ได้รอให้ผม (โชค) ช่วย
.
ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่มีวันพบกับความสำเร็จ

และคุณจะไม่มีวันได้เจอผมหรอก

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
22 เมษายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค