ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คิดตรงกับเราบ้างได้ไหม ??

คิดตรงกับเราบ้างได้ไหม..

คนสองฝ่ายคิดไม่ตรงกันสักที สังคมนี้จึงมีแต่ความขัดแย้ง..

ฝ่ายหนึ่งถืออำนาจรัฐ ควบคุม สั่งการทุกอย่าง เป็นฝ่ายตัดสินใจ กำหนดการแบ่งสรรปันผลประโยชน์..

อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถูกกระทำจากอำนาจรัฐโดยไร้อำนาจต่อรองใดๆ

ปัญหาอยู่ที่ความไม่เป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์..มีคนเพียงไม่กี่สิบคนที่ได้ผลประโยชน์ก้อนใหญ่ แบ่งเค้กกันตามใจชอบ..แต่ประชาชนส่วนใหญ่อีกหลายล้านคนไม่เคยได้รับส่วนแบ่ง..ต้องเจ็บช้ำน้ำใจ กล้ำกลืนฝืนทนมาโดยตลอด..ยามใดหมดความอดทนก็ส่งเสียงเอะอะโวยวายเอาบ้าง..แต่ก็ไร้ผล

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนใหญ่ใช่ว่าจะเป็นฝ่ายชนะเสมอไป โดยเฉพาะการต่อสู้ในประเด็นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า เสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายแพ้และเสียประโยชน์มาโดยตลอด..แต่ก็ต้องพยายามสู้กันต่อไป..

ที่ร้ายหนักคือสื่อมวลชนแทนที่จะสนใจทำข่าวติดตามสัมภาษณ์คนฝ่ายเสียงส่วนใหญ่ กลับไปให้ความสนใจสัมภาษณ์แต่ฝ่ายเสียงส่วนน้อยทุกครั้งไป..แถมยังแสดงอาการชื่นชมยินดีอย่างออกนอกหน้า จนเสียความเป็นกลางของสื่อ..

ย้อนมาพูดถึงอำนาจรัฐเข้าควบคุมกลไกทุกอย่าง..นับตั้งแต่การกำหนดกติกาในการแบ่งผลประโยชน์..การกุมอำนาจในการชี้ชะตาว่าใครควรจะได้ประโยชน์ก้อนใหญ่..ทำตัวดั่งเทพเจ้ากำหนดโชคชะตามนุษย์ว่าใครจะเจริญรุ่งเรือง ใครควรจะต่ำต้อยยากจนข้นแค้น..

รูปแบบในการตัดสินแทนที่จะใช้ระบบความยุติธรรมทางศาล กลับเอาเรื่องสำคัญของชาติไปขึ้นอยู่กับผู้หญิงไม่กี่คน..ที่จะใช้อำนาจตัดสินด้วยพิธีกรรมง่ายๆ โดยการหมุนวงล้อเสี่ยงทาย..

ดูไม่เป็นธรรมเอาเสียเลย กับคนที่ทุ่มเทมาตลอด ด้วยความรักความจริงใจ..ในที่สุดเสียงส่วนน้อยเพียง 1 คนจาก 1 ล้านคน ก็ถูกเลือกให้เป็นฝ่ายได้เงิน 2 ล้านบาทไปหน้าตาเฉย..

สร้างความเจ็บช้ำให้แก่คนอีก 1 ล้าน 9 แสน 9 หมื่น 9 พัน 9 ร้อย 9 สิบ 9 คน..ที่ถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายแพ้..ปล่อยให้รอคอยความหวังลมๆ แล้งๆ จากโชคลำดับที่สอง สาม สี่ ห้า  และเศษเดนลูกสมุนอีกสามตัว สองตัว..รวมกันแล้วเพียงแค่ 14,168 ความโชคดี..ที่เป็นรางวัลปลอบใจ..#

นี่หรือความเป็นธรรมที่ได้รับจากผู้กุมอำนาจรัฐ..ที่เราเลือกมากับมือ กลับมาทำร้ายพี่น้องเราที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ได้..

สื่อมวลชนเองก็เถอะ..เคยบ้างมั๊ยที่จะเห็นอกเห็นใจเสียงส่วนใหญ่ที่บริสุทธิ์ ที่เข้าร่วมแข่งขันตามกฏกติกามาตลอด..คยบ้างมั๊ยที่จะสนใจทำข่าวเสียงส่วนใหญ่ผู้พ่ายแพ้..ทั้งๆที่ความจริงแล้วนักข่าวจำนวนมาก ก็เป็นพวกเดียวกับเสียงส่วนใหญ่นี่แหละ..แทนที่จะช่วยกันปกป้องสิทธิ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเสียงส่วนใหญ่..กลับนิ่งดูดาย หวังพึ่งอะไรไม้ได้สักอย่าง..# มาถึงจุดนี้ก็คงขึ้นอยู่กับพวกเราที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ว่าจะร่วมมือกันต่อสู้ต่อไปได้แค้ไหน..

ขอเพียงเราอย่าได้ท้อ ขอเพียงเราอย่าได้ถอย

จงมั่นคงในแนวทางที่เรายึดถือ วันนี้ไม่สำเร็จวันหน้าก็อาจสำเร็จ

ความพยายามเป็นสิ่งมีค่า สิ่งใดที่ได้มายากมักมีค่าเสมอ..ชัยชนะและความสำเร็จจะเป็นของผู้กล้า ผู้มานะบากบั่น และผู้มีความเพียร..

เราต้องพึ่งตัวเองให้มากขึ้น..# มาช่วยกันเสาะหาแหล่งข้อมูลข่าวสาร แหล่งวิชาความรู้ ที่มีอยู่ตามประสาภูมิปัญญาชาวบ้าน..ภูมิปัญญาทีี่มีอยู่ในวัดวาอาราม..ภูมิปัญญาด้านการเกษตรพันธ์พืชและวนศาสตร์..ภูมิปัญญาด้านยวดยานพาหนะของบุคคลสำคัญ..# โดยอาศัยภูมิปัญญาด้านคณิตศาสตร์..ที่จะช่วยคิดคำนวณได้อย่างถูกต้องแม่นยำ..

เราหวังว่า..วันหนึ่ง..ฝ่ายกุมอำนาจรัฐที่ใช้อำนาจบริหารผ่านทางสุภาพสตรี 6 คนนั้น..จะคิดตรงกับเราบ้าง จะคิดตรงกับที่เราได้คาดคะเนไว้บ้าง..#

เมื่อนั้นความเป็นธรรมก็จะบังเกิดขึ้น..ความขัดแย้งก็จะลดลง..อย่างน้อยฝ่ายเสียงส่วนใหญ่อีกคนหนึ่ง..จะได้เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยเงิน 2 ล้านบาทที่ได้มาตามระบบปกติ..

และหากโชคดีอาจได้รับเงินอีก 32 ล้านบาทในระบบโบนัสพิเศษ ที่จัดสรรมาให้คนยากไร้..เมื่อนั้นชีวิตของเขาก็จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล..

ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ..เรายังมีความฝัน..เรายังมีความหวัง..

ขอเพียงฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐให้ความเป็นธรรม..คิดตรงกับเราบ้าง..สักครั้งหนึ่งในชีวิต..!!

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค