ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คุณเรียบจบปริญญาโทนิเทศศาสตร์แล้วใช่มั๊ย..แล้วคุณทำแบบนี้ได้มั๊ย

คุณเรียบจบปริญญาโทนิเทศศาสตร์แล้วใช่มั๊ย..แล้วคุณทำแบบนี้ได้มั๊ย
............................................................................................................
ถ้า..คุณเป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทมหาชนขนาดยักษ์ใหญ่ เช่น CP, CPF, CPall, ปตท. ปตท.สผ. ช.การช่าง
............................................................................................................
บริษัทกำลังดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำขนาดใหญ่ มูลค่า 6 พันล้านบาท ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีและราชบุรี..เพียงแค่ได้รับฟังประกาศแผนงานของบริษัทที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2556 ประชาชนในพื้นที่ 3,000 คน ไม่พอใจรวมตัวกันประท้วงคัดค้านโครงการ โดยการปักหลักชุมชนในพื้นที่ซึ่งจะก่อสร้างโรงไฟฟ้า ประกาศกร้าวไม่ยอมให้มีการก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างแน่นอน พร้อมทั้งมีกลุ่ม NGO ให้การสนับสนุน
......................................................................................................................
ถ้า..คุณเรียนจบปริญญาโทนิเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาใดทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ รวมทั้งปริญญาโทนิเทศศาสตร์ มสธ.
..................................................................................................................
ถ้า..คุณกินเงินเดือนในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์จากบริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารแห่งนี้ เดือนละ 120,000 บาท
ถ้า..คุณได้รับมอบภารกิจนี้ด้วยงบประมาณดำเนินการ 5 ล้านบาท
ถ้า..คุณทำสำเร็จตัวคุณและทีมงาน 8 คน จะได้ bonus incentive plus เป็นเงิน 1 ล้าน 5 แสนบาท
คุณ..จะมีไอเดีย มีแผนงาน มีกลยุทธ์ มีวิธีการดำเนินงานสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างไร
ให้ประสบความสำเร็จ ทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเดินหน้าต่อไปได้จนสำเร็จ ประชาชนในชุมชน 3 ตำบลโดยรอบประมาณ 15,000 คน พึงพอใจ ไม่คัดค้าน แต่กลับหันมาให้การสนับสนุน

คุณ..จะทำได้มั๊ย ??
คณ..จะทำอย่างไร ??

.............................................................................................................
หาก..ต้องการทดสอบฝีมือ..ลองเขียน Strategic Plan ดู
...................................................................................................................
แต่หาก..ต้องการเรียนรู้จาก Best practice ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่า ใช้เงินทุนน้อยกว่า เสี่ยงน้อยกว่า
....................................................................................................................
ขอให้คุณอ่าน..เก็บเกี่ยวความรู้จาก รายงานผลการวิจัย เรื่อง

"การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างการยอมรับของชุมชนต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฉะเชิงเทรา  โคเจนเนอเรชั่น"
(Proactive Public Relations in Fostering Communities’ Acceptance of Development of
the Chachoengsao Co-Generation Power Plant Project)

วิจัยโดย นางณัฐฐา   รัตตกุล
นักศึกษาปริญญาโทนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิาช รุ่นที่ 4
..................................................................................................................

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
30 มิถุนายน 2556


หมายเหตุ  ขอร้องว่าอย่าใช้ excute ว่า
                 - ตอนนี้ผมเป็นแค่ผู้ช่วยผู้จัดการฯ ขอให้ผู้จัดการคิดเองเถอะ
                 - ตอนนี้ผมเพิ่งได้รับเงินเดือนแค่ 25,000 บาทเอง ผมคิดไม่ออกหรอก
               
                  เพราะนั่น..ไม่ใช่ หนทางของผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค