ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม เรื่อง การจัดซื้อจัดจ้าง ตอนที่ 1 งานสวนและงานรักษาความสะอาด

วิธีการบริหารจัดการงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง

ผู้เขียนเป็นกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง โดยเข้ามาเป็นกรรมการตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งจดทะเบียนนิติบุคคล ได้มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการบริการงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมาหลายปี ประกอบกับได้เคยศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ ศึกษาระดับปริญญาโทและทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารงานหมู่บ้านจัดสรรด้านการรักษาความปลอดภัย และศึกษาระดับปริญญาเอกด้านการพัฒนาทรัพยากรชนบท รวมทั้งการศึกษาจากประสบการณ์การดำเนินงานของหมู่บ้านจัดสรรแห่งอื่นหลายแห่ง จนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ "การบริการจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" จึงขอนำมาถ่ายทอดแก่ท่านที่สนใจ

สำหรับบทความตอนนี้จะมุ่งเน้นการนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้าง จัดหา บุคคล คณะบุคคล บริษัท มาดำเนินงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง


คณะกรรมการนิติบุคคลมีภาระหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดภายในบริเวณหมู่บ้านหรือบริเวณคอนโดมิเนียม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 งานหลักคือ

งานแรก เป็นงานเกี่ยวกับงานสวน ซึ่งประกอบด้วย การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ สนามหญ้า ไม้ประดับ สวนสาธารณะ สวนหย่อม สนามเด็กเล่น  สโมสร สำนักงานนิติบุคคล

งานที่สอง เป็นงานดูและรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ ถนน ซอย รั้ว กำแพง การจัดซื้อจัดจ้าง สวนสาธารณะ สวนหย่อม สนามเด็กเล่น สโมสร สำนักงานนิติบุคคล

กรณีที่หมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมมีพื้นที่เล็ก คณะกรรมการนิติบุคคลอาจว่าจ้างให้บุคคลจำนวน 4-5 คน ทำหน้าที่ดูแลได้ แต่กรณีที่หมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีต้นไม้จำนวนมากหลายร้อยต้น มีสนามหญ้า สวนสาธารณะ สวนหย่อมขนาดใหญ่ มีจำนวนผู้พักอาศัยจำนวนมาก มีจำนวนหลังคาเรือนตั้งแต่ 300 หลังคาเรือนขึ้นไป หรือมีห้องพักตั้งแต่ 300 ห้องขึ้นไป จะมีภาระงานค่อนข้างมาก ไม่สามารถใช้บุคคลกลุ่มเล็ก ๆ 4-5 คนดูแลได้ จึงจำเป็นต้องจ้างทีมงานมืออาชีพที่ประกอบธุรกิจด้านนี้โดยตรง ซึ่งมีความพร้อมด้านกำลังคน อุปกรณ์ ยานพาหนะ กำลังเงินทุน สถานที่ รวมทั้งการมีประสบการณ์ ผ่านการเชิญกับปัญหา ทราบแนวทางแก้ไขปัญหาจากประสบการณ์การปฏิบัติ

การจัดจ้างบุคคล คณะบุคคล บริษัท มาดำเนินงานบริหารจัดการ งานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง ควรมีการดำเนินงานดังนี้

1. การออกหนังสือขอความเห็นชอบให้ดำเนินการจัดจ้างบุคคล คณะบุคคล บริษัท มาดำเนินงานบริหารจัดการ งานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง เสนอต่อประธานคณะกรรมการนิติบุคคล ซึ่งทำโดยกรรมการนิติบุคคลท่านใดท่านหนึ่ง หรือทำโดยฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล

2. การออกหนังสือขอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง เสนอต่อประธานคณะกรรมการนิติบุคคล ซึ่งทำโดยกรรมการนิติบุคคลท่านใดท่านหนึ่ง หรือทำโดยฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล


3. เมื่อได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติตามข้อ 1-2 แล้ว ให้ดำเนินการกำหนดขอบเขตงานที่จะจ้าง หรือที่เรียกว่า TOR: Term of Reference ของงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง

4. นำเสนอขอบเขตงานที่จะจ้าง หรือที่เรียกว่า TOR: Term of Reference ของงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติ

5. ออกหนังสือประกาศแจ้งการจัดซื้อจัดจ้างงานสวนและงานรักษาความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมแนบขอบเขตงานที่จะจ้าง หรือที่เรียกว่า TOR: Term of Reference เพื่อให้บุคคล คณะบุคคล บริษัทส่งในเสนอราคา โดยกำหนดวิธีการส่งใบเสนอราคาและขอบเขตเวลาสิ้นสุดของการส่งใบเสนอราคาให้ชัดแจ้ง

6. รับใบเสนอราคา โดยปกปิดเป็นความลับ แล้วส่งมอบต่อประธานคณะกรรมการนิติบุคคล เพื่อมอบหมายสั่งการต่อไป

7. กำหนดวันเวลาในการพิจารณาใบเสนอราคา

8. ประชุมพิจารณาใบเสนอราคาและพิจารณาอนุมัติการตัดสินเลือกผู้เสนอราคา

9. แจ้งให้ผู้เสนอราคาที่ได้รับการอนุมัติให้ทราบ

10. เชิญผู้เสนอราคามาทำสัญญา

11. ดำเนินการตามสัญญา

ผู้เขียนได้นำเสนอตัวอย่างเอกสารในการดำเนินงานที่ท่านสามารถเปิดดูได้ตามลิ้งก์ครับ

ตัวอย่างหนังสือขออนุมัติดำเนินการ >>

ตัวอย่างบันทึกข้อความรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง >>

หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการหมู่บ้านจัดสรรของท่านตามสมควรครับ

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
4 พฤษภาคม 2559





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค