ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 4 การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 4 การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ

โดย ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน วันที่ 10 พ.ค. 59

4. กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ (collaboration)
การดำเนินงานของนิติบุคคลที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของคน 3 ฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายแรกได้แก่ คณะกรรมการนิติบุคคล ทีมงานฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล (คณะบุคคลหรือบริษัทที่นิติบุคคลจ้างมาช่วยบริหารจัดการ) และสมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้านทุกคน

ความร่วมมือลำดับแรกสุด คือ ความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการนิติบุคคล ตัวอย่างเช่น การเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง การร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน การร่วมกันตัดสินใจในเรื่องสำคัญ เช่นเรื่อง การเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การซ่อมแซมสาธารณูปโภค

ความร่วมมือลำดับที่สอง คือ ความร่วมมือของทีมงานฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล ในการทำหน้าที่ช่วยเหลือคณะกรรมการนิติบุคคลในการ วางแผน การปฏิบัติงาน การควบคุมงาน การติดตามงาน การแก้ปัญหาให้สมาชิกนิติบุคคล การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ การควบคุมดูแลซัพพลายเออร์ต่าง ๆ เช่น ทีมงานคนสวน ทีมงานรักษาความปลอดภัย ทีมงานทำความสะอาด

ความร่วมมือลำดับที่สาม ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือของสมาชิกนิติบุคคล ได้แก่ผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน ความร่วมมือที่ต้องการได้รับจากสมาชิกนิติบุคคลหรือผู้พักอาศัยในหมู่บ้าน ที่สำคัญแบ่งออกเป็น 10 ประการดังนี้

(1) ความร่วมมือในการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง
(2) ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรที่เป็นบริการสาธาระอย่างถูกต้องตามระเบียบ และเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อความคงทนในการใช้งาน
(3) ความร่วมมือในการตัดต้นไม้และกิ่งไม้ที่รุกล้ำเข้าไปรบกวนบ้านผู้อื่น
(4) ความร่วมมือในการตัดต้นไม้และกิ่งไม้ไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในถนนสาธารณะจนกีดขวางทางสัญจร
(5) ความร่วมมือในการดูแลรักษาต้นไม้ ไม้พุ่ม ไม้ประดับ อันเป็นสมบัติของส่วนรวม ที่อยู่บริเวณหน้ารั้วบ้านตนเอง
(6) ความร่วมมือในการรักษาความสะอาดบริเวณที่พักอาศัยและบริเวณโดยรอบที่พักอาศัยของตนเอง
(7) ความร่วมมือในการจัดเก็บขยะ บรรจุขยะ ทิ้งขยะ อย่างเป็นระบบระเบียบ
(8) ความร่มือในการไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญให้แก่ผู้พักอาศัยคนอื่น
(9) ความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรมด้วยตนเอง เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด การติดตั้งเครื่องสัญญาณกันขโมย
(10) ความร่วมมือในการปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัย เช่น การทำบัตรอีซี่พาส (Easy pass) การแลกบัตรประจำตัวเพื่อผ่านเข้าออก การยินยอมให้เปิดฝากระโปรงท้ายรถเพื่อตรวจสอบวัตถุสิ่งของ

การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ (collaboration) ต้องใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารที่เหมาะสมจึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งมีแนวทางดังนี้

4.1 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) ควรอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องได้รับความร่วมมือ
(2) ควรชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ (benefits) อย่างเด่นชัดที่สุด เป็นรูปธรรมที่สุด จากการได้รับความร่วมมือเรื่องนั้น
(3) การขอความร่วมมือบางเรื่องควรใช้ positive approach หรือการชี้ให้เห็นรางวัลที่จะได้รับ (reward) คือ อธิบายให้เห็นผลดี ผลประโยชน์ ที่จะได้รับ เช่น ความสุข ความสะดวกสบาย
(4) การขอความร่วมมือบางเรื่องควรใช้ negative approach หรือการชี้ให้เห็นบทลงโทษที่จะได้รับ (punishment) หากฝ่าฝืน คือ อธิบายให้เห็นถึงผลเสีย การเสียผลประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้น เช่น การถูกตัดสิทธิในการรับบริการสาธารณะ การถูกตัดสิทธิในการใช้บริการสระว่ายน้ำ การถูกระงับสิทธิใช้บัตรอีซี่พาสผ่านเข้าออกหมู่บ้าน

4.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) เลือกใช้สื่อที่เข้าถึงสมาชิกทุกราย ผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน เช่น direct mail ป้านไวนิลขนาดใหญ่ติดตั้งที่ทางเข้าออกหมู่บ้าน
(2) เลือกใช้สื่อที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม เช่น สื่อที่แสดงให้เห็นรูปภาพจำพวกป้ายไวนิล แฟนเพจ เว็บไซต์ บุคคลที่น่าเชื่อถือ
(3) ใช้สื่อและวิธีการที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การส่งสารไปยังกลุ่มชุมชนเล็ก ๆ กลุ่มย่อยเล็ก ๆ ที่รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมอย่างดอย่างหนึ่ง เช่น กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มออกกำลังกาย กลุ่มกีฬา เพื่อให้เกิดการสื่อสารภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดพลังกลุ่มในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกร่วม เกิดทัศนคติร่วม และนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 
วันที่ 10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค