ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ตอนที่ 6 การสื่อสารเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด (correction)

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59

ความเข้าใจผิด (misunderstanding) เป็นบ่อเกิดของทัศนคติทางลบของผู้รับสารที่มีต่อองค์กร ผลิตภัณฑ์ และการดำเนินงานขององค์กร ความเข้าใจผิดนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การต่อต้าน การไม่ให้ความร่วมมือ การขัดขวางการดำเนินงาน ความเข้าใจผิดสร้างความเสียหายทุกด้านทั้งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ความเชื่อถือ ยอดขาย รายได้ ผลกำไร ความร่วมมือ เมื่อเกิดความเข้าใจผิดขึ้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ซึ่งต้องดำเนินด้วยความเข้าใจและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม

6.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)

(1) ความเข้าใจผิดเกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
(2) ความเข้าใจผิดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อเรื่องนั้น
(3) ความเข้าใจผิดถูกขยายขนาดของความเข้าใจผิด โดยการตอกย้ำโดยบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลต่อผู้รับสาร
(4) ระดับความรู้สึกที่มีต่อความเข้าใจผิดขึ้นอยู่กับเวลานับตั้งแต่เริ่มเข้าใจผิด ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งเพิ่มระดับความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้น

6.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) การให้ข้อมูลควรมุ่งเน้นประเด็นที่มีการเข้าใจผิด โดยอธิบายถึงจุดที่เข้าใจผิด พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันที

(2) การให้ข้อมูลต้องชัดเจนมากที่สุด โดยมีตัวเลข สถิติ รายงานประกอบการให้ข้อมูล

(3) การให้ข้อมูลควรระบุแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

(4) หากที่มาของความเข้าใจผิด มีส่วนมาจากข้อบกพร่องในการดำเนินงานของพนักงานขององค์กรตนเอง ต้องแสดงความรับผิดชอบ พร้อมกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ

6.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) ควรใช้สื่อที่สามารถอ่านซ้ำได้ ทวนความได้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์
(2) ควรใช้สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมีความเข้าใจผิดได้ดีที่สุด ครอบคลุมที่สุด
(3) ควรใช้สื่อที่มีลักษณะน่าเชื่อถือ สร้างความรู้สึกที่ดี ออกแบบอย่างพิถีพิถัน ปราณีต
(4) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง
(5) ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยท่าทีสุภาพ แสดงวามรู้สึกถึงความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบ

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี :americano1515


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค