ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร ตอนที่ 2 ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ประเภทของช่องทางการสื่อสารตามขนบธรรมเนียม

ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) ในการติดต่อสื่อสารภายในหมู่บ้านจัดสรร แบ่งออกเป็น ประเภท ดังนี้คือ

1. ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to one ซึ่งสามารถใช้สื่อการพูดคุย โทรศัพท์ อีเมล์ แชททางไลน์ แชททางเฟซบุ๊ก

2. ช่องทางการสื่อสารแบบกลุ่ม (group communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to group ซึ่งสามารถใช้สื่ออีเมล์ แชททางไลน์ แชททางเฟซบุ๊ก การประชุมกลุ่มเล็ก

3. ช่องทางการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่มากหรือมวลชน (Large group or mass communication channel) ช่องทางแบบนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นช่องทางการสื่อสารแบบ one to mass ซึ่งสามารถใช้สื่ออีเมล์ ไลน์กลุ่ม เฟซบุ๊ก เฟซบุ๊กแฟนเพจ การประชุมกลุ่มใหญ่ เช่น การประชุมใหญ่สมาชิกนิติบุคคลประจำปี

ประเภทของการสื่อสารสมัยใหม่

เมื่อเรายึดประเภทของสื่อและเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่เป็นตัวตั้ง เราอาจแบ่งการสื่อสารออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ

1. สื่อออฟไลน์ (Off line media) ได้แก่ การพูดคุย การโทรศัพท์ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น  แผ่นพับ ใบปลิว จดหมายข่าว โปสเตอร์ การใช้สื่อเสียงตามสาย

2. สื่อออนไลน์ (Online media) ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ต การใช้โซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก เฟซบุ๊กแฟนเพจ ไลน์ ไลน์กลุ่ม อินสตราแกรม ยูทูบ เว็บไซต์

3. สื่อออนกราวนด์ (On-ground media) ได้แก่ การจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น การจัดงานวันสุขภาพ การจัดงานปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง

โปรดติดตามสาระประโยชน์ได้ในตอนต่อไป

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
9 พ.ค. 59


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค