ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 1 การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารสำคัญในชีวิต

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 1 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ข่าวสารสำคัญ (perception)
โดย ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน วันที่ 9 พ.ค. 59

ข้อมูลข่าวสาร (information) เกิดขึ้นทุกวัน ทุกเวลา หลั่งไหลไปบนโลกนี้มากมายมหาศาล แต่มิใช่ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่มนุษย์เราต้องรับรู้ มนุษย์เรามีพื้นที่สมองจำกัด มีพันธกิจในชีวิตเฉพาะเจาะจงของตนเอง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเฉพาะด้าน มนุษย์จึงควรเลือกเปิดรับ (expose) เลือกรับรู้ (perception) เลือกจดจำ (memory) แต่เฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง เป็นประโยชน์ นำไปประยุกต์ใช้ได้ กับพันธกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองเป็นหลัก

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างการรับรู้ในข้อมูลข่าวสารสำคัญ จึงต้องรู้จักวางกลยุทธ์และใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม

1. กลยทธ์หลัก (Core strategies)

(1) วิเคราะห์ชีวิตตนเองเพื่อสร้างการตระหนักรู้ (awareness) ในตนเองว่า เราเป็นใคร เรามีความสัมพันธ์กับใคร เราเกิดมาบนโลกนี้ทำไม เราต้องการทำอะไร เราต้องการทำเพื่ออะไร สิ่งที่เราทำจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร
(2) วิเคราะห์พันธกิจของตนเอง บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้
(3) กำหนดสารและข้อมูลข่าวสารสำคัญที่ต้องรับรู้ (message) วิเคราะห์ว่าภายใต้เงื่อนไขของความตระหนักรู้ในตนเอง เราจำเป็นต้องรับรู้ข่าวสารที่สำคัญอะไรบ้าง
(4) เลือกช่องทางในการรับรู้ (channel/media) เมื่อเรารู้ชัดว่าเราจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำคัญอะไรบ้างแล้ว เราต้องมาเลือกว่าเราจะใช้ช่องทางการสื่อสารหรือสื่ออะไรเพื่อให้เกิดการรับรู้นั้น
(5) กำหนดแนวทางในการนำสารและข้อมูลข่าวสารนั้นไปใช้ประโยชน์

1.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) แบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ข้อมูลข่าวสารดี (good information) กับ ข้อมูลข่าวสารไม่ดี (bad information) เพื่อให้เราเลือกได้อย่างรวดเร็วว่า ข้อมูลข่าวสารใดควรเลือกเปิดรับ และข้อมูลข่าวสารใดควรหลีกเลี่ยงการเปิดรับ
(2) การตัดสินใจเลือกว่าเป็นข้อมูลข่าวสารดีที่ควรเลือกเปิดรับ หรือข้อมูลข่าวสารไม่ดีที่ครหลีกเลี่ยง ให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ
- พันธกิจในชีวิตของเรา
- บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของเรา
- จุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตของเรา
- ความปรารถนาสูงสุดในชีวิตของเรา
(3) กำหนดประเภทของข้อมูลข่าวสาร
- ข้อมูลข่าวสารเพื่อการทำพันธกิจให้สำเร็จ
- ข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตของเรา
- ข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความสำเร็จตามความปรารถนาสูงสุดในชีวิตของเรา

1.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) สร้างสื่อเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งประเภทของสื่อที่ใช้เก็บบันทึกตามกำหนดประเภทของข้อมูลข่าวสาร ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ

ก. สื่อที่บันทึกข้อมูลข่าวสารเพื่อการทำพันธกิจให้สำเร็จ แบ่งออกเป็น
- พันธกิจครอบครัว
- พันธกิจหน้าที่การงานหรือการประกอบธุรกิจ
- พันธกิจในการสร้างรายได้และการบริหารจัดการ

ข. สื่อที่บันทึกข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตของเรา

ค. สื่อที่บันทึกข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความสำเร็จตามความปรารถนาสูงสุดในชีวิตของเรา

(2) สร้างและคัดเลือกสื่อและช่องทางการสื่อสารในการเปิดรับ (expose) เพื่อรับรู้ (perception) ข้อมูลข่าวสารตามข้อ (1)

(3) สร้างและคัดเลือกสื่อและช่องทางการสื่อสารในการกับบุคคลในครอบครัว (communicate to family) เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ ข้อคิดเห็น ประสบการณ์ และเพื่อเชื่อมโยง สืบสาน เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี เช่น การใช้ LINE ไลน์กลุ่ม Facebook, Skype

(4) สร้างและคัดเลือกสื่อและช่องทางการสื่อสารในการกับกลุ่มเพื่อน (communicate to friends) เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ ข้อคิดเห็น ประสบการณ์ เพื่อสร้างความร่วมมือ เพื่อแลกเปลี่ยนความสุข ความทุกข์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิต เช่น การใช้ LINE ไลน์กลุ่ม Facebook

(5) สร้างและคัดเลือกสื่อและช่องทางการสื่อสารในการกับบุคคลอื่น (communicate to others) เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ ข้อคิดเห็น ประสบการณ์ เช่น การใช้ LINE ไลน์กลุ่ม Facebook, Website เวที การประชุม ชุมชน การทำกิจกรรมกลุ่ม

(6) สร้างและคัดเลือกสื่อและช่องทางการสื่อสารในการกับสาธารณชน (communicate to public) เพื่อได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในวงกว้าง และเพื่อสร้างการรู้จัก สร้างความเชื่อถือ สร้างการยอมรับในตนเอง เช่น การใช้ Facebook, Fan page เวที การประชุม การสัมมนา

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
วันที่ 9 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค