ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา

กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 
ตอนที่ 8 การสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา (prevention)
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 10 พ.ค. 59

คำโบราณที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" เป็นคำกล่าวที่มีค่ามาก ในฐานะที่สอนให้เราตระหนักในความสำคัญของการป้องกันปัญหา การป้องกันปัญหามีต้นทุนน้อยกว่าการแก้ไขปัญหา ปัญหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ ปัญหาใหม่ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมักเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งมนุษย์เราสามารถป้องกันได้ แต่มนุษยเรามักละเลยที่จะป้องกัน แล้วปล่อยให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ็ำ ๆ การสื่อสารเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนมีความตระหนักในการป้องกันปัญหาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับปัญหาใหม่เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจคาดไม่ถึง จึงจำเป็นต้องมีการคาดคะแน คาดการณ์ ทำนาย วิเคราะห์ไว้ล่วงหน้า แล้วหาทางป้องกัน เมื่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นกับใครแล้ว ผู้ที่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาใหม่นั้น ควรนำมาบอกกล่าวเล่าแจ้งเตือนให้คนอื่นระวังและป้องกันปัญหานั้น

8.1 กลยุทธ์หลัก (Core strategies)

(1) ปัญหาเดิม ศึกษาข้อมูลรวบรวมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุ และแนวทางในการป้องกันปัญหาเดิมมิให้เกิดซ้ำ
(2) ปัญหาใหม่ ศึกษาข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ เงื่อนไข บริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เพื่อคาดคะเนปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วสรุปข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ
(3) วิเคราะห์แยกปัญหาระหว่าง "ปัญหาในมิติของเนื้องาน" กับ "ปัญหาในมิติของการสื่อสาร"
(4) นำปัญหาในมิติของการสื่อสารมาวิเคราะห์และวางแผนการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหา
(5) ควรนำกระบวนการของเดมมิ่งมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการสื้่อสาร ที่ประกอบด้วย PLAN - DO - CHECK - ACTION

8.2 กลยุทธ์เกี่ยวกับสาร (Message strategies)

(1) ควรนำเสนอสารในลักษณะที่ "สร้างความตระหนัก" ในความสำคัญของปัญหา และความจำเป็นที่ต้องมีการป้องกัน โดยการนำเสนอผลกระทบในทางลบ หรือผลเสียหาย อันเกิดมาจากปัญหานั้น
(2) ควรสร้างและนำเสนอสารที่มีลักษณะของการ "เตือนภัย" ให้ระมัดระวังภัย ระมัดระวังปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีก
(3) ควรนำเสนอข้อมูลตัวเลขการเกิดปัญหาในเรื่องที่มีความถี่สูง ๆ หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพื่อเตือนให้ระวัง
(4) ควรนำเสนอสารที่มีลักษณะเป็นการให้คำแนะนำ หรือให้ข้อเสนอแนะ หรือให้แนวทาง ในการ "ป้องกัน" ปัญหา อย่างชัดจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้
(5) ควรนำเสนอสารในลักษณะของการโน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ดี


8.3 กลยุทธ์เกี่ยวกับสื่อ (Media strategies)

(1) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักรู้ (awareness) เช่น สื่อบุคคล สื่อวิดีโอ สื่อออนไลน์ ยูทูบ
(2) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการปลูกฝังทัศนคติเรื่อง "การป้องกันดีกว่าการแก้ไข"
(3) ควรใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ลงมือป้องกันปัญหาต่าง ๆ

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
10 พ.ค. 59

โทรศัพท์มือถือ : 081 4466 951
ไลน์ไอดี : americano1515

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค