ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร ตอนที่ 1 ข่าวสารที่ผู้พักอาศัยต้องการทราบ

ความจำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร
ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
9 พ.ค. 59

หมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดตั้งแต่ 200 หลังคาเรือนขึ้นไป ผู้พักอาศัยย่อมไม่สามารถพบปะสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันได้อย่างทั่วถึง จึงต้องอาศัย "สื่อ" เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

ขณะเดียวกันการที่นิติบุคคลผู้ทำหน้าที่ในการบริหารงานหมู่บ้านจะแจ้งข่าวสารให้สมาชิกนิติบุคคลทราบทั้งหมู่บ้านอย่างทั่วถึงในคราวเดียว ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารแบบพบปะเผชิญหน้าได้ ยกเว้นแต่จะมีการจัดประชุมใหญ่สมาชิกนิติบุคคลซึ่งนาน ๆ จะจัดครั้งหนึ่ง ดังนั้น ฝ่ายบริหารนิติบุคคลจึงจำเป็นต้องอาศัย "สื่อ" เป็นเครื่องมือและช่องทางในการติดต่อสื่อสาร

ฝ่ายผู้พักอาศัยเองต่างมีความต้องการที่ทราบข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง บริการสาธารณะ สาธารณูปโภค บริการด้านการรักษาความสะอาด บริการด้านการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบการดำเนินการโดยคณะกรรมการนิติบุคคลและฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล

หากปราศจาก "สื่อ" และ "การสื่อสาร" ย่อมทำให้ผู้พักอาศัยเกิดความอึดอัด คับข้องใจ วิตกกังวล เกิดความเครียด ส่งผลกระทบต่อความเป็นปกติสุขในการดำเนินชีวิต สื่อและการสื่อสาร จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานนิติบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

ลักษณะเฉพาะของการสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร

หมู่บ้านจัดสรรมีลักษณะทางกายภาพเป็นแบบแนวราบ (Horizontal area) บ้านแต่ละหลังคาเรือนจะตั้งอยู่บนพื้นที่ราบทั้งหมด โดยมีถนนและซอยเป็นเส้นทางเชื่อมต่อ แตกต่างจากคอนโดมิเนียมซึ่งมีลักษณะทางกายภาพเป็นแนวตั้ง (Vertical area) ห้องพักอาศัยจะถูกก่อสร้างขึ้นเป็นชั้น ๆ ในแนวดิ่ง สูงขึ้นไปจากพื้นดิน แต่ละชั้นจะมีห้องพักประมาณ 10-20 ห้อง ด้วยลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันจึงทำให้การสื่อสารมีลักษณะ รูปแบบ วิธีการที่แตกต่างกัน

การสื่อสารในหมู่บ้านจัดสรร จะมีลักษณะเชื่อมโยง (Connect) ติดต่อกันได้ในแนวราบ ตัวอย่างเช่น
- ผู้พักอาศัยสามารถเดินเท้า ขี่รถจักรยาน ขี่รถจักรยานยนต์ ขี่รถยนต์มาหาผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ ได้ถึงหน้าบ้านผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน
- พนักงานของสำนักงานนิติบุคคลสามารถขี่รถจักรยานยนต์มาหาผู้พักอาศัยถึงหน้าบ้านผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน
- พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถเดินเท้า ขี่รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ ตรวจตรามาถึงหน้าบ้านผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน
- รถจัดเก็บขยะสามารถแล่นไปเก็บขยะถึงหน้าบ้านผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือน

จะเห็นได้ว่า การสื่อสาร การติดต่อ การเชื่อมโยง มีลักษณะที่สามารถเข้าถึง (reach) ผู้พักอาศัยทุกหลังคาเรือนได้ ด้วยความสะดวก รวดเร็ว

ข้อมูลข่าวสารที่ผู้พักอาศัยต้องการทราบ

ข้อมูลข่าวสารที่ผู้พักอาศัยต้องการทราบ  (Message needs) แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่

1. ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณูปโภค (public utility)  เช่น การติดตั้งและการซ่อมแซม ท่อประปา ไฟฟ้า แสงสว่าง โทรศัพท์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต การซ่อมแซมถนน ซอย ทางเดิน ฟุตบาท

2. ข้อมูลข่าวสารบริการสาธารณะ (public service) เช่น สระว่ายน้ำ ห้องฟิตเนส สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ

3. ข้อมูลข่าวสารบริการด้านความปลอดภัย (safety service) การตรวจตราของพนักงานรักษาความปลอดภัย จุดรับแจ้งเหตุ จุดที่ตั้งถังดับเพลิง เบอร์โทรศัพท์ของป้อมยามรักษาความปลอดภัย

4. ข้อมูลข่าวสารบริการด้านความสะอาดและสุขอนามัย (cleanness and healthy) เช่น วันเวลาการจัดเก็บขยะ วันเวลาการจัดเก็บกิ่งไม้ วันเวลาในการกวาดถนน

5. ข้อมูลข่าวสารด้านงานสวน ต้นไม้ หญ้า และพรรณพืช (tree and Garden) เช่น การดูแลต้นไม้ ไม้ค้ำยัน การจัดแต่งกิ่งไม้ การตัดหญ้า การรดน้ำต้นไม้ การออกแบบ การสร้างความสวยงาม ร่มรื่น การสร้างบรรยากาศ

6. ข้อมูลข่าวสารด้านกิจกรรม (activities) เช่น การจัดกิจกรรมออกกำลังกาย แอโรบิค การจัดงานปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง

7. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการนิติบุคคล (management of committee) เช่น นโยบาย มติที่ประชุม แนวทางการดำเนินงาน งบการเงิน การใช้จ่ายเงิน เงินค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง การจัดระเบียบ การแก้ไขปัญหา การพัฒนา การสร้างสรรค์

8. ข้อมูลข่าวสารเกี่่ยวกับการบริหารจัดการของฝ่ายบริหารจัดการนิติบุคคล (management of service team) เช่น การให้บริการของแผนกการเงิน แผนกธุรการ แผนกช่างซ่อม

9. กฎหมาย ข้อบังคับ กฏ ระเบียบ (Law and Rule) เช่น พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ข้อบังคับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ระเบียบการรักษาความปลอดภัย ระเบียบการใช้จ่ายเงินของนิติบุคคล ระเบียบการจราตรในเขตหมู่บ้านจัดสรร ระเบียบการรักษาความสะอาดในเขตหมู่บ้านจัดสรร

10. ข่าวสารทั่วไปที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้พักอาศัย (general news) เช่น พยากรณ์อากาศ บริการทางการแพทย์ บริการกำจัดยุง

โปรดติดตามอ่านสาระประโยชน์ในตอนต่อไป

ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
9 พ.ค. 59






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค