ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จากกันแสนไกล

จากกันแสนไกล
.........
หลังจากโหมกระหน่ำมาสองชั่วโมงติดต่อกัน ต้นจำปีหน้าบ้านโอนเอนไปตามแรงลมฝนเพิ่งขาดเม็ดเมื่อสักครู่..ไอดินกลิ่นหอมโชยมา..ยามนี้ผมคิดถึงใครคนหนึ่งเหลือเกิน

ผมนั่งมองหยาดฝนบนใบจำปีหยดลงบนพื้นหญ้า หวนให้คิดด้วยความหม่นหมองว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เธอทิ้งร้างไปจากผม

ผมคาดเดาเอาเองอย่างปราศจากหลักวิชาใดๆ ว่า

1. ครอบครัว ลูก บิดา มารดา 2. งาน งานมากจนล้นมือ 3. เพื่อน การชักใบให้เรือเสียโดยเพื่อนของเขา และ 4. สิ่งเร้าจากภายนอก ได้แก่ สิ่งเร้าทางสังคม สิ่งเร้าทางวัฒนธรรม สิ่งเร้าจากสื่อมวลชนและโซเชียลมีเดีย

4 อย่างข้างต้น มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกตัวบุคคล เราเรียกมันว่า "อุปสรรค"
จะใชอุุปสรรคทั้งสี่นี้ไหมหนอที่เป็น "ต้นเหตุ" ทำให้เธอทิ้งร้างจากผมไป ?

คิดทบทวนอีกครั้งหนึ่ง..หรือว่าเรื่องอื่น??

1. ความอ่อนล้าทางร่างกาย 2. ความเบื่อหน่าย 3. ความรู้สึกท้อถอย หมดกำลังใจ หมดแรงใจ และ 4. ความหลงไหลในสิ่งอื่นที่มีอิทธิพลมากกว่า

4 อย่างหลังนี้ มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในของตัวบุคคล เราเรียกว่า "ปัญหา"
จะใช้ปัญหาทั้งสี่นี้ไหมหนอที่เป็น "ต้นเหตุ" ทำให้เธอทิ้งร้างจากผมไป ??

ผมคิดใคร่ครวญดูอีกครั้งว่า ระหว่างอย่างแรก คือ "อุปสรรค" ที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกตัวบุคคล กับอย่างหลัง คือ "ปัญหา" ที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในตัวบุคคล อย่างไหนมีอิทธิพลมากที่สุด ที่ทำให้เธอทิ้งร้างไป ???

ผมสารภาพว่า..ผมเคยคิดตำหนิเธอในใจว่า ไม่เอาไหน ไม่ได้เรื่อง ไม่รับผิดชอบ ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง ไม่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ไม่มีวินัย ไม่มีความอดทนที่มากพอ ไม่มีความเพียรอย่างแท้จริง แต่ผมไม่เคยพูดออกไป !! ผมไม่เคยให้เธอได้รับรู้ !! ผมกลัวเธอจะเสียใจ !! ผมกลัวเธอจะหมดสิ้นเยื่อใยกับผมจริง !!

ผมไม่พูด..เพราะผมหวังว่า สักวันเธอจะคิดได้ !! สักวันเธอจะกลับมา !! สักวันเธอจะกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับผมอย่างมีความสุขเหมือนเดิม !!

มะม่วงน้ำดอกไม้ที่ต้นหน้าบ้านออกลูกมาให้ผมชื่นชมสามฤดูแล้ว..ป้าพลอยเฝ้าเพียรขายข้าวเหนียวมูลหอมกรุ่นให้ผมติดต่อกันมาสามปีเช่นกัน..ผมช่วยซื้อข้าวเหนียวมูลมาหลายครั้ง แต่ผมไม่เคยกินมันเลย ผมกินมันไม่ลงหรอก มันขมขื่นเกินกว่าที่จะฝืนใจกิน

ดอกจำปีบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมกรุ่นไปทั่วสวน
ดอกจำปีหอมอบอวลซึมซ่านหัวใจ

หยาดฝนร่วงหล่นจากใบต้นจำปี
หยาดน้ำตารินหลั่งลงบนปกหนังสือที่เก่าคร่ำคร่า

แม้กระดาษจะซีดจาง แม้ตัวอักษรจะรางเลือน..แต่ด้วยความคุ้นเคยในความรู้สึก ด้วยความรักใคร่ผูกพัน ห่วงหาอาทร

เพียงแวบเดียว..ก็จับใจความได้ว่า

"โครงร่างวิทยานิพนธ์"

.........
Elika
06-09-14

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค