ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คิดอย่างประสบผลสำเร็จ (Productive Thinking) ข้อคิดสำหรับผู้เรียนปริญญาโท ปริญญาเอกด้านการสื่อสาร และด้านอื่นๆ

คิดอย่างประสบผลสำเร็จ (Productive Thinking) ข้อคิดสำหรับผู้เรียนปริญญาโท ปริญญาเอกด้านการสื่อสาร และด้านอื่นๆ
.........
เรียนปริญญาโท-ปริญญาเอก..ควรมุ่งความสนใจ และควรทุ่มเทพลังกาย พลังใจ พลังสติปัญญาไปในเรื่องอะไรจึงจะเกิดประโยน์อย่างเป็นรูปธรรม ?
.........
ผมมีคำแนะนำโดยสรุปในเรื่องเกี่ยวกับ การวางแผนก้าวเดินชีวิตการเรียนปริญญาโทปริญญาเอกของแต่ละคน สรุปได้เป็น 3 แนวทางคือ
.........
1. ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำ (Problem-based)
.........
2. ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญและสนใจ (Issue-based)
.........
3. ศึกษาเรื่องที่ผู้ให้ทุนวิจัยกำหนด (Scholarship/Financier-based)
.........
เลือกกันได้ตามใจชอบครับ
........
หากถามผมว่า แนวทางไหนดีที่สุด ?
.........
คำตอบคือ
หากตัดแนวทางที่ 3 ออกไป เพราะเราไม่มีอิสระที่จะเลือก
.........
ผมคิดว่า เราควรจะมองถึงผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม นำไปใช้ได้จริง (Productive Thinking) ผมแนะนำให้เลือกแนวทางแรก คือ ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำ (Problem-based) ครับ
.........
เหตุผลคือ
.........
1. เกิดประโยชน์ต่อองค์กร (กรณีที่เราทำงานในองค์กรของผู้อื่น)
-ช่วยแก้ปัญหาให้องค์กร
-ช่วยพัฒนาองค์กร
-ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
-ช่วยให้องค์กรได้ผลกำไร
หมายเหตุ เมื่อองค์กรประสบความสำเร็จ ตัวเราก็จะประสบความสำเร็จไปด้วย เพราะองค์กรเห็นเราทำประโยชน์ให้อย่างเป็นรูปธรรม
.........
2. เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง (กรณีเราทำงานองค์กรของตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการเอง เป็นเจ้าของสินค้า เป็นเจ้าของแบรนด์เอง)
-ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้
-ช่วยให้เราพัฒนาได้
-ช่วยให้กิจการเราประสบความสำเร็จ
-ช่วยให้เกิดรายได้และผลกำไร
-ช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดี ตระหนักในคุณค่าของการศึกษา
.........
แต่ไม่ขัดข้องที่จะเลือกศึกษาแนวทางที่สอง คือ ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่สำคัญและสนใจ (Issue-based) เพราะบางคนมีความปรารถนาส่วนตัว ที่ต้องการค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบและสนใจ นอกจากนี้ เรื่อง issue-based มักเป็นเรื่องที่สังคมจะได้รับประโยชน์ เช่น เด็ก สตรี อาหาร เกษตร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย การพัฒนา
........
สุดแต่ใจจะไขว่คว้า !!
.........
04-09-14

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค