ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักสื่อสารร่วมสมัยแห่งยุคดิจทัลวิถี กับ นักปราชญ์ผู้หยั่งรู้จิตใจมนุษย์ Facebook กับ Maslow

Facebook กับ Maslow

.........

คุณคิดว่า ปุ่ม Like ใน Facebook มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ตามทฤษฎี Maslow' Hierarchy of Needs ขั้นใด??


ในทัศนะของผม ปุ่ม Like ใน Facebook มุ่งตอบสนองความต้องการ ขั้นที่ 3 คือ Love needs


เมื่อเราโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ใดๆ ซึ่งเราเรียกรวมๆว่า "สาร"  (message) ลงไปในช่องอัพสเตตัส ไม่ว่ามันจะเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง


1. บทพรรณนา (epic) - คมกริบ สะเทือนอารมณ์ สะท้อนสังคมจนมองเห็นภาพ


2. การแสดงออกทางอารมณ์ (emotional expression)

- การแสดงออกทางอารมณ์ทางลบ -โกรธ ไม่พอใจ ชิงชัง ริษยา เชือดเฉือน

- การแสดงออกทางอารมณ์ทางบวก - ชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ ประทับใจ หลงไหล หลงรัก


3. การแจ้งข่าวสาร (information) - ข่าวสารทั่วไป การเตือนภัย


4. การเสนอความคิดเห็น (opinion)


5. การระดมทรัพยากรและความร่วมมือ. (Mobilization) - บริจาคเลือด ติดตามคนหาย ชาวยน้ำท่วม


หลังโพสต์ไปแล้ว เพียงชั่วไม่กี่วินาที "ความต้องการบางอย่าง" จะเกิดขึ้นในใจเราทันที นั่นคือ เราต้องการ การตอบสนองในทางบวก คือ เห็นด้วย พอใจ ชื่นชม


มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก อ่านเกมออก อ่านใจกลุ่มเป้าหมายออก ว่าต้องการอะไร !!


ปุ่ม Like ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีเยี่ยม มัน function มากๆ ครับ


สำหรับผู้ใช้บางรายต้องการมากกว่า Love needs เขาเป็นคนที่มีพร้อมในชีวิต เขามี love มากพอแล้ว เขาต้องการมากกว่านั้น


Admire needs นี่แหละคือสิ่งที่เขาต้องการได้รับมากที่สุด


เขาจะเฝ้าดูจำนวน Like ที่เพิ่มขึ้นอย่างใจจดใจจ่อ เขาเฝ้ารออ่าน comment ระรื่นหู


ถ้าไม่ได้ล่ะ?


ต้องพยามใหม่? ค้นหาจุดบกพร่อง ลองใหม่จนกว่าจะได้ผล


ถ้าได้ผลดีล่ะ?


ความอิ่มเอมใจ ความสุขใจ ความภาคิภูมิใจ ความชื่นชมยินดี ความตระหนักในความสามารถของตัวเอง ความรักตัวเอง..จะบังเกิดขึ้นในใจของเขา


แล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป?


เขาจะทำมันอีก เป็นไปตามทฤษฎีของปรมาจารย์อีกท่านหนึ่งคือ BF. Skinner เมื่อคนเราได้สร้าง Stimulus ส่งออกไปจะเกิด Response หาก Response เป็นทางบวก มันจะแปรเป็นพลัง Reinforcement ให้เขาเกิดกำลังใจ เกิดความฮึกหาญ กระทำการต่อไปอีก ณ จุดนี้ต้องยกย่องท่าน Skinner ไว้ด้วย


ไม่ว่าวันเวลาจัผ่านไปเนิ่นนานสักแค่ไหน..โลกพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมอุตสาหกรรม มาเป็นสังคมข่าวสาร มาสู่สังคมสื่อสาร..ทฤษฎีของท่านปรมาจารย์ Maslow ยังคงใช้ได้เสมอ ทรงคุณค่า และมีความ classic มากจริงๆ..ขอแสดงความเคารพนับถืออย่างยิ่ง

.........

Elika

6-09-14

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค