ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ 8 ประเภท ของมนุษย์ !! เขาต้องการอะไร? เราควรจะขายสินค้าอะไรให้เขา? เราจะสื่อสารกับเขาอย่างไร?

รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ Lifestyle 8 ประเภท***
........
เขาคือใคร? มีความต้องการอะไร? เราควรจะขายสินค้าอะไรให้เขา? และ เราจะสื่อสารกับเขาอย่างไร?
.........
SRI Consulting Business International ได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ "วิถีการดำเนินชีวิต" (Lifestyle) ขึ้นมาใช้ในการวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้คน เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ เขาพบว่า ผู้บริโภคถูกจูงใจโดยอุดนมคติของเขา ซึ่งถูกชักนำโดยความรู้ (knowledge) และหลักการ (principle)  และและได้พบข้อสรุปว่า "คนเรามักมีพฤติกรรมไปในแนวทางเดียวกันกับค่านิยมที่พวกเขายึดถือ และพยายามพัฒนาสิ่งนั้นจนกลายเป็นอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเฉพาะตัว ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา รูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตนี้ทาง SRI เรียกว่า VALS (Value and Lifestyle System) โดยพัฒนามาเป็นเวอร์ชั่นที่สอง เรียกว่า VALS2 ดังภาพ
.........

.........

ผู้คนในสังคมแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้คือ

1. Actualisers / Innovators ผู้บรรลุความสำเร็จขั้นสูงในชีวิต / นักนวัตกรรม มีทรัพยากรสูง มีนวัตกรรมสูง ประสบความสำเร็จในชีวิตสูง มีปรัชญาในการดำเนินชีวิต ตระหนักในศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิต มีทรัพยากรให้ใช้มากกมาย ทั้ง บ้าน รถยนต์ เครื่องอำนวยความสะดวก เงินทอง การสร้างและการรักษาภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคนกลุ่มนี้ แต่ภาพลักษณ์นี้ไม่ใช่เพื่อการแสดงออกถึงอำนาจและสถานภาพ แต่เป็นการแสดงออกถึงรสนิยมขั้นสูงที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างดีในชนชั้นสูง คนกลุ่มนี้มีความเป็นอิสระและมีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวที่ชัดเจน คนกลุ่มนี้เปิดรับไอเดียใหม่ๆ แบะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ การใช้ชีวิตของพวกเขาถูกกำหนดโดยความหลากหลายความแปลกใหม่ความเลิศหรู

2. Fulfilleds / Thinkers ผู้ปรารถนาเติมเต็มชีวิต / นักคิด มีทรัพยากรค่อนข้างสูง มีนวัตกรรมค่อนข้างสูง มุ่งยึดถือหลักการ เคร่งครัดหลักการ

3. Achieves ผู้มุ่งความสำเร็จ มีทรัพยากรค่อนข้างสูง มีนวัตกรรมค่อนข้างสูง ยึดถือสถานภาพ มุ่งสร้างและรักษาสถานภาพทางสังคมของตนเอง เป็นผู้ที่มีการงานทำมากมาย มีวิถีชีวิตที่วางเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน มีพันธะสัญญาอย่างมั่นคงกับวิชาชีพหน้าที่การงาน และชีวิตครอบครัว ภาพลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคนกลุ่มนี้ คนกลุ่มนี้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณค่ามีคุณภาพชั้นเลิศ และต้องการได้รับบริการที่ดี สนใจเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยให้ประหยัดเวลาในชีวิตประจำวัน

4. Experiencers ผู้มุ่งไขว่คว้าหาประสบการณ์ มีทรัพยากรค่อนข้างสูง มีนวัตกรรมค่อนข้างสูง มุ่งยึดถือการกระทำ และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์จริง เป็นหลัก คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีอายุน้อย หรืออายุไม่สูงมากนัก มีความตื่นตัวมีความกระตือรือร้น เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ตัดสินใจเร็ว ตัดสินใจบริโภคสิ่งแปลกใหม่ ทันสมัย ที่มีความเป็นไปได้ แต่ต้องเร็วและดูดีดูทันสมัย คนกลุ่มนี้ต้องการรสชาติแปลกใหม่ในชีวิต ชอบกระทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมเนียมนิยม หรือชอบทำนอกกรอบประเพณ๊นิยม และชอบทำอะไรที่เสี่ยงๆ คนกลุ่มนี้มีพลังล้นเหลือในการออกไปค้นหา ทำกิจกรรมที่ท้าท้าย เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา การผักผ่อนหย่อนใจ การทำกิจกรรมทางสังคม รายได้ของพวกเขามักจะถูกใช้จ่ายไปในเรื่องเกี่ยวกับ แฟชั่น ความบันเทิง การเข้าสังคม โดยเฉพาะกับการซื้อหาสิ่งที่ทำให้ดูดี สิ่งที่ทันสมัยใหม่สุด

5. Believers ผู้เคร่งครัดความเชื่อ มีทรัพยากรค่อนข้างต่ำ มีนวัตกรรมค่อนข้างต่ำ มุ่งยึดถือหลักการ เคร่งครัดหลักการ

6. Strivers ผู้ต่อสู้ชีวิต มีทรัพยากรค่อนข้างต่ำ มีนวัตกรรมค่อนข้างต่ำ ยึดถือสถานภาพ มุ่งสร้างและรักษาสถานภาพทางสังคมของตนเอง คนกลุ่มนี้จะรักสนุก ชอบตามแฟชั่น สนุกกับเรื่องความรัก มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำ มีรายได้ครัวเรือนต่ำ เงินเป็นตัวกำหนดความสำเร็จในชีวิตของพวกเขา คนกลุ่มนี้ต้องการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจ และตัดสินใจใช้จ่ายเงินเพื่อตอบสนองความพึงพอใจได้ง่ายตราบเท่าที่เงินในกระเป๋าจะเอื้ออำนวย

7. Makers ผู้เป็นนักผลิต มีทรัพยากรค่อนข้างต่ำ มีนวัตกรรมค่อนข้างต่ำ มุ่งยึดถือการกระทำ และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์จริง เป็นหลัก ชอบแสดงออกถึงความเป็นตัวเองและประสบการณ์ของตนเอง ผ่านการทำงาน ผ่านการสร้างผลงาน เช่น สร้างบ้าน ซ่อมรถยนต์ ด้วยตัวเอง เป็นกลุ่มคนที่เน้นการลงมือปฏิบัติ เป็นผู้ที่มีการพัฒนาทักษะ มีค่านิยมการใช้ชีวิตแบบสมถะพอเพียง ไม่นิยมสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย ไม่นิยมการแสดงออกทางวัตถุนิยม ไม่นิยมซื้อสินค้าที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง หรือเอามาทำอะไรไม่ได้จริงในชีวิต

8. Strugglers / Survivors ผู้ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด มีทรัพยากรต่ำ มีนวัตกรรมต่ำ มากกว่ากลุ่มใดทั้งหมด คนกลุ่มนี้มุ่งเพพียงแค่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นต่ำสุด คือ ความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตมากกยิง่กว่าการได้รับการเติมเต็มความปรารถนาของชีวิต คนกลุ่มนี้เป็นตัวแทนตลาดกลุ่มใหญ่ที่สุดสำหรับสินค้าและบริการกลุ่มใหญ่ที่สุด คนกลุ่มนี้จะมีความภักดีต่อตราสินค้าที่เขานิยมชมชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่พวกเขาสามารถหาซื้อได้จากร้านประเภทดิสเค้านท์สโตร์ (เช่น โลตัส บิ๊กซี แม็กโคร)
.........
รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือ ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle )8 ประเภท มีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต วิถีชีวิต พฤติกรรมการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า ของมนุษย์ในสังคม
.........
ตามทฤษฎีกล่าวไว้ว่า..หาก..บุคคลจัดอยู่ในกลุ่มใด บุคคลนั้นก็มักจะมีพฤติกรรมไปในแนวทางเดียวกันกับค่านิยมที่พวกเขายึดถือ และพยายามพัฒนาสิ่งนั้นจนกลายเป็นอัตลักษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเฉพาะตัว ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา
.........
หากเรารู้ว่า..เขาคือใคร? เขาเป็นผู้บริโภคแบบใด? เขามีรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างไร? เขามีความต้องการอะไร เพื่อมาตอบสนองและสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของเขา?

เราก็รู้ว่า..เราจะขายสินค้าอะไรให้เขา !!
เราก็รู้ว่า..เราจะสื่อสารกับเขาอย่างไร !!
.........

สำหรับตัวคุณเอง ก็สามารถตั้งคำถามกับตัวเองได้ว่า..คุณเป็นคนแบบไหนใน 8 กลุ่มนี้ เพื่อทำความรู้จักตัวเองได้เช่นกัน..รู้ไว้ก็ดีใช่ไหมครับ
.........

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
14 กันยายน 2557

***ที่มาของข้อมูล: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน "กระบวนการโฆษณา" หน่วยที่ 7 ในชุดวิชา หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2552 หน้าที่ 7-31 - 7-32 อ้างอิงถึง Well, 2008. และอ้างอิงถึง Kerin, Harthley, and Rudelius, 2007.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค