ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จงหยุดประกอบสร้างความจริงเชิงอัตวิสัย (subjective reality) ขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเองให้ลุ่มหลงใน "มายาคติ" อีกต่อไป

จงหยุดประกอบสร้างความจริงเชิงอัตวิสัย (subjective reality) ขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเองให้ลุ่มหลงใน "มายาคติ" อีกต่อไป
............
ภาพยนตร์เรื่อง เพชฌฆาตร มหากาฬ (LEON: THE PROFESSIONAL)
จากฝีมือกำกับของ ลุค เบซ็อง ภาพยนตร์ที่มีคุณค่าเรื่องหนึ่ง ทั้งคุณค่าด้านความบันเทิงและคุณค่าด้านอรรถประโยชน์..ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ข้อคิดแก่เราได้ดีมากๆ

อดีต (ผ่านมาแล้ว เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้)
...........
เราเติบโตมาอย่างไร ภายใต้สภาพแวดล้อมอย่างไร?
เราได้เรียนรู้อะไร?
เราได้เรียนรู้จากใคร?
ผลที่เกิดขึ้นตามมา..เป็นอย่างไร ?
เป้าหมายปลายทาง..เป็นอย่างไร ?

ปัจจุบัน (กำลังเกิดขึ้น ดำรงอยู่ ดำเนินต่อไป เรากำหนดอนาคตได้)
............
เราเลือกที่จะพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด ??
เรากำลังเรียนรู้อะไร ??
เรากำลังเรียนรู้จากใคร ??
ผลที่เกิดขึ้นตามมา..จะเป็นอย่างไร ?
เป้าหมายปลายทาง..จะเป็นอย่างไร ?
............
จริงๆ แล้ว เรา "เลือกได้"
แต่ด้วย "ข้ออ้าง" มากมายที่เราสรรหามาแก้ตัว
เพื่อให้เราทำสิ่งที่เราอยากทำ..ตามความอ่อนแอของจิตใจ
............
รู้อย่างนี้แล้ว..หากต้องการผลสำเร็จตามเป้าหมายปลายทางของชีวิต (Ultimately Goals) ดังความฝัน
............
จงเริ่มต้น..ด้วยการ "รู้เท่าทันจิตใจ" ของตัวเอง

จงก้าวข้ามออกมาจาก "พื้นที่แห่งความอ่อนแอของจิตใจ" (Comfortable Zone) ซึ่งให้ความสุขชั่วครั้งชั่วคราว เพราะมันมีค่าเป็นเพียงการ "หลบหนี" (escapism) ไปจากโลกแห่งความจริงเพื่อไปพบกับ "ความสุขเพียงชั่วคราว" เท่านั้น
............
จงก้าวเดินไปบน "พื้นที่แห่งความจริง และ เส้นทางแห่งความจริง" ที่แม้จะต้องเผชิญกับความยากลำบาก ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด แต่มันก็คือ "ความจริง"
............
จงเรียนรู้จาก "ความจริง" จงสร้างความสำเร็จจาก "ความจริง"
ด้วยมือของเรา ด้วยสองเท้าของเรา ด้วยกายของเรา ด้วยมันสมองของเรา และด้วยสติปัญญาของเรา
............
จงหยุดงมงายหลงไหลในความจริงเชิงอัตวิสัย (subjective reality) ที่แอบแฝงอยู่ในรูปแบบของความจริงชนิดต่างๆ เช่น "ความรู้ ประสบการณ์ คำสอน ข้อชี้แนะ ความห่วงใย ความหวังดี โอกาส โชคลาภ ความสำเร็จ ความร่ำรวย ฯลฯ" ที่ผู้อื่นประกอบสร้างมันขึ้นมา เพื่อหลอกล่อเราให้ไปติดกับดักชักนำเราเข้าไปหาความสำราญในพื้นที่แห่งความอ่อนแอทางจิตใจ จงเดินออกมาจากที่นั่นเสียเถอะ
..........
จงหยุดประกอบสร้างความจริงเชิงอัตวิสัย (subjective reality) ขึ้นมาเพื่อหลอกตัวเองให้ลุ่มหลงใน "มายาคติ" อีกต่อไป
..........
ขอจงหลุดพ้นเป็นอิสระจาก "การครอบงำ" ใดๆ ทั้งปวง
............
จงออกมาให้พ้นจากดินแดนแห่งการล่า ดินแดนซึ่ง "มนุษย์ล่ามนุษย์"
............
จงลุกขึ้นมาเถิด..แล้วก้าวเดินไป บนเส้นทางของ "ความจริง" ที่เป็นสัจจะ (Absolutely truth)
............

2 กันยายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค