ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การสร้าง "ตำแหน่งของตราสินค้า" (Brand Positioning)

กลยุทธ์การสร้าง "ตำแหน่งของตราสินค้า" (Brand Positioning)
.........
การสร้างความคิดความจดจำในสมองและจิตใจของผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญมาก นักการตลาด นักสื่อสารใช้ความพยายามอย่างมากที่จะสร้าง "ตำแหน่งของตราสินค้า" (Brand Positioning) ที่ชัดเจน กระจ่างชัด ในความทรงจำของผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งมีกลยุทธ์การปฏิบัติอยู่ 3 ระดับ คือ
.........
1. คุณลักษณะของสินค้า (Product attribute) เป็นการสร้างตำแหน่งของตราสินค้าขั้นต่ำที่สุด คือ ทำให้ผู้บริโภคจดจำคุณลักษณะของสินค้าให้ได้ เช่น มีสารฟลูออไรด์ผสมในยาสีฟัน  แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนคือ ใครๆ ก็ทำได้ คู่แข่งของคุณก็ทำได้ การสร้างตำแหน่งของตราสินค้าวิธีนี้จึงไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน

2. คุณประโยชน์ของสินค้า (Benefits) เป็นการสร้างตำแหน่งของตราสินค้า โดยการพูดถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้สินค้าตรายี่ห้อนั้นๆ เช่น ทำให้ฟันขาวสะอาด ช่วยป้องกันฟันผุ ทำให้ไม่เสียวฟัน เช่น ยาสีฟันที่มีสรรพคุณป้องกันการเสียวฟันโดยผสมเกลือที่มีคุณสมบัติพิเศษลงไป วิธีนี้ดีกว่าวิธีแรก ซึ่งมีผู้นิยมใช้มากเหมือนกัน แต่ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ที่ การใช้วิธีนี้คู่แข่งก็ยังตามมาได้ ตัวอย่างเช่น ยาสีฟัน Saltz ยาสีฟัน Sensodyne ต่างโฆษณาว่าผสมเกลือ Sodium Fluoride ลงไปทั้งคู่ ทั้งสอง brand นี้ต่างแย่งกันครองพื้นที่ในใจผู้บริโภค เรื่อง ยาสีฟันที่ทำให้ไม่เสียวฟัน

3. ความเชื่อและค่านิยม (Beliefs and Values) วิธีนี้เป็นวิธีที่แข็งแรงที่สุดมากกว่าสองวิธีแรก การสร้างตำแหน่งของตราสินค้าวิธีนี้ ทำโดยการสร้างความเชื่อและค่านิยมที่แข็งแรงเข้าไปในจิตใจผู้บริโภค เป็นการสร้างความรู้สึกทางอารมณ์ในระดับลึก (deep eomtion level)  และในระดับแรง โจมตีความรู้สึกนึกคิดและความเชื่อของผู้บริโภคอย่างแรงจนผู้บริโภคยอมรับตราสินค้านี้เข้าไปไว้ในจิตใจ นั่นคือ การเอาชนะจิตใจผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น สามารถสร้างความรู้สึกเชื่อว่า สินค้าที่มีตราสินค้านี้ ใช้แล้วสุขภาพดี ใช้แล้วมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้แล้วทำให้โลกนี้สดใส ใช้แล้วทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ตัวอย่างสินค้าที่สร้าง "ตำแหน่งของตราสินค้า" (Brand Positioning) จนถึงระดับ "ความเชื่อและค่านิยม" (Beliefs and Values) เช่น Starbucks Coffee, McDonald
.........
ลองนำแนวคิด หลักการ และวิธีการ ข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารของท่านดูนะครับ แล้ท่านจะประสบความสำเร็จในที่สุด
.........

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
14 กันยายน 2557

อ้างอิง: Gary Armstrong and Philip Kotler, Marketing: An Introduction, 2007

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค