ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความทรหดอดทนจนถึงที่สุด และ ความแข็งแกร่งจนถึงที่สุด (Grit) จะนำคุณไปพบกับความสำเร็จ

ความทรหดอดทนจนถึงที่สุด และ ความแข็งแกร่งจนถึงที่สุด (Grit)
.........
สังคมสมัยนี้สอนให้เราเรียนรู้และฝึกฝนกันมากในรื่อง "ความรู้" และเรื่อง "ความฉลาดทางปัญญา" หรือ "ไอคิว" โดยมุ่งหวังว่าสิ่งหล่านี้จะทำให้ชีวิตคนเราประสบความสำเร็จ

แต่โดยความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ !!
.........
จากผลการวิจัยของ "ดร.แอนเจล่า ลี ดั๊กเวิร์ท" พบว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ส่งผลต่อความสำเร็จของคนเราเลย แต่คนที่หยิบจับอะไรก็ประสบความสำเร็จนั้น มีเพียงคุณสมบัติที่เรียกว่า "ความทรหดอดทน" และ ความแข็งแกร่ง" (Grit) จนถึงที่สุด"

ดร.แอนเจล่า ลี ดั๊กเวิร์ท ยังกล่าวต่อไปว่า "..ผู้คนมากมายที่มีความฝัน และมีความตั้งใจที่ดี แต่พอลงมือทำไปสักช่วงระยะหนึ่งมักจะเกิดการถอดใจหรือที่ชอบบอกกับคนอื่น ๆ ว่า "ขี้เกียจ" มักมีเหตุผลต่าง ๆ นานามาเป็นข้ออ้าง เพื่อที่จะไม่ต้องลงมือทำสิ่งนั้นต่อ.."
.........
นอกจากคุณสมบัติเรื่อง "ความทรหดอดทน" และ "ความแข็งแกร่ง" (Grit) จนถึงที่สุด" แล้ว ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การที่คนเราจะทำอะไรสักอย่างให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ล้มเหลว ไม่ล้มเลิกกลางคันนั้น คนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอีก 2 ประการ คือ "ลูกบ้า" กับ "ลูกอึด"

"ลูกบ้า" (Passion) คือความชอบแบบจริง ๆ จัง ๆ ชนิดหายใจเข้าออกเป็นเรื่องนั้น

"ลูกอึด" (Perseverance) คือความอึด อดทน ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคปัญหา และข้อจำกัด เนื่องจากมีความมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงอย่างที่หวังไว้
.........
ผมพบคนมากมายในชีวิต เป็นแบบนั้น !!
การเรียนหนังสือปริญญาโท ปริญญาเอก
การทำวิทยานิพนธ์
การเขียนหนังสือ
การทำธุรกิจ
การเล่นหุ้น
การเล่นกอล์ฟ
ฯบฯ
พวกเขาพากัน..ล้มเหลว ล้มเลิก ละทิ้ง ลงกลางคัน !! ไปไม่ถึงความฝัน !!
.........
ทอมัล อัลวาเอดิสัน..ใช้ความเพียรพยายามนับพันครั้งในการคิดค้นไส้หลอดไฟฟ้า ที่ไม่เผาไหม้สลายไปในเวลาสั้นๆ เขาดั้นด้นไปหาไม้จากญี่ปุ่นเอามาทำไส้หลอดไฟ ได้ผลดีมากกว่าเดิมแต่ก็ยังไม่สำเร็จ !!

แต่เขาไม่เคยท้อถอยต่ออุปสรรค เขายังคงใช้ความทรหดอดทน อย่างถึงที่สุด !! ใช้ความเข้มแข็งอย่างถึงที่สุด !! เพื่อเอาชนะปัญหา

จนในที่สุดรางวัลแห่งความเพียรก็บังเกิดขึ้น เมื่อเขาค้นพบวิธีการทำให้ไส้หลอดสว่างสดใสยาวนาน ไม่ลุกไหม้สลายไป โดยการใช้หลอดไฟที่เขาสูบอากาศออกให้ภายในหลอดเป็นสุญญากาศ
.........
หากเอดิสันไม่สู้ ท้อถอย ล้มเลิกกลางคัน ไม่แข็งแกร่งจนถึงที่สุด ไม่อดทนจนถึงที่สุด !!..เราก็คงไม่มีวันนี้..เราคงไม่มีแสงไฟจากหลอดไฟส่องสว่างในชีวิตเรายามค่ำคืน
.........
.........
หากคุณยังมีความฝันอันงดงามอยู่และยังอยากบรรลุถึงความฝัน..ผมขอแนะนำให้คุณยึดหลักปฏิบัติ 3 ข้อดังกล่าวอย่างเคร่งครัด คือ
.........
1. จงทำมันด้วย "ความทรหดอดทน" และ "ความแข็งแกร่ง" (Grit) ให้ถึงที่สุด"
2. จงทำมันด้วยความรักด้วยความหลงไหลแบบทุ่มเททั้งชีวิต (Passion)
3. จงทำมันด้วยความอดทนถึงที่สุด (Perseverance) ไม่ท้อถอย แม้จะพบเจออุปสรรคเพียงใดก็ไม่ยอมถอยแม้แต่ก้าวเดียว
.........
แล้วคุณจะประบสบความสำเร็จ เหมือนกับคนสำคัญของโลกประสบความสำเร็จมาแล้ว


Elika
9-9-14

.........
หมายเหตุ ผลการวิจัยของ "ดร.แอนเจล่า ลี ดั๊กเวิร์ท ข้างต้นนี้ อ้างใน www.Forbe.com โดยอ้างถึงใน บทความเรื่อง "ความสำเร็จของคน" เขียนโดย ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย เผยแพร่ทางประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค