ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในอุ้งมือนักการตลาดและนักนิเทศศาสตร์

ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในอุ้งมือนักการตลาดและนักนิเทศศาสตร์
.........
ลองถอดแบบวิถีชีวิตการกินอาหารเพื่ออยู่รอด..ของคนกรุงเทพฯ ระดับชนชั้นกลาง-ล่าง (Lower middle class) ของคนวัยทำงานอายุเกินกว่า 40 ปี (คนหนึ่ง)

- เช้า แซนด์วิชแฮมชีสอบกรอบ 27 บาท กับนมจืด 1 กล่อง 12 บาท กินระหว่างนั่งรถไปทำงาน (provided by 7Eleven)

- กลางวัน กะเพราไก่ไข่ดาว 40 บาท น้ำเปล่า 1 ขวด 9 บาท กินในที่ทำงาน (provided by 7Eleven)

- เย็น ข้าวผัดพริกแกงหมู่ใส่ถั่ว ใส่เห็ดราดข้าว ไข่ดาว 50 บาท น้ำเปล่า 1 ขวด 10 บาท (provided by street market food makers)

- ค่ำ น้ำเต้าหู้ทรงเครื่อง ปลาท่องโก๋ 30   บาท (provided by street market food makers)
.........
รวม "ค่ามีชีวิตรอด" ในแต่ละวันโดยเฉลี่ย ประมาณ 178 บาท

เงิน 178 บาทนี่เป็นเพียงแค่ตัวคนเดียว ยังไม่รวม ครอบครัว ภรรยา สามี ลูก
.........
ที่สำคัญ นี่เป็นเพียง "ค่ามีชีวิตรอด" เท่านั้น ไม่ต้องพูดถึงคุณภาพชีวิต ที่เต็มไปด้วย "โมโนโซเดียมกลูตาเมต" (MonoSodium Glutamate) หรือ "ผงชูรส" ที่บรรดา Food makers ทั้ง CP และแม่ค้าในตลาดโต้รุ่งได้บังคับขืนใจแทรกเข้าใส่กระเพาะผู้บริโภคอย่างไม่มีทางเลี่ยง
.........
อันที่จริงนั่นเป็น Excuse ของคนไม่ขยันพอในการแสวงหาอาหารที่ดีกว่านี้
.........
มีข้อท้วงติงมากมายว่า..คุณเลือกชีวิตคุณได้ คุณประกอบอาหารกินเองได้ จะเอาความปลอดภัยมากแค่ไหนก็ได้

ไม่เถึยงหรอก ก็มันจริง แต่ขอแย้งสักหน่อย
.........
1. ถ้าประกอบอาหารเอง ลองมองชีวิตจริงดู
     - ผักที่ซืื้อมาจากตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งมักจะขนส่งมาจากแหล่งผลิตที่ นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ราชบุรี เพชรบุรี ที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เสี่ยงพอๆ กับ food makers ตลาดโต้รุ่ง

     - หมูจากเขียงตลาดสดกิโลละ 200 บาท ที่อุดมด้วยฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เพราะไม่มีเงินพอไปซื้อหมู Pure Pork ปลอดสารของเบทาโกรกิโละ 300-400 บาท

     - ข้าวสารที่ผสมคุณค่าอาหารและสารพิษเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน รวมทั้งเมทิลโปรไมด์ ที่รมควันป้องกันมอด ขนาด 5 ก.ก.ๆ ละ 40 บาท ราคาถุงละ 200 บาท เพราะไม่มีเงินพอซื้อข้าวสารอินทรีย์กิโลละ 80 บาท ถุง 5 กิโล 400 บาท นานๆ กินทีพอได้อยู่

.........
2. การที่พวกชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ บางส่วน ต้องเป็นอย่างนี้ก็เพราะเราถูกทำให้เชื่อ และเราถูกทำให้เชื่อง (ขออ้างนั่นอ้างนี่สักหน่อย เผื่อจะฟังดูมีเหตุผลบ้าง)

     - ขอถามว่าใคร? ใช้ระบบการตลาดและระบบการโฆษณา มาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ ? ใครบอกเราว่า ตอนเช้าถ้ามีเวลาน้อยๆ ต้องกินอะไร ใครบอกเราผ่านสื่อโทรทัศน์ว่าถ้าไม่มีเวลาปรุงอาหารเช้าให้กินโจ๊กคัพ หรือไม่ก็ แซนด์วิช กับนม

     - ขอถามว่าใครทำสื่อโฆษณาที่สอนเรา บอกเรา ตอกย้ำเรา ปลูกฝังทัศนคติเรา ทุกวัน ทุกวัน ทุกวัน สิ่งเหล่านี้มันจะไม่เข้าไปในหัวสมองเราบ้างเหรอ เอาละนักนิเทศศาสตร์เขาก่นด่าเราว่า
.........
"..ไม่จริงพวกแกมันแย่เอง ทฤษฎี Bullet Theory หรือทฤษฎีกระสุนปืน มันล้าสมัยแล้ว สื่อไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารขนาดนั้นหรอก ผู้รับสารเป็นผู้เลือกรับ เลือกจดจำ เลือกใช้ประโยชน์เอาเองได้ ตามทฤษฎี Usage and Gratification เพราะผู้รับสารมีสมอง.."

โอ้โห ฟังดูเท่ห์นะครับ ผู้รับสารมีสมอง คิดเองได้ เลือกได้..มันจริงแค่ครึ่งเดียว เพราะแม้จะเลือกได้อย่างว่า แต่ปัญหาคือ มัน "ควบคุมจิตใจตัวเองไม่ได้" มากกว่า
.........
- ขอถามนักการตลาดและนักนิเทศศาสตร์ดูบ้าง..เวลาพวกคุณจะกินอาหารกันแบบครอบครัว หรือปาร์ตี้กับเพื่อนๆ สัก 10 คน พวกคุณไปกินอะไร..ทำไมคุณไปกินที่ MK Suki Restuarant ก็เพราะพวกคุณใช่มั๊ยที่ปรับเปลี่ยนทัศนคติและปลูกฝังลงไปถึงจิตใต้สำนึกของพวกเราว่า

"..กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกินเอ็มเค.."

(ทำนองเพลง มองอะไร.มองอะไร พอมองไปทำไมยิ้มมา เหม่อมอง.สองตา แปลกหนายังมาทำเปิ่น ทำตะลึง มองละลาน มันรำคาญมองนานเหลือเกิน เมื่อมอง ฉันเมิน ด้วยเขินสะเทิ้นเมินเก้อ)
.........
     -  ขอถามว่านักการตลาดและนักนิเทศศาสตร์มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ การใช้ชีวิตแต่ละวัน "ไม่เคยเข้าเซเว่น" ??? หรือ "เวลาหิวไม่เข้าเซเว่น" ?? มีมั๊ยครับ?? มีกี่%

     - ขอถามต่อว่าใครครับ? ที่เป็นคนว่านล้อมสารโฆษณาโจมตีผู้บริโภคทุกทิศทุกทางว่า

"หิวเมื่อไหร่ ก็แวะมา เซเว่น อีเลฟเว่น" !!
.........
ขอถามนักการตลาดและนักนิเทศศาสตร์ต่อไปอีกสักนิดนึงว่า "กาแฟเย็น Tiramisu Frappucino ของ Starbucks แก้วละ 195 บาท ทำไมคุณยอมถึงจ่ายเพื่อจะดื่มมัน..มันอร่อยมากมั๊ยครับ??"

ขอถามต่ออีกว่าแล้วใคร? คนในวิชาชีพไหน? ที่เขียน copy โฆษณาล้ำเลิศขนาดนี้

"Say yes to a world of extraordinary flavors"

ด้วยแรงบันดาลใจจากหนึ่งในขนมหวานของอิตาลีที่เป็นที่นิยมมากที่สุด รังสรรค์มาเป็นเครื่องดื่มใหม่แสนพิเศษ ลิ้มลองความอร่อยของเครื่องดื่มทิรามิส แฟรบปูชิโน่ที่ผสานกาแฟปั่นผสมซอสทิรามิสุสูตรพิเศษรสชาติเข้มข้น เติมความกรุบกรอบด้านบนด้วยคุ้กกี้บิสกิต ปิดท้ายด้วยครีมชีสวิปครีม ที่ราดด้วยซอสทิรามิสุและผงโกโก้ ซอสทิรามิสุสูตรพิเศษนี้มีส่วนผสมของกาแฟสตาร์บัคส์ อิตาเลี่ยน โรสท์ ซึ่งให้รสชาติกาแฟเข้มข้นที่ดื่มด่ำได้เฉพาะที่สตาร์บัคส์เท่านั้น.."

อ่านแล้ว พวกเรารีบวิ่งไปซื้อทันทีเลย

.........
3. เรายอมรับครับว่าเราอ่อนแอ เราอ่อนแอเกินไป ที่จะต่อต้านพลังอำนาจการตลาดและการโฆษณาของพวกท่าน

เพราะพวกคุณเก่งเหลือเกินในการเจาะทะลุทะลวงไปถึง ระบบความคิด ระบบความเชื่อ ของพวกเรา พวกคุณเก่งในการเปลี่ยนทัศนคติของเรา พวกคุณสามารถปลูกฝังสิ่งที่คุณต้องการให้เราคิด ต้องการให้เราเชื่อ ลงไปไปถึง "Subconscious" ของพวกเรา
.........
พวกเรา "ชนชั้นกลางล่าง" Lower Middle Class ไปจนถึง "ชนชั้นกลาง" Middle Class ในกรุงเทพฯ เราจึงต้องมีวีถีชีวิตแบบนี้ล่ะครับ..เราไม่ได้กล่าวโทษท่านนักการตลาดและท่านักนิเทศศาสตร์นะครับ

เพียงแค่ขอให้เราได้อธิบายเหตุผลโง่ๆ So silly (reasons) ตามแบบของเรา ก็เท่านั้นเอง

แล้วเราก็จะมีชีวิตแบบง่ายๆ โง่ๆ เชื่องๆ แบบนี้ต่อไป
.........
อ้อลืมไปนิดนึง..เวลาท่านทำการตลาดและทำการโฆษณา ท่านน่าจะมีข้อความเตือนพวกเราอีกสักนิดนึงว่า..ถ้าจะใช้ชีวิตแบบนี้ไปนานๆ ขอให้ขยันทำมาหากิน และขอให้เก็บเงินส่วนหนึ่งไว้ เพื่อใช้รักษาตัวในโรงพยาบาล
............................
แต่ถ้าเวลาโฆษณาไม่พอ ก็ขึ้น super ตัวหนังสือเล็กๆ ล่างจอทีวี และพูดคำเตือนเร็วๆ แบบเอ็ม 150 ก็ได้ครับ..ถ้าได้ จะขอบคุณมากเลยครับ

............................
Stupid Consumer
17 กันยายน 2557

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค