ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางในการตอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมาย

แนวทางในการตอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมาย

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน

                  วิชาที่เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผล (rational) เป็นประการสำคัญ มีการใช้ทั้งเหตุ (causes) มีการใช้ทั้งผล (effects) ในการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้ยัง มีลักษณะเฉพาะของวิชา คือ การมีตัวบทกฎหมายที่แน่นอน ชัดเจน รองรับและสนับสนุนการวิเคราะห์ 
                        ด้วยลักษณะเฉพาะและธรรมชาติของเนื้อหาวิชากฎหมายดังกล่าว ในการวัดผลจึงใช้วิธีการวัดผลด้วยข้อสอบแบบอัตนัย หรือข้อสอบแบบเขียนตอบเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้วิธีการคิด วิธีการวิเคราะห์โดยอาศัยหลักกฎหมายเป็นกรอบอ้างอิง  แต่นื่องจากความไม่คุ้นเคยกับธรรมชาติของวิชากฎหมาย ทำให้นักศึกษาจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการเขียนตอบข้อสอบวิชาที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่น ที่มิใช่นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชานิติศาสตร์โดยตรง มักจะมีข้อสงสัยมีข้อคำถามเกี่ยวกับวิธีการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย ว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง เขียนอย่างไรจึงจะตรงประเด็น เขียนอย่างไรจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์ และเขียนอย่างไรจึงจะได้คะแนนดี ซึ่งในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีชุดวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายโดยตรงชุดวิชาหนึ่งคือ   ชุดวิชา 15307 กฎหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ ซึ่งผู้เขียนเป็นประธานกรรมการกลุ่มผลิตและบริหารชุดวิชานี้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำสาระความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการตอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมาย เพื่อสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา และให้แนวปฏิบัติในการเขียนคำตอบข้อสอบวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายดังที่จะได้อรรถาธิบายดังต่อไปนี้

หลักทั่วไปในการตอบข้อสอบอัตนัยวิชากฎหมาย
1. วิเคราะห์โจทย์ จับประเด็นให้ได้ว่า โจทย์ข้อนี้คือ
(1) เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เช่นเป็นเรื่อง การหมิ่นประมาทผู้อื่น การหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา  
(2) ประเด็นคำถามของโจทย์คืออะไร มีกี่ประเด็น มีประเด็นอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น โจทย์ถามว่า
- การกระทำของนายแดงเข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทอย่างไรบ้าง
- การกระทำของนายแดงถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ เพราะเหตุใด
- การกระทำของนายแดงจะเข้าข่ายได้รับข้อยกเว้นที่ถือว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ เพราะเหตุใด
- นายแดงจะหยิบยกข้อต่อสู้ใดขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อให้พ้นจากความรับผิดตามกฎหมายหมิ่นประมาทได้บ้าง
- นายแดงจะหยิบยกข้อต่อสู้ใดขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อให้พ้นจากการต้องได้รับโทษตามกฎหมายหมิ่นประมาทได้บ้าง
2. คิดถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อค้นหาหัวเรื่องและประเด็นที่โจทย์ถามพบแล้ว ให้นักศึกษาพิจารณาต่อไปว่า ในหัวเรื่องและประเด็นดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายเรื่องใด ตัวอย่างเช่น กฎหมายหมิ่นประมาท กฎหมายหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา การหมิ่นประมาทที่ต้องทำให้ได้รับโทษหนักขึ้น ข้อยกเว้นความรับผิดฐานหมิ่นปะมาท
3. จำแนกหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิด เมื่อเลือกหลักกฎหมายได้มาแล้ว ให้พิจารณาต่อไปว่า หลักกฎหมายนั้น มีหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดอย่างไร มีหลักเกณฑ์กี่ข้อ มีอะไรบ้าง องค์ประกอบแห่งความผิดแบ่งออกเป็น ส่วนคือ
องค์ประกอบภายใน คือ เจตนาของผู้กระทำผิด ตามหลักกฎหมายอาญา บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา (มาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)
องค์ประกอบภายนอก คือ การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตามที่ได้กำหนดไว้ของแต่ละฐานความผิด
ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีองค์ประกอบความผิด ประการดังนี้คือ
1. ผู้ใด
2. ใส่ความ
3. ผู้อื่น
4. ต่อบุคคลที่สาม
5. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
4. เขียนให้สั้น กระชับ รัดกุม เขียนให้ตรงประเด็นที่สุด ไม่เยิ่นเย้อ
5. เขียนตามหลักเหตุผล ไม่ใส่ความรู้สึก หรืออารมณ์ของตนเองลงไป

วิธีการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย
                มีวิธีการเขียนตอบข้อสอบที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ ชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน โดยการแบ่งโครงสร้างการเขียนตอบออกเป็น ส่วนดังนี้
ส่วนแรก วางหลักกฎหมาย เป็นการเขียนหลักกฎหมายของฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในโจทย์ที่ถามไว้
ตัวอย่างวิธีการเขียน
กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ได้วางหลักเกณฑ์อันเป็นองค์ประกอบของความผิดไว้ ประการดังนี้คือ
1. ผู้ใด
2. ใส่ความ
3. ผู้อื่น
4. ต่อบุคคลที่สาม
5. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
พร้อมด้วยองค์ประกอบภายใน คือ กระทำโดยเจตนา
ส่วนที่สอง ปรับข้อเท็จจริงตามอุทธาหรณ์ที่ปรากฏในโจทย์ให้เข้ากับหลักกฎหมาย โดยการอธิบายการกระทำหรือพฤติการณ์ของบุคคลตามที่ระบุในโจทย์ให้เข้ากับหลักกฎหมาย ทุกองค์ประกอบความผิด
ตัวอย่างวิธีการเขียน
1. ผู้ใด ในที่นี้หมายถึงนายแดงผู้พูดส่ความผู้อื่น
2. ใส่ความ การที่นายแดงไปพูดกับบุคคลอื่นว่า นายขาวเป็นมีหนี้สินล้นพ้นตัว เคยจ่ายเช็คให้ตนเองแล้วเช็คเด้ง นอกจากนี้ยังเคยกู้เงินคนอื่นมาหลายรายแล้วไม่ยอมใช้หนี้ รวมทั้งเคยไปกู้เงินธนาคาร ธนาคารก็ไม่ให้กู้เพราะเครดิตไม่ดี การพูดของนายแดงถือได้ว่าเป็นการใส่ความนายขาวให้ได้รับความเสียหาย
3. ผู้อื่น ในที่นี้หมายถึงนายขาวผู้ถูกนายแดงพูดใส่ความ
4. ต่อบุคคลที่สาม ในที่นี้หมายถึงนายดำ นายเขียว นายเหลือง หรือบุคคลใดๆ ที่ได้รับรู้การพูดของนายแดงที่ใส่ความนายขาว
5. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คำพูดที่นายแดงกล่าวว่านายขาวเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว เคยจ่ายเช็คให้ตนเองแล้วเช็คเด้ง นอกจากนี้ยังเคยกู้เงินคนอื่นมาหลายรายแล้วไม่ยอมใช้หนี้ รวมทั้งเคยไปกู้เงินธนาคาร ธนาคารก็ไม่ให้กู้เพราะเครดิตไม่ดี เป็นคำพูดที่น่าจะทำให้นายขาวเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
นอกจากนี้ยังปรากฏว่านายแดงได้กระทำการพูดใส่ความนายขาวต่อผู้อื่นโดยเจตนา
ส่วนที่สาม วินิจฉัย เป็นการลงข้อสรุปตามประเด็นที่โจทย์ตั้งคำถามไว้ โดยการอธิบายการกระทำหรือพฤติการณ์ของบุคคลตามที่ระบุในโจทย์ ซึ่งอาจวินิจฉัยได้หลายลักษณะดังนี้คือ
- เป็นความผิด
- ไม่เป็นความผิด เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามหลักกฎหมาย
- ไม่เป็นความผิด เพราะเข้าข้อยกเว้นความรับผิด
- เป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้ให้ไม่ต้องรับโทษ
ตัวอย่างวิธีการเขียน
จากพฤติกรรมของนายแดงที่พูดใส่ความนายขาวต่อบุคคลที่สาม ทำให้ได้ความเสียหายเสื่มเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ครบองค์ประกอบความผิดตามหลักกฎหมายเรื่องหมิ่นประมาท ดังนั้น นายแดงจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

หมายเหตุ ในการเขียนตอบข้อสอบ นักศึกษาอาจจำเลขมาตราในกฎหมายไม่ได้ ก็ไม่ต้องเขียนลงไป ให้เขียนเพียงแค่ว่า ตามหลักกฎหมายเรื่องการหมิ่นประมาททางอาญา ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ แล้วจึงเขียนอธิบายหลักเกณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบความผิดทีละข้อจนครบทุกข้อ

ผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
                ประธานกรรมการกลุ่มผลิตและบริหารชุดวิชา 
                15307 กฎหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์
                สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วันที่เขียนวันที่ 14 ตุลาคม 2556
วันที่เผยแพร่วันที่ 16 ตุลาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค