ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตลาดข้าวอินทรีย์..อยู่ที่ไหน?


มีคนจำนวนไม่น้อยในประเทศไทย ที่ปลูกข้าวอินทรีย์ 
ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ด้วยศรัทธาแรงกล้า..
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืช..
เหนื่อย ลำบาก อดทน ดูแล ประคบประหงม..

กว่าจะได้ "ข้าวอินทรีย์" ที่สะอาด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพคน ดีต่อสิ่งแวดล้อม..
คำถามคือ ปลูกให้ใครกิน ใครซื้อ ตลาดยู่ที่ไหน?? 




ตลาดข้าวอินทรีย์..!!

ข้าวอินทรีย์ผลิตมาขายใคร?
ความต้องการบริโภคอยู่ที่ไหน?
ใครคือผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ?
ผู้บริโภคคือใคร?
ตลาดอยู่ที่ไหน?

ตลาดข้าวอินทรีย์ แบ่งออกเป็น 11 ตลาดดังนี้
1. ตลาดชุมชน (บริโภคภายในชุมชน) (community market)
2. ตลาดเปิด หรือ ตลาดนัด หรือ กาดนัด (open air market)
3. ตลาดขายตรงสู่ผู้บริโภค (farm to home)
4. ตลาดร้านอาหาร (food shop market)
5. ตลาดองค์กรหรือสถาบัน (institute market) เช่น โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล
6. ตลาดเครือข่าย (network market) เช่น เครือข่ายเพื่อนเกษตรอินทรีย์
7. ตลาดคนรุ่นใหม่ (New Generation) รักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
8. ตลาดชนชั้นกลาง (Middle class) ทั้งชนชั้นกลางเดิม และชนชั้นกลางใหม่ กลุ่มคนที่มีจิตสำนึก
9. ตลาดโมเดิร์นเทรด (modern trade) เช่น Tops Supermarket , Home fresh mart, Foodland, ตลาดริมปิง เชียงใหม่
10. ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พำนักในไทย (Tourist market)
11. ตลาดต่างประเทศ (International market) เช่น ยุโรป อเมริกา แคนาดา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค