ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สาเหตุแห่งการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน

สาเหตุแห่งการทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน

        การทำผิดจริยธรรมของสื่อมวลชน เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ พิจารณาตามสาเหตุได้ดังนี้

        1. ปัจจัยภายใน หมายถึง สาเหตุที่มีที่มาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวิชาชีพสื่อสารมวลชนด้วยกันเอง แบ่งออกเป็น

             (1) ความบกพร่องย่อหย่อนในการควบคุมกันเอง (Self regulation) เกิดความบกพร่องย่อหย่อนเรื่องระบบระเบียบในการควบคุมกันเองด้านจริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน โดยกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เช่น สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน การกำกับดูแลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

             (2) ความบกพร่องย่อหย่อนในการควบคุมตนเอง (Self responsibility) ของตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แบ่งออกเป็นสาเหตุย่อยๆ ดังนี้

                   ก. ความมีอคติ (Bias) ของตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยอคติ 4 ประการได้แก่ ฉันทะ การมีความรักชอบพอเป็นการส่วนตัว โลภะ การมีความโลภในทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง โทสะ การมีความโกรธ และ โมหะ การมีความหลง เช่น หลงในอำนาจของสื่อที่ตนเองคิดว่ามี สามารถสั่งการผู้อื่นได้ สามารถทำให้ผู้อื่นยินยอมตนเองได้ ทั้งการยินยอมทางกายภาพ และการยินยอมทางความคิด

                   ข. ความย่อหย่อนด้านมโนธรรมสำนึก (Conscience) ของตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เช่น ความลุแก่อำนาจ การขาดความสำนึกและขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และประชาชน

                    ค. ความย่อหย่อนด้านศีลธรรม (Morality)  ของตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน

          2.ปัจจัยภายนอก (External factors) หมายถึง สาเหตุที่มีที่มาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภายนอกของวงการสื่อสารมวลชน

             (1) การหยิบยื่นสิ่งสิ่งเร้าและสิ่งล่อใจ อามิส สินจ้าง รางวัล ให้แก่ตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยผู้ให้มุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทน

             (2) การสร้างเสริมและสนับสนุนหลงในอำนาจ เป็นการทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเกิดความรู้สึกหลงในอำนาจ

             (3) การย่อหย่อนในการสอดส่องดูแล (Monitoring) โดยประชาชน และประชาสังคม

             (4) การย่อหย่อนในการตรวจสอบ (Accountability) การทำงานของสื่อมวลชนและห้ตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยประชาชน และประชาสังคม

              (5) สภาพโอกาสเปิดช่องให้กระทำผิดจริยธรรม สภาพโอกาสจากลักษณะการทำงาน จากอำนาจ จากอิทธิพลของสื่อ เปิดโอกาสให้ตัวบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เกิดการทำผิดจริยธรรมได้โดยง่าย

             รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
             23 ตุลาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค