ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โทสวาท (Hate Speech)

โทสวาท (Hate Speech) ในยุคสื่อใหม่..เมื่อ..มนโธรรมตามไม่ทันความเร็วของสื่อ

การที่ผู้ใช้เฟสบุ๊กจำนวนไม่น้อยนิยมใช้ "โทสวาท" (Hate Speech) ในการสื่อสารระหว่าง
ตนเอง-ตนเอง ระหว่างตนเอง-เพื่อน ระว่างตนเอง-มวลชน

บางทีมันอาจ..ไม่ใช้เป็นเพียงแค่นิสัย อุปนิสัย หรือความเคยชินในชีวิตประจำวันเท่านั้น
บางทีมันอาจ..เป็นหลักฐานยืนยันการมีอยู่ของบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่และฝังอยู่ภายใต่ "จิตใต้สำนึก" (Unconscious) ของมนุษย์

เมื่อมีช่องโอกาสเปิดให้ทำได้..โดยเฉพาะการมีสื่อโซเชียลมีเดีย มีทีลักษณะเป็น สื่อปัจเจกมวลชน (Individual-mass) อย่างเช่น Facebook, Blog ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์ใช้เสรีภาพของตนเอง ในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและความรู้สึกได้อย่างกว้างขวาง ในลักษณะ

ทุกคน (anyone) ทุกสถานที่ (anywhere) ทุกเวลา (anytime) และทุกอารมรณ์ (any emotion)

มนุษย์จึงค่อยๆ ปลดปล่อยสิ่งที่ "เก็บกด" ไว้อยู่ภายใต้จิตสำนึกของตนออกมา

ภายหลังจากที่จิตใต้สำนึกถูกควบคุมและพันธนาการด้วย (1) มโนธรรม (2) ศีลธรรม (3) ขนบธรรมเนียม (4) จารีตประเพณี และ (5) กฎหมาย มาอย่างยาวนาน

"โทสวาท" (Hate Speech) เป็นเครื่องมือหรือเป็นกลไกใน "การแสดงออกทางความคิดเห็นที่มี อารมณ์เป็นส่วนประกอบอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างมาก"

"โทสวาท" (Hate Speech) สามารถแสดงออกในรูปแบบของการสบถ บ่น ก่น ด่า เสียดสี ด้วยถ้อยคำเบาๆ ไปจนถึงหนัก

อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการถนอมภาพลักษณ์ที่ดี และความสัมพันธ์ที่ดีในการสื่อสาร  มนุษย์จึงพยายามปิดบังอำพราง ซ่อนเร้น ความรุนแรงทางความรู้สึกของตน โดยการใช้รูปแบบทางภาษามากลบเกลื่อน

ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำเรียกแทนตนเองและบุคคลอื่น

กู..ใช้คำแทนว่า..กรุ กรู กุ
มึง..ใช้คำแทนว่า..มรึง มุง
แม่ง..ใช้คำแทนว่า..แมร่ง

ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำสบถ ก่นด่า

ไอ้สัตว์..ใช้คำแทนว่า..อ้ายสัตว์
ไอ้สัตว์..ใช้คำแทนว่า..แสรด
ถ้าต้องการกล่าวถึงคำว่า ไอ้สัตว์ หลายๆครั้งติดต่อกัน..ก็ใช้คำแทนว่า..แสรดๆๆๆๆๆ

ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำด่า

ไอ้ควาย..ใช้คำแทนว่า..ไอ้ฟราย
ไอ้เหี้ย..ใช้คำแทนว่า..เฮีย หรือ hia หรือ I-hia
อีดอก..ใช้คำแทนว่า..E-dok

โทสวาท (Hate Speech) เหล่านี้เราจะพบได้น้อย ในการสื่่อสารประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มี speed ช้า เพราะ กระบวนการผลิตที่ช้า ทำให้มนุษย์มีเวลาขบคิด ไตร่ตรอง เมื่อนั้น กลไกทางจิตวิทยาและกลไกทางจะเข้ามาควบคุมจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของเรา ให้แสดงออกทางความคิดเห็นและความรู้สึกที่ "เบาลง"
และคำนึงถึงสอดคล้องเหมาะสมกับธรรมชาติของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีสภาพ "ความคงอยู่" ที่ยาวนานกว่าสื่อประเภทกระจายเสียงแพร่ภาพอย่างวิทยุและโทรทัศน์

โทสวาท (Hate Speech) เรากลับพบได้อย่างมากมายดาษดื่น ในการสื่่อสารประเภทสื่อประเภทสื่อใหม่ ในลักษณะของสื่อโซเชียลมีเดีย ในรูปแบบสื่อ Blog, Facebook, Instragram ซึ่งเป็นสื่อที่มี speed เร็วมาก เร็วชนิดที่ว่า หากคิดจะสื่อสาร คุณสามารถ "สื่อสารได้ไวเท่าความคิด" คิดปั๊บส่งปุ๊บ จะวิพากษ์วิจารณ์สิ่งใดทำได้ทันที จะด่าใครด่าได้ทันที

ด้วย speed ที่เร็วนี่เอง มนุษย์จึงสื่อสารออกไป โดยที่ "มโนธรรมทำงานไม่ทัน"

มนุษย์ส่งสารออกไปแล้ว หลังจากนั้น มโนธรรมของมนุษย์จึงตามมาถึง

เพราะ "สาร" นั้นได้ถูก "อ่าน" (read) ในชั่วพริบตา
เพราะ "สาร" นั้นได้ถูก "แบ่งปัน" (share) กระจายออกไปในวงกว้าง ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
เพราะ "สาร" นั้นได้ถูก "บันทึก" (store) ในรูปแบบดิจิทัลมีเดีย (digital media) ในหน่วยความจำของระบบ
                    อินเทอร์เน็ตทันที่ที่คุณส่งมันออกไปในโลกออนไลน์

มนุษย์จึงไม่สามารถแก้ตัวว่าไม่ได้ตั้งใจ
มนุษย์จึงไม่สามารถแก้ไขการสื่อสารนั้นได้ทันเวลา
มนุษย์ทำได้แค่เพียงการ "อรรถาธิบาย" ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร จริงๆ แล้ว มนุษย์ต้องการสื่อสารอะไรซึ่งช่วยอะไรไม่ได้มากนัก เนื่องด้วย..มันช้าเกินการณ์ และสายเกินแก้

เพราะผู้รับสารเชื่อไปแล้ว เพราะสังคมเชื่อไปแล้ว ว่าสิ่งที่มนุษย์สื่อสารออกไปนั้น
- มาจากความตั้งใจในการสื่อสาร
- มาจากความคิดและความรู้สึกที่แท้จริง
- มาจากจิตสำนึกที่รู้ตัวอยู่ในขณะที่ทำการสื่อสาร

โทสวาท (Hate Speech) จึงเป็นเครื่องแสดงออกถึงการสื่อสารได้ทั้ง 2 ลักษณะคือ
1. การสื่อสารโดยพลั้งเผลอ เพราะขาดมโนธรรมควบคุม
2. การสื่อสารโดยตั้งใจ เพราะจิตใต้สำนึก มีอยู่อย่างนั้น คิดอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา

จิตสำนึก ความระลึกรู้ ของผู้คนสมัยนี้ตามไม่ทัน ความเร็วของสื่อ
แต่ที่สำคัญคือ "จิตใต้สำนึก" ที่เรามีอยู่

เราได้ปลูกสร้างอะไรไว้ในจิตใต้สำนึกของเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

หากเราปลูกสร้าง..ความดี ความงาม ความรัก ความเมตตา..ผลที่แสดงออกแม้ว่าจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็ไม่มีทางเป็นอื่น นอกจาก..ความดี ความงาม ความรัก และความเมตตา ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์

แต่ถ้าหากเราปลูกสร้างเพาะบ่ม..ความก้าวร้าว ความรุนแรง และความเกลียดชัง..ผลที่แสดงออกก็ไม่อาจเป็นอื่นไปได้ นอกจาก..ความก้าวร้าว ความรุนแรง และความเกลียดชัง..ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์

โทสวาท (Hate Speech) จึงเป็น การสื่อสารจากจิตใต้สำนึก ที่แสดงออกผ่านสื่่อ ที่ทำการสื่อสารระหว่างตนเองกับผู้อื่น และระหว่างตนเองกับสังคม

โทสวาท (Hate Speech) เป็นเพียงรูปแบบการแสดงออกบางประการของจิตใต้สำนึกของมนุษย์ หาใช่สิ่งที่เลื่อนลอย แต่มันมีรากฐานรองรับอยู่อย่างแน่นหนา ภายใต้จิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
20 ตุลาคม 2556



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค