ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ข่าวกลบข่าว.ยุทธวิธีทางการเมืองเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ

ข่าวกลบข่าว.ยุทธวิธีทางการเมืองเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ


ในทางการสื่อสาร..ผู้คนสงสัยว่าผู้มีอำนาจรัฐเขาทำอย่างนี้จริงหรือ ?


จากประสบการณ์ตรงที่ผมเคยผ่านมา..ผมเชื่อว่าจริง..


"การปล่อยข่าว"..เป็นยุทธวิธีการสื่อสาร..ที่ใช้มาตลอด..เรื่องแล้ว เรื่องเล่า..ปล่อยมาครั้งใด จะเกิดกระแสมวลชนโลกโซเชียลมีเดีย..ลุกขึ้นมาต้าน..การต้านเป็นเรื่องไม่ผิด มันเป็นสิทธิ์โดยสมบูรณ์..แต่มันได้ผลกระทบข้างเคียง..คือลดกระแสความสนใจของสังคมที่ควรจะมีต่อ "ประเด็นหลัก" ที่สังคมควรจะมี ตัวอย่างเช่น กรณีตำรวจนครบาลออกมาแถลงข่าวเรื่อง มีแนวคิดจะเสนอนโยบายห้ามรถยนตร์อายุ 7-10 ปี เข้ามาวิ่งในเขต กทม. เรื่องนี้แถลงโดย รองผบช.น.คนหนึ่ง การให้บุคคลระดับนี้ออกมาแถลงข่าวเองแปลว่า "เป็นเรื่องสำคัญ" และ "เป็นเรื่องใหญ่". แต่ที่น่าสนใจคือ ช่วงเวลาที่กำลังมีการแถลงข่าว เป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองสองเรื่อง การประชุมสภาในวาระที่สำคัญมากๆ และการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่รายล้อมทำเนียบรัฐบาลอยู่ และก็ได้ผล "ปลากินเบ็ด"เพียงไม่กรี่ชั่วโมงให้หลัง เกิดกระแสต่อต้านในโลกโซเชียลมีเดียหลายหมื่นคน จนเกิดการทำเพจต่อต้าย..เรื่องนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่า "การสร้างข่าวใหม่" เพื่อกลบข่าวปัจจุบัน และเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน เป็นเรื่องจริง!!


อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก น่ารำคาญ..เพราะมันมี "คนคิดแบบนี้จริงๆ" โดยเฉพาะทีมงาน Political Communication Task Force..ของฝ่ายอำนาจรัฐ คิดทุุกวัน วางแผนทุกวัน ดำเนินงานทุกวัน


ในโลกการสื่อสารการเมือง..ไม่มีข่าวสารอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่มี "การออกแบบ" (Design) แม้กระทั่งชุดแต่งกายและทรงผมของท่านผู้นำรัฐบาลก็ต้องออกแบบ เพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพให้สัมพันธ์กับ "ตำแหน่ง" และ "อำนาจ" 


สถานที่ที่จะต้องเดินทางไป ไปแล้วจะได้พบกับใคร จะอุ้มเด็กตรงไหน กอดเด็ก รักเด็กอย่างไร จะค้อมตัวลงไปหาคุณยายวัย 80 ปีอย่างไร ล้วนมีการจัดเตรียม (จัดฉาก) ไว้ล่วงหน้า จริงอยู่ที่ส่วนมากอาจจะเป็นการพบเจอโดยบังเอิญแต่ที่แน่ๆ "ส่วนหนึ่ง" มีการออกแบบเตรียมการไว้..เราจะสังเกตเห็นว่าหลายเรื่องมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 


การสื่อสารการเมือง คือ การวางแผน การออกแบบ การดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองเสมอ


รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
15 ตุลาคม 2556

หมายเหตุ 
1. นี่เป็นความเชื่อส่วนตัว สุดแท้แต่ท่านจะพิจารณา
2. ภาพที่นำมาแสดงประกอบเป็นเพียงส่วนเสี้ยวหนึ่งของการทำคงามเข้าใจเท่านนั้น มิได้ต่อต้านขัดขวาง ตรงกันข้าม ผมกลับสนับสนุนการคัดค้านครั้งนี้ เพราะผมก็รักวิชานาฏศิลป์เช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค