ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การต่อสู้ทางการเมือง 9 รูปแบบ..ในยุคสมัยแห่งความก้าวหน้าของสื่ออินเทอร์เน็ต และยุคแห่งความตื่นตัวของประชาชน

การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาชนกลุ่มที่คัดค้านต่อต้านการกระทำที่เห็นว่าไม่ถูกต้องของรัฐ..กับฝ่ายรัฐ
ในปัจจุบัน จำแนกเป็น 9 รูปแบบคือ

1. การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ เช่น การใช้ธงชาติไทยทั้งสีและรูปแบบ การใช้สีฟ้า การใช้สีแดง การใช้สีเหลือง การใช้วัตถุเป็นสัญลักษณ์ เช่น การติดธงที่หน้าบ้านหรือที่รถ การติดโบว์สีขาวสัญลัษณ์ต่อต้านความรุนแรงที่เสื้อของนายกรัฐมนตรี การใช้นกหวีดทั้งรูปภาพ สี และเสียงนกหวีด

2. การต่อสู้ช่วงชิงมวลชน เป็นการช่วงชิงทางอารมณ์และความรู้สึก ผ่านการตั้งประเด็นร่วมทางการเมืองและสังคม เช่น การเปิดประเด็นทางการเมืองคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยใช้สื่อเป็นช่องทางในการให้การเรียนรู้ การกล่อมเกลาจิตใจ การโน้มน้าวใจ

3.การต่อสู้ช่วงชิงพื้นที่สื่อ เป็นการแย่งชิงความสนใจของสื่อมวลชน ให้หันมาสนใจในประเด็นของฝ่ายตนเอง หันมารายงานข่าว ให้พื้นที่ (space) ในการนำเสนอข่าวมากกว่า ให้เวลา (time) ในการนำเสนอข่าวมากกว่า การต่อสู้ช่วงชิงพื้นที่สื่้อ มีลักษณะเป็นการต่อสู้เชิงการสื่อสาร ทั้งการสื่อสารมวลชน สื่อออน์ไลน์ และสื่อโซเชียลมีเดีย

ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการต่อสู้แบบนี้มีเพียงประการเดียวคือ "การยึดครองความคิดของประชาชน" โดยอาศัยสื่อมวลชนและสื่อต่่างๆ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร แนวคิดนี้เป็นแนวคิดดั้งเดิมของ อันโตนิโย กรัมชี่  (Antonio Gramsci) นักคิดคนสำคัญของอิตาลี

ในภาคปฏิบัติการต่อสู้ช่วงชิงพื้นที่สื่อ กระทำได้ 3 ลักษณะวิธีคือ
วิธีที่ 1 การสร้างความสนใจด้วยประเด็นข่าว ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เปิดประเด็นข่าว ปล่อยข่าว ข่าวหลุด ข่าวรั่ว
วิธีที่ 2 การเข้าถึงบรรณาธิการข่าวและคอลัมน์นิสต์ที่ทรงอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน
วิธีที่ 3 การซื้อพื้นที่สื่อ

4. การต่อสู้ด้วยการชุมนุมทางการเมือง เป็นการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง หรือหลายๆสถานที่ ในพื้นที่เดียวกัน (common place) เวลาเดียวกัน (common time) ด้วยประเด็นเดียวกัน (common issues)

5. การต่อสู้ด้วยมวลชนทั้งกำลังคนและอาวุธนอกระบบกฎหมาย เช่น กองกำลังไม่ทราบฝ่าย กลุ่มชายชุดดำ

6. การต่อสู้ด้วยอำนาจรัฐในระบบกฎหมาย โดยการใชอำนาจทางตำรวจ อำนาจทางทหาร โดยอาศัยกฎหมายเป็นเครื่ิองมืิอ เจ้าหน้าที่รัฐเป็นกลไกการทำงาน เช่น การใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง การประกาศพื้นที่ความมั่นคง

7. การต่อสู้ในสภาฯ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

8. การต่อสู้โดยเครือข่ายประชาสังคม (civil network) เป็นการรวมตัวของบุคคล แบ่งออกเป็น การรวมตัวเชิงกลุ่มวิชาชีพหรือกลุ่มอาชีพ (professional-based) การรวมตัวเชิงประเด็น (issues-based) มีการทำงานเป็นระบบ มีการประสานงาน มีการติดต่อกัน มีการเชื่อมโยงกันอย่างแน่นเหนียว ทำให้เกิดพลังของมาก เมื่อกลุ่มแต่ละกลุ่มที่เข้มแข็งหลายๆ กลุ่ม มารวมตัวกัน เกิดเป็นเครือข่าย (network) เชื่อมโยงกัน มีการทำกิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน ตัวอย่างเช่น เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหลายๆ อาชีพมารวมตัวกันเป็นเครือข่าย กลุ่มนักธุรกิจสีลม กลุ่มนักธุรกิจราชประสงค์ กลุ่มนักธุรกิจสุขุมวิท กลุ่มนักธุรกิจสยามสแควร์ กลุ่มนักธุรกิจ ประตูน้ำ อาจมารวมตัวกันเป็นเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคมในประเด็นที่พวกเขามีความเห็นสอดคล้องกัน

9. การต่อสู้โดยเครือข่ายประชาสังคมออนไลน์ (civil online network) เป็นการรวมตัวกันของเป็นเครือข่ายของกลุ่มบุคคลที่ใช้สื่อออนไลน์ สื่อินเทอร์เน็ต สื่อโซเชียลมีเดีย โดยการรวมกลุ่มมักเกิดจากการมีความสนใจร่วมกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน การมีประเด็นร่วมกัน การมีความคิดเห็นสอดคล้องกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Change http://www.change.org/th

ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบ

การต่อสู้ทั้ง 9 รูปแบบนี้มีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบร่วมกัน 5 องค์ประกอบดังนี้คือ

1. กลุ่มประชาชน (people) หมายถึง กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกัน ซึ่งมีทั้งการรวมตัวกันแบบเผชิญหน้า และการรวมตัวกันผ่านสื่อและการสื่อสาร

2. ประเด็น (issues) หมายถึง สิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระ เป็นแก่นสาร แห่งความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ที่มีอยู่ร่วมกัน

3. พื้นที่ (sphere) หมายถึง พื้นที่ซึ่่งกลุ่มคนใช้เป็นแหล่ง เป็นช่้องทาง เป็นสถานที่ ให้เกิดการรวมตัวกันได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรก พื้นที่ทางกายภาพ (physical space) เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่ผู้คนเดินทางมาพบกันมารวมตัวกันได้จริง ลักษณะที่สอง พื้นที่ในสื่อ (media space) ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งผู้คนสามารถติดต่อ ส่งข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เช่น สื่ออินเทอร์เน็ต

4. การสื่อสาร (communication) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึี่ง

5. การกระทำทางสังคม (social action) หมายถึง การลงมือกระทำ การเคลื่อนไหว การทำกิจกรรมของมนุษย์ที่ติดต่อสัมพันธ์กัน ซึ่งอาจเป็นการกระทำร่วมกัน กระทำต่อกัน กระทำระหว่างกัน ทั้งการกระทำโดยตรงแบบเผชิญหน้า และการกระทำผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง

รศ.ณัฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
14 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค