ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการเชื้อโรคแห่งความชั่วร้าย..เพื่อการปฏิรูปประเทศ

การจัดการเชื้อโรคแห่งความชั่วร้าย..เพื่อการปฏิรูปประเทศ

การต่อสู้กับรัฐให้ห้วงเวลานี้

เราไม่ควร
เราไม่ควร..จะหยุดเพียงแค่การกำจัดคนชั่วออกไป..เท่านั้น
เราไม่ควร..จะหยุดเพียงแค่กำจัดระบบที่ชั่วออกไป..เท่านั้น

เพราะ
เพราะ.."ความชั่ว" มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ มันสามารถเกิด เจริญเติบโต ขยายพันธ์ ออกไปได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา ภายใต้การเพาะเลี้ยงโดย "จิตใจมนุษย์" อันมี "กิเลส" เป็น "หัวเชื้ออาหาร"

ทางแก้ไข 
ทางแก้ไข คือ เราต้องควบคุม "ต้นเหตุ" ของเชื้อโรค และ "สภาพแวดล้อม" ที่หล่อเลี้ยง เร่งเร้า ให้เชื้อโรคเจริญเติบโต

ในระดับจุลภาค คือ การควบคุมปัจเจกบุคคล มนุษย์แต่ละคนให้มั่นคงในศีลธรรมและคุณธรรม

ในระดับมหภาค คือ การควบคุมสภาพแวดล้อม ที่เป็น "เงื่อนไข" และ "ปัจจัย" ที่มีอยู่ในกระบวนการ ให้อยู่ในระดับที่สมดุลย์และเหมาะสม เพียงพอเท่าที่ "เชื้อโรค" ไม่สามารถขยายพันธ์ออกไปทำร้ายชีวิตผู้คนและสังคมได้

เพราะอะไร?
วันนี้ ถึงแม้เราจะสามารถกำจัด "คนที่เราคิดว่าชั่ว" ออกไปได้จากอำนาจรัฐ จนถึงกำจัดออกไปจากประเทศไทยได้สำเร็จ

แต่ก็จะมี "คนที่เราคิดว่าชั่ว" เกิดขึ้นมาอีก
และบางที อาจจะมี "คนที่เราไม่เคยคิดว่าจะชั่ว..แต่มาชั่วภายหลัง" เกิดขึ้นมาอีกอย่างคาดไม่ถึง

เพราะเชื้อโรคแห่งความชั่วร้ายยังคงมีชีวิตอยู่ในร่างกายมนุษย์ในสังคม และกระจายตัวอยู่ในทุกแห่งหนของสังคม

พิจารณาวิเคราะห์ปัญหา

ลองพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้

กระแสคัดค้านต่อสู้บนท้องถนนทุกวันนี้ เราจะเห็นว่า คงดำเนินไปเพียงเฉพาะบางกลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล กลุ่มนักการเมืองที่สูญเสียประโยชน์  กลุ่มนายทุนที่สูญเสียประโยชน์ กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มชนชั้นสูง กลุ่มชนชั้นกลางในเมือง กลุ่มนักคิดระดับชนชั้นนำในสังคม

แต่เราไม่เห็น 
เรามองไม่เห็นการมีส่วนร่วมจาก

1. กลุ่มเกษตรกร" ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ที่เป็นประชาชนภาคส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศ ทั้งๆ ที่เราหยิบยกเอาปัญหาของกลุ่มเกษตรกร เช่น เรื่องการ "จำนำข้าว" มาเป็นข้ออ้างในการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาล

2. กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นกำลังการผลิตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

3. กลุ่มชาวบ้านในชนบท ที่เป็นประชาชนทำงานบ้าน ทำงานรับจ้างทั่วไป

4. กลุ่มสตรี ซึ่งกำลังมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของประเทศ

ทั้งอาจเป็นเพราะ
เรามองปัญหาในมิติทางการเมือง..เพียงด้านเดียว

เราไม่ได้มองปัญหาในมิติความไม่เป็นธรรม..ที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตรและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม เช่น  เช่น การถูกกดราคาสินค้าด้วยเงื่อนไขทางการตลาด สินค้าล้นตลาด การวัดความชื้นของข้าวเปลือก

เราไม่ได้มองปัญหาในมิติความไม่เสมอภาค..ที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตรและภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม เช่น การถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากทุน นายทุน ระบบการค้าแบบผูกขาด

ที่เรามองไม่เห็น หรือ ไม่ได้คิด
อาจเป็นเพราะ..เรา..อาจเป็นส่วนหนึ่งของ "ฝ่ายกระทำ" คือ ฝ่ายนายทุน ฝ่ายชนชั้นนำ ฝ่ายชนชั้นกลางที่เอารัดเอาเปรียบสังคมเสียเอง

หากเรามองปัญหาพื้นฐานที่มีสาเหตุร่วมกัน คือ
1. ความไม่เป็นธรรม
2. การขาดโอกาสในการเข้าถึง
3. การขาดโอกาสในการมีส่วนร่วม
4. การขาดโอกาสในการสร้างความร่วมมือ

หากเรามองปัญหาดังว่าแล้ว..บางทีเราอาจจะมองเห็น เข้าใจ มีความรู้สึกร่วม เห็นอกเห็นใจ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงงาน กลุ่มสตรี และภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม
........................................................................................................
การต่อสู้ที่นำโดย
การต่อสู้ที่นำโดยกลุ่มที่มีกำลังอำนาจเป็นทุน ทั้งด้าน ความรู้ ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ สถานภาพทางสังคม และฐานะทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1. กลุ่มการเมืองชั้นนำ
2. กลุ่มชนชั้นนำทางความคิด
3. กลุ่มชนชั้นนำในสังคม
4. กลุ่มชนชั้นกลางในเมือง
5. กลุ่มนายทุนระดับกลาง
6. กลุ่มนายทุนที่เกื้อหนุนอยู่เบื้องหลัง

วิธีการต่อสู้
การต่อสู้..โดยตนเอง
การต่อสู้..โดยอาศัยพลังการชักนำทางความคิด พลังชักนำทางสังคม พลังชักนำทางเศรษฐกิจ นำพากลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มสตรี กลุ่มชาวบ้านในชนบท ให้เข้ามา "มีส่วนร่วมแบบปลอมๆ" ในฐานะ "ผู้ตาม"

การต่อสู้แบบนี้
จึงเป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว ภายใต้การนำของชนชั้นนำทางการเมือง และชนชั้นนำทางสังคม

เป็นการต่อสู้ที่ขาด
1. ความเข้าใจในความรู้สึกที่ได้รับความไม่เป็นธรรม
2. การเปิดโอกาสในการเข้าถึง
3. การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วม
4. การเปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือ

แนวทางแก้ปัญหา

แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้แบบยั่งยืน นำไปสู่การปฏิรูปประเทศที่แท้จริง
ไม่ใช่การล้มฝ่ายศัตรู ไม่ใช่การเข่นฆ่าศัตรู

หากแต่จะต้องสร้างมิตร
- มิตรในการร่วมต่อสู้
- มิตรในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา
- มิตรในการร่วมมือกันพัฒนา

แนวทางแก้ปัญหา คือ 
- สร้างเงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการป้องกันเชื้อโรค
- การควบคุมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันเชื้อโรค
- การควบคุมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความเข้มแข็งของมนุษย์

โดยการ
สร้างเงื่อนไขและปัจจัยที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่สามารถ
- ขจัดความไม่เป็นธรรม..ของภาคประชาชน
- ขจัดการขวางกั้นโอกาสในการเข้าถึง..ของภาคประชาชน
- ขจัดการขวางกั้นโอกาสในการสร้างความร่วมมือ..ของภาคประชาชน

รูปแบบวิธีการ

1. การมีส่วนร่วม (participation) การสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ นอกเหนือไปจากกลุ่มชนชั้นนำทางสังคมที่กำลังดำเนินการนำอยู่ในเวลานี้ ได้แก่การสร้างการมีส่วนร่วม ในกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มชาวบ้านในชนบท กลุ่มสตรี

2. ความร่วมมือ (collaboration) การสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนอย่างจริงจัง ทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มชาวบ้านในชนบท กลุ่มสตรี ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประเทศ มากไปกว่าการมีส่วนร่วมครั้งเดียวจบ แต่เป็นการสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของความร่วมมือ
1. ความร่วมมือในการแก้ปัญหา
    (1) มอบอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา
          เป็นการมอบอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา ในบางเรื่องที่ไม่ใชแต่ไม่ใช่ปัญหาในระดับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของประเทศ แต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประชาชนโดยตรงในพื้นที่หรือชุมชนนั้น
    (2) มอบงบประมาณในการแก้ปัญหา
          เป็นการมอบอำนาจในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนั้นในขอบเขตจำนวนเงินที่เหมาะสม
    (3) มอบทรัพยากรในการแก้ปัญหา
         เป็นการมอบทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา หรือการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหาให้มีไว้ใช้ร่วมกัน เช่น เครื่องจักรทางการเกษตร เครื่องสูบน้ำป้องกันน้ำท่วม

2. ความร่วมมือในการพัฒนา
    (1) ให้ภาคประชาชนร่วมกันกำหนดความต้องการในการพัฒนา
    (2) ให้ภาคประชาชนร่วมกันกำหนดแนวทางและวิธีการในการพัฒนา
    (3) ให้ภาคประชาชนลงมือดำเนินงานในการพัฒนา

การที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ
การที่จะทำให้เกิดความร่วมมือเช่นว่านั้นได้จะต้องมีการส่งเสริม สนับสนุน
1. การสร้างกลุ่ม สร้างเครือข่าย (Network)
2. การสร้างการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ (Connectivity) เช่น การประชุมประชาคม การประชุมเครือข่าย
3. การสนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณบางส่วน (Support)
4. การสร้างและส่งเสริมผู้นำความเปลี่ยนแปลง (Leader)

หมายเหตุ ต้องขออภัยด้วยครับ ขออนุญาตพักไว้แค่นี้ก่อนเนื่องจากมีเวลาจำกัด ผู้เขียนจะมาเขียนอธิบายนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้นต่อไปในเวลาอันใกล้นี้

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
16 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค