ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทฤษฎีไก่ในเข่ง..ไม่ใช่เรื่องใหม่ !! ทางออก..ต้องกว้างไกลมากกว่า การหนีออกมาจากเข่ง

ทฤษฎีไก่ในเข่ง..ไม่ใช่เรื่องใหม่ !!

ทฤษฎีไก่ในเข่ง ที่ นายแพทย์ประเวศ วะสี เสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2544 อธิบายว่า ไก่หลายตัวอยู่ในเข่งใบเดียวกันที่ถูกขังรวมกันไว้เพื่อรอเอาไปเชือด บรรดาไก่ต่างทะเลาะเบาะแว้งกัน แย่งกันกินข้าวเปลือก แย่งชิงอาหารที่เขาหยิบยื่นเลี้ยงให้อ้วนพี รอวันนำไปขาย และถูกเชือดตายในที่สุด แม้อิ่มหนำอ้วนพีแล้ว ยังแย่งชิงความเป็นใหญ่ ทะเลาะ จิกตีกันเอง จนบาดเจ็บล้มตายทั้งคู่ และในที่สุดก็ถูกคนเลี้ยงไก่นำไปเชือดตายทั้งหมดทุกตัว

เปรียบเสมือนสังคมไทย ที่ประชาชนทะเลาะกัน แย่งชิงผลประโยชน์กัน ทำร้ายกันเอง เข่นฆ่ากันเอง ผลสุดท้ายก็บาดเจ็บล้มตาย ประเทศชาติเสียหายบอบช้ำ จึงมีข้อเสนอเป็นทางออกของปัญหาว่า ให้ไก่เลิกทะเลาะกัน ให้ไก่หันมาสามัคคีกัน ให้ไก่พร้อมใจกันบินขึ้นสู่อากาศอย่างพร้อมเพรียงกัน ก็จะบินทะลุฝาเข่งหลุดออกมาสู่อิสรภาพได้ นั่นคือให้คนไทยเลิกทะเลาะกัน หันมาสามัคคีกัน หันมาร่วมมือกัน พร้อมใจกันแก้ปัญหา ก็จะสามารถผ่านวิกฤติการณ์ร้ายแรงไปได้



ทฤษฎีและแนวความคิดนี้ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่เป็นทฤษฎีและแนวความคิดที่มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกร้อง) กำลังจะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตร แต่ติดปัญหาเรื่อง ปปช. (ผู้ร้อง) ไต่สวนความผิด ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ..จนในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติให้ฝ่ายผู้ถูกร้องชนะไปเพียงแค่คะแนนเสียงเดียว และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น

การที่ใครบางคนบางกลุ่ม หยิบยกเอาทฤษฎีไก่ในเข่งมาอธิบายเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ โดยเปรียบเปรยว่า คนไนไทยทะเลาะกัน คนไทยไม่สามัคคีกัน จะทำให้ชาติบ้านเมืองเสียหาย ขอให้ยุติทุกสิ่งทุกอย่าง เลิกทะเลาะกัน แล้วหันหน้ามาจับมือกันพัฒนาประเทศดีกว่า

เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า..
เป็นคนละประเด็นกัน..
พฤติการณ์ต่างกัน..
เงื่อนไขแตกต่างกัน..
บริบททางสังคมต่างกัน..

ไม่สามารถนำมาใช้แบบเดียวกันได้
การวิเคราะห์โดยหยิบยกทฤษฎีไก่ในเข่ง หรือทฤษฎีอะไรก็ตามมาอธิบาย

ต้องเข้าใจประเด็น..
ต้องเข้าใจพฤติการณ์แห่งการกระทำ..
ความร้ายแรงแห่งผลของการกระทำ..
ผลกระทบและความเสียหายต่อโครงสร้างสังคมโดยรวม..
จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ..
เจตนาของผู้กระทำ..
ความสำนึกผิดในการกระทำ..
ความพยายามในการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำ..

การอธิบายอย่างง่ายๆ สรุปอย่างง่ายๆ ที่ขาดหลักคิด ขาดหลักวิเคราะห์ ขาดหลักเหตุผลมารองรับ
ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้..ซ้ำร้ายยังชักชวนให้ผู้อื่น "หลงประเด็น" ตามไปด้วย

นี่เป็น..วิธีการคิดที่อันตราย ยิ่งกว่าไม่คิด !!



"ทางออก"..ตามข้อเสนอของทฤษฎีไก่ในเข่ง

ไม่ใช่อยู่เพียงแค่ "หนี" ออกมาจากเข่งให้ได้ก็พอ

แต่ "ทางออก" ควรจะต้อง..
1. แก้ไขโครงสร้างสังคมให้บังเกิดความถูกต้องตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม
2. แก้ไขโครงสร้างสังคมให้บังเกิดความเป็นธรรม (หากไม่เป็นธรรม ผู้คนจะยังคงขัดแย้งกันต่อไป)
3. กระจายอำนาจลงสู่ฐานของประชาชนให้มากที่สุด เพียงเท่าที่รัฐจะรักษาความมั่นคง ความสงลเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของส่วนรวมไว้ได้
4. สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (accountability) ในการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคประชาชน
5. เร่งพัฒนาการศึกษา ให้ประชาชนพลเมืองมีความรู้ มีความเข้าใจ ในเรื่องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้เข้าใจ
6. ส่งเสริมและธำรงรักษาหลัก "คุณธรรม" ให้คงอยู่ในทุกมิติของสังคม

การหนี..อาจทำให้รอดชีวิตได้
แต่ไม่อาจ..ทำให้มีชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

เพราะ..หากคิดแค่เพียง "หนี"
ก็ต้อง "หนี" ไปตลอดทั้งชีวิต

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
13 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค