ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวคิดในการปฏิรูปประเทศไทยในทัศนะของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี..แบบย่อยทีละประเด็น

แนวคิดในการปฏิรูปประเทศไทยในทัศนะของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี..แบบย่อยทีละประเด็น..ควรอ่าน สะสมต้นทุนความรู้ไว้ใช้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น !!

มีบางคนไถ่ถาม ถากถาง เยาะเย้ย เสียดสี ดูแคลน ความคิดในการปฏิรูปประเทศ ว่าจะทำได้จริงหรือ? และจะทำอย่างไร?..เพื่อให้เรามีต้นทุนความรู้ เพื่อให้มีฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพื่อการขยายโลกทัศน์ในเรื่องนี้..ผมขอนำบทสัมภาษณ์ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 มาย่อยทีละประเด็นเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประเทศ ดังต่อไปนี้

"สาเหตุของปัญหา"
สาเหตุของปัญหาคือ "การรวมศูนย์อำนาจ"

ปัญหาความวุ่นวายในประเทศนั้นเรื้อรังมานาน และที่ผ่านมาเราแก้ไขปัญหากันไม่ได้ ตั้งแต่การเกิดระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี 2475 หรือ 81 ปีมาแล้ว ซึ่งแนวทางในการแก้ไขนั้น จะต้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องหลักใหญ่ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะที่นำมาสู่วิกฤตประเทศอย่างที่เป็นอยู่ กรณีการปรับโครงสร้างอำนาจ ซึ่งปัจจุบันเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เป็นต้นตอของปัญหาร้อยแปด โดยเฉพาะความขัดแย้ง

เพราะการรวมศูนย์อำนาจทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจ

"ทางแก้ปัญหา"
ทางแก้ปัญหาทำได้โดย "การปฏิรูปประเทศ"

การปฏิรูปประเทศ แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก

การปฏิรูปเรื่องที่ 1 คือ "การกระจายโครงสร้างอำนาจ"
ทางแก้ปัญหาด้วยการการปฏิรูปประเทศเรื่องที่ 1 คือต้องมีการกระจายโครงสร้างอำนาจ คืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อปกครองกันเอง อย่างเช่นการกระจายอำนาจไปยังจังหวัด ท้องถิ่น โดยรัฐบาล หรือฝ่ายค้านมีหน้าที่ในการสนับสนุนทางนโยบายหรือทางวิชาการ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติได้ การเมืองก็จะดีขึ้น เพราะเมื่อไม่มีอำนาจที่ส่วนกลางก็จะไม่มีแรงจูงใจให้ต่อสู้ขัดแย้ง

“หากยังคงโครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ความขัดแย้งก็จะไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อใครชนะก็จะกินรวบทั้งประเทศ ถือเป็นสิ่งจูงใจ แต่หากกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ก็จะเป็นการตัดแรงจูงใจลง อย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะมีการกระจายอำนาจ มีปัญหาการต่อสู้แย่งชิงอำนาจเช่นกัน แต่หลักปฏิรูปกระจายอำนาจ ปัญหาก็หมดไป บ้านเมืองก็เดินไปได้”

"ใครสามารถแก้ปัญหาได้"
 รัฐบาลชุดไหนก็ทำไม่ได้ นอกจาก "ประชาชน"
ศ.นพ.ประเวศ บอกว่า แต่การจะเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างอำนาจนั้น รัฐบาลชุดไหนก็ทำไม่ได้ นอกจากประชาชน

"วิธีการแก้ปัญหาจะทำอย่างไร"
วิธีการแก้ปัญหาต้อง "ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมประชาชน" ให้เกิดขึ้น
ต้องส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมประชาชนให้เกิดขึ้น และให้เป็นผู้นำปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโจทย์แก้ปัญหา เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าใครจะแพ้หรือชนะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นประชาชนเองจึงเป็นทางออก และนำไปสู่การปฏิรูปประเทศ

"แนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา"
แนวปฏิบัติในการแก้ปัญหา คือ "การเปิดการเจรจาให้ทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุย"
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นขณะนี้ ควรมีการเปิดการเจรจา ให้ทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุย เพื่อไม่ให้นำเหตุการณ์ไปสู่กลียุค หรือ ให้มีการทำปฏิญญาประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายมาลงนามร่วมกัน ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย หากไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ก็จะเกิดขึ้นซ้ำซากอีก

"รูปแบบควรเป็นอย่างไร"
รูปแบบควรเป็นการรวมตัวกันเป็น “คณะกรรมการประสานงานปฏิรูปประเทศไทย”
ส่วนการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งจะเริ่มอย่างไร ศ.นพ.ประเวศ บอกว่า ตอนนี้มีหลายฝ่ายที่พูดถึงตรงนี้ และองค์กรต่างๆ น่าจะมีการรวมตัวกัน เรียกเป็น “คณะกรรมการประสานงานปฏิรูปประเทศไทย” และช่วยทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วม เรียกว่า

"บทบาทหน้าที่ควรเป็นอย่างไร"
บทบาทหน้าที่ควร "เปลี่ยนการต่อสู้ ความขัดแย้ง ให้เป็นความร่วมมือแทน"
เปลี่ยนการต่อสู้ ความขัดแย้ง ให้เป็นความร่วมมือแทน และต้องปรับมุมมอง ซึ่งไม่ใช่มุ่งมองว่าใครผิดหรือถูก เพราะต่างมีหลายมุมมอง หลายแง่มุม และหากมุ่งแต่จะชี้ว่าใครผิดถูกก็จะเกิดความขัดแย้งกันอีก แม้แต่เรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้จึงเป็นเรื่องความเสียสละ ว่าใครจะเสียสละอะไรได้บ้างเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง และมุ่งไปสู่กับจัดการปฏิรูปประเทศไทย

"การปฏิรูปประเทศเรื่องที่ 2"
ทางแก้ปัญหาด้วยการการปฏิรูปประเทศเรื่องที่ 2 คือ การต่อต้านและปราบการทุจริตคอร์รัปชัน
ศ.นพ.ประเวศ บอกด้วยว่า นอกจากการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจแล้ว ที่ต้องปฏิรูปแน่นอนคือการคอร์รัปชัน เพราะเป็นเรื่องที่คนมีความรู้สึกกันมาก แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็ยังนิยามให้กับประเทศไทยว่า เป็นประเทศที่มีการทุจริตและคตโกง ซึ่งหากแก้ปัญหานี้ได้จะทำให้คนรู้สึกดีขึ้น จึงต้องร่วมกันเพื่อต่อต้านและปราบการทุจริตคอร์รัปชัน

"การต่อต้านและปราบการทุจริตคอร์รัปชัน มีวิธีการทำอย่างไร"
การต่อต้านและปราบการทุจริตคอร์รัปชันทำได้โดยอาจให้มีการลงนามเซ็นสัญญาสุจริต หรือจัดตั้งองค์กรเพื่อเข้าตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้รัฐบาลสามารถอยู่ได้

"การปฏิรูปประเทศเรื่องที่ 3"
ทางแก้ปัญหาด้วยการการปฏิรูปประเทศเรื่องที่ 3 คือ "การปฏิรูปความยากจน"
การปฏิรูปความยากจน ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องแก้ไขให้ได้ แต่ไม่ใช่แก้ด้วยการใช้นโยบายประชานิยม เพราะจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้จริง

ซึ่งการปฏิรูปความยากจน อาทิ การปฏิรูปที่ดิน โดยให้ทุกครอบครัวมีที่ดินทำกิน จะทำให้ประชาชนหายจน สามารถเลี้ยงปลาหรือปลูกผักได้ และทำอาชีพอื่นประกอบ ต่างจากการทำนโยบายประชานิยมที่ทุกรัฐบาลหมดเงินไปมาก เรียกว่าเป็นการปฏิรูปโครงสร้างจัดสรรทรัพยากร

"เงื่อนไขในการปฏิรูป"
ทำไมที่ผ่านมาทำไม่ได้ เพราะ การปฏิรูปต้องมีเงื่อนไข 2 อย่าง
เงื่อนไขอย่างแรกคือ"ต้องให้ประชาชนเป็นผู้ปฏิรูป
ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หรือ คปร. ได้เคยเสนอ 4 แนวทางปฏิรูปประเทศ ศ.นพ.ประเวศ ยอมรับว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปอำนาจ ทรัพยากร ไม่ว่าใครก็ทำไม่ได้ ซึ่งนอกจากต้องใช้เวลาแล้ว ต้องให้ประชาชนเป็นผู้ปฏิรูป ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก แต่จากการเกิดวิกฤตินี้ เชื่อว่าจะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจมากขึ้น

เงื่อนไขอย่างที่สอง คือ "ต้องมีกระแส"
“การปฏิรูปต้องมีกระแส และตอนนี้กระแสกำลังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งสื่อมวลชนต้องช่วยกันสื่อสารและทำความเข้าใจ และหันมาดูว่าประเทศไทยควรมีการปฏิรูปอะไรบ้าง ต้องให้ช่วยกันคิด และจะทำให้การทะเลาะกันลดลง แต่เกิดกระแสความร่วมมือแทน โดยอาจให้กลุ่มต่างๆ จากทุกภาคส่วน ส่งตัวแทนเข้ามาประชุม หรือเรียกว่า สภาประชาชน เพื่อเครื่องมือให้คนทั้งประเทศทำงานร่วมกันได้”

"ปัญหาวิกฤติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้จะยุติลงเมื่อใด"
หากเข้าใจก็ใช้เวลาไม่นาน ปัญหาตอนนี้เหมือนกระดานหกที่สามารถพลิกได้ทันที
ส่วนการแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ เพราะขณะนี้สังคมมีความขัดแย้งที่รุนแรง ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า หากเข้าใจก็ใช้เวลาไม่นาน ปัญหาตอนนี้เหมือนกระดานหกที่สามารถพลิกได้ทันที หากหันมาร่วมมือกัน ตอนนี้เป็นวิกฤตที่ถือเป็นโอกาสที่จะทำการปฏิรูปเพื่อแก้ความขัดแย้งได้ ต้องไม่ใช้ความรุนแรง เน้นการเจรจาเพื่อดึงไปสู่การปฏิรูปประเทศ

"พลังอำนาจในการพัฒนาประเทศ"
พลังอำนาจในการกัฒนาประเทศ แบ่งเป็น 3 ปัจจัย คือ รัฎฐานุภาพ ธนานุภาพ และ สังคมานุภาพ
ศ.นพ.ประเวศ กล่าวทิ้งท้ายว่า การเคลื่อนของอำนาจในการพัฒนาประเทศมีปัจจัย 3 ส่วน คือ พลังอำนาจรัฐ หรือที่เรียกว่า "รัฎฐานุภาพ" พลังอำนาจเงิน หรือที่เรียกว่า “ธนานุภาพ” และพลังสังคม หรือที่เรียกว่า "สังคมานุภาพ" แต่ที่ผ่านมาจะติดอยู่ที่พลังอำนาจสองส่วนแรก ทั้งที่ควรให้น้ำหนักพลังสังคม ที่จะนำไปสู่สังคมที่เสมอกัน ลดความขัดแย้ง

ขอบคุณแหล่งข้อมูล CR กรุงเทพธุรกิจ การเมือง :วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 09:59

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค