ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สื่อและการสื่อสาร..เสมือน..ลมหายใจของผู้คน

ความสำคัญอย่างยิ่งของสื่อและการสื่ิอสาร..!!

ทุกท่านคิดเห็นตรงกันหรือใกล้เคียงกันไหมว่า ในภาวะที่ประเทศกำลังมีปัญหาวิกฤติทางการเมืองเช่นนี้ "สื่อและการสื่ิอสาร" เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นดั่ง "ลมหายใจ" ของคนส่วนใหญ่เลยทีเดียว 

ในสภาวะที่เกิดวิกฤติ ผู้คนต่างต้องการ รู้ข่าวสาร ต้องการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น ต้องการแสวงหาข่าวสารที่ตนสนใจ อยากรู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกๆ ชั่วโมง และทุกๆนาที

สื่อและการสื่อสาร นี้จะขาดหายไปไม่ได้เลย แม้เพียง 1 ชั่วโมง และแม้เพียงแค่ 10 นาทีก็หายไปไม่ได้

ท่านลองคิดถึงสภาพเหตุการณ์วันหนึ่งคือ วันที่ท่าน update version ของเฟซบุ๊ก    6.7.2 แล้วเกิดความผิดพลาดของระบบ ทำให้ท่านไม่สามารถใชเฟซบุ๊ก 4-6 ชั่วโมง วันนั้นท่านอึดอัดเพียงใด ท่านคับข้องใจเพียงใด ท่านต้องการให้การสื่อสารกลับมาใช้ได้เหมือนเดิมโดยเร็วที่สุด..จริงไหม และเมื่อพยายามอยู่เป็นชั่วโมง มันก็ยังใช้ไม่ได้ ท่านรีบไปหา "สื่ออื่น" มาชดเชยทันทีใช่หรือไม่? บางท่านหันไปหาทวิตเตอร์ ! บางท่านหันไปหา YouTube ! บางท่านหันไปหาเว็บไซต์ !บางท่านหันไปหาสื่อวิทยุ หรือโทรทัศน์ !

เราไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปราศจาก "สื่อและการสื่อสาร" ได้..แม้เพียง 1 ชั่วโมง..แม้เพียง 10 นาที หรือแม้เพียงแค่ 1 นาที..ใช่หรือไม่?

อาจจะมีบ้างที่ประชาชนบางส่วนในชีวิตประจำวันของเขาไม่ต้องพึ่งพาสื่อเพื่อแสวงหาข่าวสาร แต่ก็ยังต้องพึ่งพาสื่อและการสื่อสารเพื่อความบันเทิง..ไม่เว้นแม้แต่เพียงวันเดียว

เมื่อสื่อและการสื่อสารสำคัญถึงเพียงนี้ แม้ไม่เรียนนิเทศศาสตร์ในสถาบันการศึกษาโดยตรง แต่ท่านก็ได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งการสื่อสาร ด้วยตัวของท่านเองทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านทางสื่อที่เลือกรับ ผ่านทางสารและเรื่องราวที่ท่านรับรู้ ผ่านประสบการณ์และโลกทัศน์ของท่านอยู่ทุกวันทุกเวลา

สิ่งสำคัญที่เราจะต้องมีคือ
1. รู้จักเลือกสื่อด้วยความชาญฉลาด
2. รู้จักเลือกรับสารด้วยความชาญฉลาด
3. รู้เท่าทันสื่อ
4. สร้างสื่อของตัวเองให้เป็น
5. สร้างสารของตัวเองให้ป็น
6. สื่อสารย่างชาญฉลาด
7. รู้เท่าทันตนเอง 

การรู้เท่าทันสื่อเป็นเรื่องสำคัญมากก็จริง
แต่การรู้เท่าทันตนเองกลับสำคัญยิ่งกว่า

เราต้องรู้ว่าเราเป็นใคร มีจุดหมายอย่างไร ชีวิตนี้ต้องการอะไร มีเป้าหมายอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไรคือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราควรจะทำอะไร เราไม่ควรทำอะไร 

อะไรคือสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำในช่วงที่ยังมีความสามารถกระทำ มีโอกาสกระทำ และจิตใจยังมีคุณธรรมมีมโนธรรมสำนึก

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
22 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค