ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความชอบธรรมในการครองอำนาจ: สิ่งที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้ หรือ ไม่อยากอยู่ในอำนาจอีกต่อไป

ความชอบธรรมในการครองอำนาจ

เงื่อนไขเรื่อง "ความชอบธรรม" (Legitimacy) เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของ "การดำรงอยู่" หรือ "การพังทลาย" ของความเป็นรัฐบาลในห้วงเวลานี้

ความชอบธรรม" (Legitimacy) อาจพิจารณาใน 3 ลักษณะคือ

1. ความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจ
    พลเมืองยินยอมพร้อมใจที่จะสละเสรีภาพบางส่วนเพื่อยกให้รัฐใช้อำนาจปกครอง พิจารณาในกรณีนี้รัฐบาลมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุเพราะได้อำนาจรัฐมาตามระบบการเมืองการปกครองอย่างถูกต้องจากฎหมายและกติกาของสังคม ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ด้วยความพร้อมใจของพลเมืองส่วนใหญ่ที่เลือกท่านเข้ามาเป็นรัฐบาล

2. ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ
    การใช้อำนาจนอกจากจะต้องเป็นความชอบธรรมตามหลักกฎหมาย (Legality) อันหมายถึง มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้แล้ว ยังหมายรวมถึงความถูกต้องชอบธรรมตามแบบแผนสังคมค่านิยม (norms and values) และมโนธรรมสำนึกร่วมที่มีอยู่ในสังคมนั้นด้วย นอกจากนี้การใช้อำนาจที่มีความชอบธรรม ยังจะต้องเป็นการใช้อำนาจเพื่อส่วนรวม (public) เป็นหลัก มิใช่การใช้อำนาจเพื่อส่วนตน ญาติพี่น้อง และพวกพ้อง หากพิจารณาจากการกระทำของฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมา สร้างความสงสัยเคลือบแคลงใจแก่พลเมืองอยู่มิใช่น้อย ตัวอย่างเช่น โครงการจำนำข้าว โครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้าน เมื่อมีการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมที่เป็นการลบล้างความผิดทางอาญาแผ่นดินที่ร้ายแรง แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ใช่การริเริ่มของรัฐบาลโดยตรง แแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เต็มปากว่ารัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง ดังข้อเท็จจริงจากการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า รัฐบาลมีแนวคิดจะออกกฎหมายโดยตราเป็นพระราชกำหนด ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร แม้ว่ารัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารจะมีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำเช่นนั้นได้ แต่อาจมีปัญหาว่าการกระทำเช่นนั้นจะขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อแผนแผนสังคมและค่านิยม รวมทั้งฝ่าฝืนต่อมโนธรรมสำนึกหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผู้คนในของสังคม (conscience) ตลอดจนยังเป็นที่สงสัยว่าการออกกฎหมายนี้เป็นการออกกฎหมายเพื่อส่วนรวมจริงๆ หรือเป็นการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือบุคคลบางคนบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จึงเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการใช้อำนาจเสียแล้ว

3. ความชอบธรรมในการครองอำนาจ
    ความชอบธรรมในการครองอำนาจ ซึ่งเกิดจากการได้รับสิทธิอำนาจในการปกครองเชิงบารมี (charismatic authority) ความชอบธรรมข้อนี้เกิดจาก การให้การยอมรับของประชาชนต่อการปกครองนั้น (consent of the governed) เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏเชิงรูปธรรมในสังคม ที่มีประชาชนจำนวนหลายแสนคนออกมาชุนนุมประท้วงบนท้องถนน ประชาชนหลายแสนคนออกมาเป่านกหวีดแสดงสัญลักษณ์ของการคัดค้าน มหาวิทยาลัยอันประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหลายสิบแห่งออกมาคัดค้าน กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลทั่วประเทศไทยหลายแสนคนออกมาคัดค้าน การคัดค้านซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกันในห้วงเวลาเดียวกัน ประเด็นของการคัดค้านเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่ยอมรับการกระทำของนักการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมือง ไม่ยอมรับการกระทำของรัฐมีมีแนวคิดจะออกกฎหมายลบล้างความผิด เมื่อพิจารณาในส่วนนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ

    ในบรรดาความชอบธรรม 3 เรื่องหลัก รัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมอยู่ 2 เรื่องคือ ความชอบธรรมในการใช้อำนาจ และ ความชอบธรรมในการครองอำนาจ

     ถ้าจะพูดตามหลักการก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลมีปัญหาความชอบธรรมทั้งสองเรื่องดังกล่าว

     แต่จะว่าไปแล้ว..ปัญหาความชอบธรรมที่หนักที่สุด กลับมีน้ำหนักมากที่สุดเพียงเรื่องเดียวคือ คือ ปัญหาความชอบธรรมในการครองอำนาจ อันเกิดจาก "การไม่ยอมรับของประชาชน" หลายล้านคน

     การไม่ยอมรับของ "มวลมหาประชาชนหลายล้านคน" ในประเทศไทย เปรียบเสมือนคลื่นสึนามิขนาดยักษ์ที่มีพลานุภาพมหาศาล ถาโถมเข้าใส่รัฐบาลที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนี้

     รัฐบาลจะอยู่ในอำนาจต่อไปหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น !!
   
     แต่รัฐบาลจะอยู่อย่างชอบธรรมหรือไม่ เป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่า !!
   
     ปัญหา ความชอบธรรม (Legitimacy) นี่แหละจะเป็นสิ่่งที่ทำให้ รัฐบาล "อยู่ไม่ได้" เพราะมีประชาชนพลเมืองต่อต้านจำนวนมากมายมหาศาล ขณะเดียวกันปัญหาความชอบธรรมนี่เอง  ที่อาจทำให้รัฐบาล "ไม่อยากอยู่" ในอำนาจอีกต่อไป

      เพราะถึงแม้จะตั้งมั่นเป็นรัฐบาลอยู่ได้ ก็จะอยู่อย่างทุกข์ใจแสนสาหัส !!

      รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน        
      10 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค