ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จดหมายถึงอากำนัน

เรื่อง ภาคเกษตรกร..กับ..การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ

เรียน อากำนัน ที่นับถือ

        ผมชื่นชมอากำนันมากครับ ผมชื่นชมในความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่ยึดติด ไม่ลังเล พร้อมที่จะเอาตัวเองเข้าเสี่ยง เพื่อต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ต่อสู้กับระบบชั่วร้ายที่ครอบงำประเทศของเรามานาน

        แนวร่วมการขจัดระบอบทักษิณและการปฏิรูปประเทศ ที่อากำนันขับเคลื่อนคราวนี้ช่าง "มหัศจรรย์" จริงๆ ผู้คนหลากหลายกลุ่มเข้าร่วมอย่างเปิดเผย ทั้งกลุ่ม (1) กลุ่มนักการเมือง (2) กลุ่มนักธุรกิจ (3) นักศึกษา (4) อาจารย์/นักวิชาการ (5) นักกฎหมาย (6) นักรัฐศาสตร์ (7) พนักงานรัฐวิสาหกิจ (8) ข้าราชการ (9) พ่อค้าแม่ค้า (10) ผู้ใช้แรงงาน (11) กลุ่ม SME (12) กลุ่มศิลปินดารา

        ด้วยความเคารพครับ.."อากำนัน"..ถ้าจะให้ Completed จริงๆ กระผมอยากเห็นการมีส่วนร่วมจาก "ภาคเกษตรกร" ในฐานะที่เป็น "พลังการผลิตสำคัญที่สุด" ของประเทศนี้ อาหารทุกอย่างที่เราบริโภคและส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมหาศาล ล้วนมาจากพลัง หยาดเหงื่อ และแรงงาน ของเกษตรกร

        ที่ผ่านมาฝ่ายการเมืองอาศัยฐานเสียงของเกษตรกร ปีนขึ้นบันไดไปสู่การครองอำนาจ แล้วหลงลืมทิ้งเกษตกรไว้ที่เบื้องล่าง ให้ลำบากยากเข็ญเหมือนเดิม

        การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่นี้ ผมจึงอยากให้ภาคเกษตรกร "มีโอกาส มีส่วนร่วม และมีบทบาท" ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อย่างชัดเจน แบบมากันเป็นกลุ่ม มากันเป็นเครือข่าย มีตัวแทน มีแกนนำ มีพื้นที่และเวลาเพียงพอที่จะให้เขา "มีส่วนร่วม ได้แสดงออกถึงปัญหา แนวคิด และวิธีการจากความคิด ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของเขา"

        จริงอยู่..ที่บางครั้งบางคราว มีคุณประสิทธิ์ เฉยพ่วง นายกสมาคมชาวนาไทย มาขึ้นเวทีปราศรัย แต่นั่นยังไม่เพียงพอ ยังไม่ใช่การมีส่วนร่วมของภาคเกษตรกรอย่างแท้จริง

        จริงอยู่..ที่ในกลุ่มผู้ชุมนุมนับล้าน มีเกษตรกรรวมอยู่ด้วยนับแสน..แต่นั่นเป็นเพียงบทบาทในฐานะ "ผู้ร่วมชุมนุม" เท่านั้น พวกเขายังมิได้ "มีส่วนร่วม" ตาม "ตำแหน่ง สถานภาพ และภูมิปัญญา" ของพวกเขาเลย

        เป็นไปได้ไหมครับ "อากำนัน" ที่จะเริ่มเสียแต่เดี๋ยวนี้ ที่เราจะดึงภาคเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงประเทศตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ให้เขาได้มาพูด มาแสดงออก มากิน มานอน มาร่วมทุกข์ ร่วมสุข กับคณะปฏิรูปประเทศ ตัวเขาเองก็จะได้ มีโอกาส มีพื้นที่ มีเวลา มีความรู้สึกภาคภูมิใจในการลงมือเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยมือของเขาเอง เหมือนกับที่เขาไถนา ดำนา และเกี่ยวข้าวแต่ละรวงด้วยมือของเขา

ผมฝันที่จะเห็น "การมีส่วนร่วมของภาคเกษตรกร" ในการ "ปฏิรูปประเทศไทย" ครั้งมโหฬารนี้ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ด้วยการเดินทางไปพร้อมๆ กันเสียตั้งแต่บัดนี้

นอกจาก "ความมหัศจรรย์" ที่เกิดขึ้นใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งมีผู้คนกว่า 2 ล้านคนเข้ามาร่วมขับไล่ระบอบที่ชั่วร้าย และมาร่วมปฏิรูปประเทศกับอากำนันแล้ว

        หากการณ์ครั้งนี้ จะมีภาคเกษตรกร "เข้าร่วมสู้ศึก" ด้วย มันจะเป็นการปฏิรูปประเทศที่ "ยิ่งใหญ่" และ "มหัศจรรย์ที่สุดในประวัติศาสตร์" ครับ

        ผมคิดถึงอากำนัน ผมเป็นห่วงอากำนันมาก ขออำนาจคุณพระ และอำนาจแห่งบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่คุณอาได้สร้างสม จงปกป้องคุ้มครองให้อากำนันแคล้วคลาดจากตำรวจ ปลอดภัยจากแก๊สน้ำตา ระเบิดปิงปอง และประทัดยักษ์ เพราะผมอยากเห็นอากำนันทำงานได้สำเร็จตามความฝันอันสูงส่งของอากำนัน คนไทยก็จะได้ประโยชน์ ประเทศชาติก็จะได้ประโยชน์

        ผมขอภาวนาขอให้คนไทยตื่นตัวกันมากๆ สนใจ สนับสนุน และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเทศร่วมกับอากำนันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

        รักและนับถืออากำนันครับ

        หลานณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
        27 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค