ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว

1. ความเหมือนระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว

วิชาชีพนักกฎหมาย กับ นักข่าว..มีความเหมือนกันตรงที่..ทั้งนักกฎหมายและนักข่าว ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ให้ข้อมูลความเป็นจริงทั้งสองด้าน อย่างปราศจากอคติ ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน ไม่ปิดบังความจริง

2. ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว

วิชาชีพนักกฎหมาย กับ นักข่าว..แตกต่างกันตรงที่..นักกฎหมาย สามารถอธิบาย แสดงความเห็น วิเคราะห์ วินิจฉัย ลงความเห็น ชี้ผิดชี้ถูก ตัดสินการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดได้ ตามหลักกฎหมายและหลักเหตุผล แต่นักข่าวหาได้มีอำนาจหน้าที่ทั้งหมดเช่นว่านั้น

นักข่าวมีหน้าที่เพียงอธิบายให้ข้อเท็จจริง วิเคราะห์ข้อเท็จจริง นำเสนอข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนลงไปในเนื้อข่าว ไม่สามารถลงความเห็น ไม่สามารถชี้ผิดชี้ถูก และไม่สามารถตัดสินการกระทำของผู้หนึ่งผู้ใดได้

3. ความพ้องกันของวิชาชีพนักฎหมาย กับ นักข่าวคือ "เป้าหมาย" และ "ปลายทาง"

เป้าหมายของนักกฎหมาย คือ "ความยุติธรรมในสังคม" ปลายทางก็คือ "ทำให้สังคมสงบสุข"

เป้าหมายของนักข่าว คือ "การเปิดเผยความจริง การทำความจริงให้ปรากฏ" ปลายทางก็คือ "ทำให้สังคมสงบสุข"

4. ความร่วมกันระหว่างวิชาชีพ นักกฎหมาย กับ นักข่าว

สิ่งสำคัญที่ทั้งวิชาชาชีพนักกฎหมายและนักข่าว ควรจะต้องมีเหมือนกันคือ

"คุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ"

นำวิชาชีพไปรับใช้ช่วยเหลือคนดี คนทุกข์ยาก
นำวิชาชีพไปใช้เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

ไม่นำวิชาชีพไปใช้ในทางที่ผิด
ไม่นำวิชาชีพไปรับใช้คนเลว คนชั่ว

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
21 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค