ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ค่ำคืนแห่งความคับแค้น 26 พ.ย. 56

ค่ำคืนแห่งความคับแค้น 26 พ.ย. 56

        ขณะที่คนนับหมื่นที่่กระทรวงการคัลง คนนับแสนนับล้านที่กำลังชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมผ่านบลูสกายและทีนิวส์ กำลังใจจดใกำลังใจจดใจจ่ออยู่กับ การฟังการปราศรัยของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กระทรวงการคลัง ช่วงหัวค่ำประมาณ 2 ทุ่มเศษของค่ำคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556

        คำปราศรัยของคุณสุเทพสะกดผู้ฟังที่อยู่ในเหตุการณ์ และผู้ชมโทรทัศน์ทางบ้าน ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการต่อสู้ของการชุมนุมทางการเมือง โดยนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศ 6 ข้อ..ทั้งเนื้อหาและลีลาของคุณสุเทพมั่นใจได้ว่า ต้องเร้าใจ และตราตรึงผู้ฟังให้ติดตามฟังอย่างใจจดใจจ่อ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังจริงๆ

        เนื้อหาที่สร้างความระทึกใจให้แก่ผู้ชุมนุมที่อยู่ที่กระทรวงการคลัง และผู้ชมที่อยู่ทางบ้าน นั่นก็คือ การได้ข่าวมาว่า ตำรวจนับพันนับหมื่นจะบุกเข้าจับกุมตัวคุณสุเทพ และสลายการชุมนุมที่กระทรวงการคลัง ภายในคืนนี้ ขอให้ประชาชนระมัดระวังตัวและเตรียมรับมือ พร้อมกับให้คำแนะนำแนวปฏิบัติหากตำรวจบุกเข้ามาจริงๆ เนื้อหานี้สร้างความตื่นตกใจให้กับประชาชนผู้ชุมนุมมากพอสมควร เหตุการณ์นี้มีความเป็นไปได้สูงที่ตำรวจอาจจะเข้าจับกุมตัวคุณสุเทพและสลายการชุมนุม เพราะหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อไปจนถึงวันรุ่งขึ้น (27 พฤศจิกายน 2556) ฝ่ายรัฐบาลอาจจะไม่สามารถควบคุมและแก้ปัญหาได้

        แต่เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งที่เป็น "ตัวเร่งปฏิกิริยา" คือ ช่วงที่คุณสุเทพพูดว่า "..ผมได้รับแจ้งข่าวมาว่าตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่มัฆวานแล้ว.."

        ผมรีบเช็คข่าวจาก Facebook ที่ผมมีเครือข่ายอยู่ พบว่า มีเพื่อนคนหนึ่งโพสต์ข้อความว่า "ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่สะพานมัฆวาน" พร้อมคำประนาม และอีกหลายๆ คนได้แชร์ข้อความออกไป

        ผมวกกลับไปเช็คข่าวจาก Twitter ที่ผมมีเครือข่ายอยู่ พบว่า มีภาพข่าวและเนื้อข่าวเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้



                        ภาพข่าวภาพแรก ภาพข่าวจาก Satien viriya@satien_nna
                        เนื้อข่าว "ปาระเบิดปองปองใส่ ตร. แยกมัฆวาน !! แกนนำม็อบยันไม่ใช่ผู้ชุมนุม"   

                        เผยแพร่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เวลาประมาณ 21.30 น.
                        (ผู้เขียนขออนุญาตใช้ภาพเพื่อการเรียนรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพ)



                          ภาพข่าวภาพที่สอง ภาพข่าวจาก Satien viriya@satien_nna
                          เนื้อข่าว "อีกภาพจากที่เกิดเหตุ"

                          เผยแพร่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เวลาประมาณ 21.30 น.
                          (ผู้เขียนขออนุญาตใช้ภาพเพื่อการเรียนรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพ)

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้

     > เกิดเหตุเสียดังคล้ายระเบิด พร้อมกลุ่มควันขนาดใหญ่ > ผู้ชุมนุม/ผู้สื่อข่าวได้ยินเสียงและเห็นกลุ่มควัน ผู้ชุมนุมบางคนส่งเสียงเอะอะ > ผู้ชุมนุม/ผู้สื่อข่าววิ่งไปดูที่เกิดเหตุ >

     หลังจากนั้น การแพร่กระจายของข่าวสารก็แยกกันเดินไปตามเส้นทางที่เป็นไปได้ดังนี้

เส้นทางข่าวเส้นที่ 1 ผู้สื่อข่าวถ่ายภาพเหตุการณ์ และหาข่าว > ผู้สื่อข่าวเขียนข่าวสั้นส่งทาง Twitter > ประชาชนผู้ใช้สื่อ Twitter ที่เป็นเครือข่าย Retweet ข่าวนั้น

          >> ประชาชนบางคนได้รับรู้ข่าวนั้นแล้วนิ่งเฉยเสีย
          >> ประชาชนผู้ใช้สื่อ Facebook ที่พบเห็นข่าวนี้แล้ว นำไปโพสต์ต่อใน Facebook
          >> สื่อมวลชนวิทยุ/โทรทัศน์ นำข่าวไปเผยแพร่ต่อในรายการข่าวสั้น และรายการเล่าข่าว

เส้นทางข่าวเส้นที่ 2 ประชาชนผู้รู้เห็นเหตุการณ์โพสต์ภาพและเขียนเนื้อความสั้นๆ ใน Facebook >                 >> เพื่อนเฟซบุ๊กกดไลค์
          >> เพื่อนในเฟซบุ๊กเขียน comment
          >> เพื่อนเฟซบุ๊ก share ข่าวใน Facebook ออกไปยังเพื่อนๆในเฟซบุ๊กของตนเอง

เส้นทางข่าวเส้นที่ 3 ประชาชนผู้รู้เห็นเหตุการณ์โทรศัพท์มือถือไปหาเพื่อน
          >> เพื่อนรู้ข่าวแล้วนิ่งเฉยเสีย
          >> เพื่อนกระจายข่าวต่อไปยังเพื่อนๆ ของตนเอง ครอบครัว และคนรู้จัก
         >> เพื่อนของเพื่อนบางคนฟังแล้วนิ่งเฉยเสีย
          >> เพื่อนของเพื่อนบางคนโพสต์ข้อความที่ได้ยินได้ฟังต่อใน Facebook
          >> เพื่อนที่พบเห็นข่าวนี้ นำไปเผยแพร่ต่อใน Facebook
                >>> เพื่อนเฟซบุ๊กกดไลค์
                >>> เพื่อนในเฟซบุ๊กเขียน comment
                >>> เพื่อนเฟซบุ๊ก share ข่าวใน Facebook ออกไปยังเพื่อนๆในเฟซบุ๊กของตนเอง

        ที่นำเสนอเป็นเพียงการจำลองภาพการเดินทางของ "เหตุการณ์" ไปเป็น "ข้อเท็จจริง" ไปเป็น "ข่าว" และไปเป็น "ข่าวลือ"

        อันที่จริงเส้นทางข่าวอาจมีมากกว่านี้ หลากหลายกว่านี้ แต่ประเด็นของบทความนี้อยู่ที่ "การเกิดและการเดินทางของข่าวลือ"

จากการติดตามข่าวเราจะพบลำดับเหตุการณ์ดังนี้

> เกิดเหตุเสียดังคล้ายระเบิด พร้อมกลุ่มควันขนาดใหญ่
> เกิดการตีความว่าเป็นเสียงของอะไร? ซึ่งมีทางเลือกที่เป็นไปได้อยู่ 4 ทาง คือ
        1. ประทัดยักษ์
        2. ระเบิดปิงปอง
        3. แก๊สน้ำตา
        4. เอ็ม 79

      ในระยะเวลาอันสั้น ไม่มีเวลามากพอที่จะตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ว่าจริงๆ แล้ว มันเป็นวัตถุระเบิดชนิดใด ในที่นี้ผู้สื่อข่าวตีความว่าเป็น "เสียงระเบิดปิงปอง" ซึ่ง้อมูลเชิงสันนิษฐานด้วยประสบการณ์ของบางคนที่พอรู้และลงความเห็นว่ามันเป็น "ระเบิดปิงปอง"
       > ผู้สื่อข่าวนำเสนอข่าวใน Twitter ว่าเป็น "ระเบิดปิงปอง"
       > ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางคนเอาไปเขียนว่าเป็น "แก๊สน้ำตา"
       > คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ พูดกับผู้ชุมนุมและโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสดว่า ได้ข่าวว่าตำรวจยิง "แก๊สน้ำตา"

มันมีความหมาย ความสำคัญ และผลกระทบแตกต่างกันมากนะครับ

ถ้ามันเป็น "ระเบิดปิงปอง" มันหมายความได้ 4 แบบ คือ

         > ผู้ชุมนุมปาระเบิดปิงปองเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
         > ตำรวจปาระเบิดปิงปองเข้าใส่ผู้ชุมนุม
         > ผู้ไม่หวังดีปาระเบิดปิงปองเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
         > ผู้ไม่หวังดีปาระเบิดปิงปองเข้าใส่ผู้ชุมนุม

         ผู้ชุมนุมมีโอกาส "ตกเป็นผู้ร้าย" ในสายตาของสื่อมวลชน ประชาชน และรัฐบาล

แต่ถ้า..มันเป็น "แก๊สน้ำตา"

        มันมีความหมายได้แบบเดียวคือ ตำรวจเป็นคนยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม 

        ไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ชุมนุมยิงแก๊สน้ำตาใส่ตำรวจ
เพราะข้อสันนิษฐานว่าผู้ชุมนุมไม่มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าและมีไว้ในความครอบครองซึ่งแก๊สน้ำตา
เพราะฉะนั้นต้องเป็น "ตำรวจ" แน่ๆ ที่เป็นฝ่ายยิง

ผลกระทบ
        ถ้าตำรวจเป็นฝ่ายยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม มันจะเกิดผลกระทบที่ตามมา 2 ลักษณะคือ

        1. เจ้าหน้าที่ตำรวจ "ใช้ความรุนแรง" กับประชาชน
        2. ผู้ชุมนุมจะตีความไปได้ว่าตำรวจกำลังจะเข้า "สลายการชุมนุม" ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เกิดผลกระทบตามมาอย่างรุนแรงคือ
               > ผู้ชุมนุมเกิดความแตกตื่น
               > ผู้ชุมนุมเกิดความตกใจ
               > ผู้ชุมนุมบางส่วนเสียขวัญหาทางหลบหนีออกจากสถานที่ซึ่งเป็นอันตราย
               > ผู้ชุมนุมที่โกรธแค้นเตรียมปักหลักต่อสู้    
               > ฝ่ายการ์ดของผู้ชุมนุมเตรียมพร้อมรบกับตำรวจ



ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นตามมาแล้วจริงๆ คือ
       1. คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศระดมพลจากทางบ้านให้ออกมาร่วมกันต่อสู้ที่กระทรวงการคลัง ออกมาให้มากที่สุด
       2. พิธีกรและทีมงานเวทีราชดำเนินระดมผู้คนและรถยนต์นับร้อยคันเดินทางจากเวทีราชดำเนินมาที่กระทรวงการคลัง เอารถยนต์รายล้อมเป็นเกราะป้องกันคนที่อยู่ในกระทรวง เป้าหมายหลักคือ ป้องกันมิให้ตำรวจเข้าไปจับกุมตัวคุณสุเทพ
       3. กลุ่มผู้ชุมนุม คปท. ประกาศจะยกกำลังมาช่วย หากตำรวจจะบุกเข้าจับตัวคุณสุเทพ และสลายการชุมนุม
       4. ผู้ชมรายการถ่ายทอดสดทางบ้านที่มีใจสนับสนุนการชุมนุมและห่วงใยคุณสุเทพ ห่วงใยพี่น้องและเพื่อนที่กระทรวงการคลัง เดินทางออกจากบ้านมาเป็นจำนวนมาก ทั้งคนทั้งรถ เพื่อช่วยเหลือ  

        นี่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนของข้อมูลข่าวสาร
จากคำว่า "ระเบิดปิงปอง" กลายเป็น "แก๊สน้ำตา"

        จริงอยู่ว่าถึงแม้จะไม่มีเหตุการสื่อสารคลาดเคลื่อนเรื่อง "แก๊สน้ำตา" จนเกิดข่าวลือดังกล่าว ประชาชนก็จะยังคงออกมาช่วยคุณสุเทพต่อสู้กับระบอบทักษิณอยู่ดี ก็จริงอยู่

        แต่เหตุการณ์จะแตกต่างกัน นั้นคือ ประชาชนจะเดินทางออกมากันในวันพรุ่งนี้ 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา 9.00 น. ตามคำประกาศของเวทีราชดำเนินที่แจ้งให้ออกมาช่วยกันปฏิับัติการเชิงรุกในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ไม่ใช่ กลางดึกของคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556



        งานนี้ ข่าวที่คลาดเคลื่อน กับ ข่าวลือ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นเร้าผู้คนที่มาชุมนุมทั้งที่กระทรวงการคลัง ทั้งที่เวทีราชดำเนิน ทั้งที่เวทีมัฆวาน และเวทีผ่านฟ้า รวมตลอดถึงประชาชนที่บ้าน ที่พากันออกมาด้วยจิตใจพลุ่ใพล่านด้วยความเป็นห่วงและความคับแค้นใจ

         งานนี้ "ข่าวจริง" "ข่าวที่คลาดเคลื่อน" และ "ข่าวลือ" มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นเร้าผู้คนที่มาชุมนุมทั้งที่กระทรวงการคลัง ทั้งที่เวทีราชดำเนิน ทั้งที่เวทีมัฆวาน และเวทีผ่านฟ้า รวมตลอดถึงประชาชนที่บ้าน ที่พากันออกมาด้วยจิตใจพลุ่งพล่านด้วยความเป็นห่วงคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นห่วงพี่น้องที่ชุมนุมในกระทรวงการคลัง เป็นห่วงชะตากรรมของประเทศชาติ

         อย่างไรก็ดี "ข่าว" เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของเหตุการณ์เท่านั้น

         หากไม่มี เหตุการณ์หลักที่ 1 (Premise 1) คือ การทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีมาอย่างต่อเนื่องในโครงการประชานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการจำนำข้าว

         หากไม่มี เหตุการหลักที่ 2 (Premise 2) คือ การใช้เสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ กระทำการฉ้อฉล โดยไม่ฟังเสียงส่วนน้อย

         หากไม่มี เหตุการหลักที่ 3 (Premise 3) คือ การใช้เสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ กระทำการฉ้อฉล โดยไม่ฟังเสียงประชาชนที่มาชุมนุมคัดค้าน หรือการคัดค้านผ่านช่องทางอื่นๆ

         หากไม่มี เหตุการหลักที่ 4 (Premise 4) คือ การกระทำที่ไม่ถูกต้องชอบในการรวบรัด การตัดสิทธิในการอภิปรายและแปรญัตติในสภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราที่สำคัญ

         หากไม่มี เหตุการหลักที่ 5 (Premise 5) คือ การผ่านร่างกฎหมายกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท

         หากไม่มี เหตุการหลักที่ 6 (Premise 6) คือ การผ่านร่างพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม ลบล้างความผิดให้แก่คนโกง ซึ่งเป็นฟางเส้นสุดท้ายแห่ง ที่ทำให้ความอดทนของประชาชนสิ้นสุดลง

         หากไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นองค์ประกอบทั้ง 6 ข้างต้น แม้จะมี "ข่าวลือ" ที่ร้ายแรงสักแค่ไหน ก็คงไม่ทำให้เหตุการณ์เลวร้าย ลุกลามไปได้ถึงเพียงนี้หรอก

          ที่มันเป็นเช่นนี้ เพราะ การกระทำต่างๆ ที่รัฐบาลได้สร้างสมขึ้นมา เหตุการณ์แล้วเหตุการณ์เล่า ถมทับกัน จนสร้างความรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจให้แก่ประชาชนจนถึงที่สุด เป็นเหตุให้เกิด "ห้วงแห่งความวิกฤติ" (Crisis moment) ที่หลอมรวมเป็น "ความคับแค้นใจ" จนยากที่จะอภัย

          การสร้าง "ความคับแค้นใจอย่างถึงที่สุด" ให้แก่ประชาชน คือ สิ่งที่ทำให้ "กำแพงแบริเออร์ที่ขวางกั้นเสรีภาพของประชาชน" พังทลายลงอย่างราบคาบ

          การสร้าง "ความคับแค้นใจอย่างถึงที่สุด" ให้แก่ประชาชน คือสิ่งที่ทำให้ "ความเชื่อถือในรัฐบาล" พังทลายลงอย่างรวดเร็ว

          การสร้าง "ความคับแค้นใจอย่างถึงที่สุด" ให้แก่ประชาชน คือสิ่งที่ทำให้ "ความเคารพเชื่อฟังรัฐบาล" พังทลายลงอย่างไม่มีเหลือ

          นี่คือเรื่องราวของการสื่อสารว่าด้วย..ข่าวจริง ข่าวลือ สื่่อมวลชน สื่อออนไลน์ สื่อโซเชียลมีเดีย ความคลาดเคลื่อนในการส่งข่าวสาร และผลกระทบที่น่าสนใจจากเหตุการณ์ "เส้นทางข่าวในค่ำคืนแห่งความคับแค้น" ของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาล

        รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
        27 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค