ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในโลกออนไลน์..อย่ามองข้ามคุณค่าเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถทำได้ !!

การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในโลกออนไลน์..อย่ามองข้ามคุณค่าเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถทำได้

การมีส่วนร่วมทำในสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องในโลกของการสื่อสารออนไลน์ โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลมีเดีย เราสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. กดไลค์ (Like) เพื่อแสดงออกถึง
        ก. การให้กำลังใจ
        ข. การมีส่วนร่วมทางอารมณ์ความรู้สึก
        ค. การมีส่วนร่วมสนับสนุนทางความคิด

        ลองคิดดูนะครับ ถ้าเป็นเรื่องของเรา เรากำลังทำอะไรสักอย่างที่เราต้องใช้ความอดทน เสียสละ เสี่ยงภัย เหนื่อย ล้า รู้สึกท้อใจ

        ถ้ามีคนกดไลค์ 15 คน กับถ้ามีคนกดไลค์ 15,000 คน ท่านคิดว่ามันจะจะต่างกันไหม ?

        จริงอยู่ที่ การกดไลค์ ไม่ได้ลงมือกระทำให้ปรากฏจริงๆ ไม่ได้ยื่นมือไปช่วยจริงๆ แต่ในทางความรู้สึกของผู้คน มันกลับมีพลังส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ มันเป็นกำลังใจ มันเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่มีค่า

        นอกจากการสร้างความรู้สึกมีกำลังใจให้แก่ผู้ได้รับแล้ว การกดไลค์ ยังเป็นสิ่งบ่งบอกกับบุคคลนั้นว่า..มีคนที่เห็นด้วย มีคนที่ให้กำลังใจ มีคนที่สนับสนุนมากมายแค่ไหน

        และที่สำคัญ จำนวนของผู้ที่กดไลค์ ยังสื่อความหมายไปยังบุคคลที่เป็น "ศัตรู" หรือเป็น "ฝ่ายตรงข้าม" ให้รู้ว่า คนที่เขาคิดกลั่นแกล้ง คิดเล่นงาน เขามีพรรคพวกมากมายแค่ไหน เขามีคนที่เห็นด้วยมากมายแค่ไหน มีคนที่พร้อมจะสนับสนุนมากมายแค่ไหน..ทำให้เขาต้องให้ต้องคิดมากๆ ต้องชั่งใจมากๆ ก่อนที่จะทำอะไรลงไป

         อาจกล่าวได้ว่า "การกดไลค์" และ "จำนวนบุคคลที่กดไลค์" เป็นการ "ข่มขวัญ" และ "ยับยั้ง" ศัตรูได้อีกทางหนึ่ง

 2. การแชร์ (Share)
     การกดแชร์ช่วยได้อย่างไร ? การกดแชร์เป็น "การสื่อสารแบบทวีคูณ"

     การกดแชร์ช่วยให้ข่าวสารนั้นแพร่ไปในวงกว้างมากขึ้นแบบทวีคูณ เรื่องๆ หนึ่ง ที่เราแชร์ออกไป อย่างน้อยเพื่อนของเราที่มีในเฟสบุ๊ก มากบ้าง น้อยบ้าง จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารนั้น บางคนมีเพื่อน 100 คน บางคนมีเพื่อน 1,000 คน บางคนมีเพื่อน 5,000 คน และยังไม่นับรวมกลุ่มคนที่ติดตาม (Following) อีก
     และถ้าเขาเห็นด้วยเขาก็จะกดไลค์ เท่ากับกระจายข่าวสารออกไปยังกลุ่มเพื่อนของเขาให้ได้รับรู้ และถ้าเขากดแชร์ออกไป ข่าวสารนั้นก็จะถูกส่งต่อออกไปอย่างกว้างขวาง

3. การโพสต์ (Post)
    ถ้าเรามีข้อมูลดีๆ ถ้าเรามีข่าวสารดีๆ ถ้าเรามีรูปภาพดีๆ ถ้าเรามีวิดีโอดีๆ และถ้าเรามี Idea ดีๆ การที่เราเก็บไว้ดูเองคนเดียว ประโยชน์จะเกิดขึ้นน้อย แต่ถ้าเราโพสต์ข้อมูล ข่าวสาร รูปภาพ วิดีโอ และไอเดีย ดีๆ นั้นออกไป ผู้ที่ได้รับรู้อาจนำไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

       ที่ผมคิดเรื่องพื้นๆ ซึ่งคิดว่า "ใครๆก็รู้" แบบนี้ ก็เพราะผมคิดว่า

       บางครั้งเรามองข้าม "เรื่องเล็กน้อยที่มากด้วยคุณค่า" ไปอย่างน่าเสียดาย

       ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองประสบปัญหา ประสบสภาวะวิกฤติ สิ่งที่มีค่ามาก มี 5 อย่างคือ

       1. กำลังใจ
       2. ไอเดีย
       3. การสนับสนุนทางอ้อม
       4. การสนับสนุนทางตรง
       5. การลงมือกระทำด้วยตนเอง

       เราทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ที่เราสามารถทำได้ ผลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อย ล้วนแต่เป็น "สิ่งที่มีคุณค่า" และ สิ่งที่มีคุณค่าของคนหลายๆ คน จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

       หากเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจาก "ผู้คนนับหมื่น" เมื่อนำมารวมกันเข้า..ผลที่ได้จะมีคุณค่ามากเพียงใด
       หากเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจาก "ผู้คนนับแสน" เมื่อนำมารวมกันเข้า..ผลที่ได้จะมีคุณค่ามากเพียงใด
       หากเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจาก "ผู้คนนับล้าน" เมื่อนำมารวมกันเข้า..ผลที่ได้จะมีคุณค่ามากเพียงใด

       ขอเพียงเรา อย่ามองข้ามสิ่งที่เรารู้สึกว่ามัน "มีค่าเล็กน้อย"
       เพราะสิ่งนั้น..มันอาจ "มีค่ายิ่งใหญ่" ในความรู้สึกของใครบางคน

       ที่กำลังรออยู่

       รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
       26 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค