ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลังเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์..พลังอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

พลังเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์..พลังอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

มองประเทศไทยผ่านสื่อโซเชียลมีเดียวันนี้..มองเห็นภาพได้ชัดเจน..ถึงพลังความเคลื่่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่พร้อมใจกันลุกขึ้นมาแสดงออกทางความคิดที่มีต่อ

เรื่องเดียวกัน..ในห้วงเวลาเดียวกัน..ด้วยความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน

เป็นจำนวนมากมากนับแสนคน ดังเช่น
1. กลุ่มเคลื่อนไหวหลักที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
2. กลุ่มเคลื่อนไหวหลักที่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบอบระบบไปสู่ความเป็นธรรมที่แยกผ่านฟ้าลีลาศ
3. กลุ่มเคลื่อนไหวหลักที่ที่มุ่งขับไล่รัฐบาลที่แยกอุรุพงษ์

สะท้อนความจริงได้มากพอสมควร

กลุ่มที่ทรงพลังอีกกลุ่มหนึ่งในฐานะพลังทางปัญญา..คือ..กลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลักๆ ของประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิทโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ฯลฯ ทุกมหาวิทยาลัยที่กล่าวถึงล้วนมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน




กลุ่มที่ทรงพลังอย่างยิ่งของสังคมไทยอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นกลุ่มพลังทางวิชาชีพที่มีคุณภาพและมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งประเทศ

ความน่าสนใจของกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ อยู่ที่ความเป็น "เครือข่าย" (Networking) พวกเขามิได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยวกระจัดกระจายไร้ที่ยึดเหนี่ยว ตรงกันข้าม พวกเขากลับสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกัน (linkage) อย่างแน่นแฟ้น แม้แต่ละกลุ่มจะกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในยามปกติพวกเขาก็มีการติดต่อสื่อสารถึงกันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ด้วยลักษณะทางวิชาชีพที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการประชุม สัมมนา อบรม ศึกษาดูงาน ทำให้การติดต่อกันมีความใกล้ชิดกัน มีการรวมกลุ่มรวมพลังกันเพื่อรณรงค์ในประเด็นต่างๆ

และยิ่งในโลกทุกวันนี้ที่มีสื่อใหม่ (New Media) ประเภทโซเชียลมีเดีย (Social Media) 3 พี่น้องหลักคือ FTI :  Facebook Twitter and Instragram ยิ่งเป็นการขยายศักยภาพของการสร้างเครือข่ายให้กระจายตัวออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น มีการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันมากขึ้น สะดวกมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น..ชนิดที่เรียกได้ว่า ผู้คนจากทั่วประเทศ 77 จังหวัดสามารถติดต่สื่อสารกันชั่วเวลาไม่กีวินาที ดังนั้น นอกจากลักษณะทางวิชาชีพของกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ดังกล่าวแล้วการมีสื่อ Social Media เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างพลังของกลุ่มและพลังของเครือข่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือกรณีการออกนโยบาย P4P ซึ่งมีฉายาว่า "หมอล่าแต้ม" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขดูจะเป็นกรณีตัวอย่างที่ดีของการร่วมกันรณรงค์

แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดยิ่งกว่าสองปัจจัยแรก คือ "จิตใจ" (Mind) อันประกอบด้วย "จิตสำนึก" (Conscious) และ "จิตวิญญาณ" (Spirit) ของกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่สุด จิตสำนึก คือ ความตระหนักอยู่ในส่วนลึกของจิตใจตลอดเวลา ที่ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ส่วนจิตวิญญาณ คือ สิ่งที่ควบคุมกำหนดทิศทางของความคิดความรู้สึกในตัวตนของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งคนในวิชาชีพนี้กล่าวได้ว่าส่วนใหญ่มีจิตวิญญาณที่ดี เราต้องยอมรับว่ากลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ มีจิตใจอันยิ่งใหญ่ กล้าหาญ เสียสละ ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ทำเพื่อประชาชนมากกว่าครอบครัว



และปัจจัยที่มองข้ามไปไม่ได้อีกปัจจัยหนึ่งคือ "สายสัมพันธ์แห่งความเป็นอาจารย์และความเป็นลูกศิษย์" แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนมีสถานเป็น "ลูกศิษย์" ของอาจารย์หลายๆ คนที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่สำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์บางคนจะมีสถานะเป็น "อาจารย์" ของผู้คนจำนวนมากมากยหลายร้อยหลายพันคน สายสัมพันธ์แห่งความเป็นอาจารย์และความเป็นลูกศิษย์นี้เอง คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขามีความยึดโยงเป็นปึกแผ่นแน่นเหนียว (Bond) ผูกพันกันด้วยความเคารพ ความรัก ความศรัทธา ระหว่างกัน ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน สายสัมพันธ์เช่นว่านี้ยังคงตราตรึงเหนียวแน่นในจิตใจพวกเขาเสมอ

คุณหมอที่โรงพยาบาลประจำอำเภอปัว จังหวัดน่าน อาจเป็นลูกศิษย์อาจารย์หมอที่มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณหมอที่โรงพยาบาลประจำอำเภอพร้าวจังหวัดเชียงใหม่ อาจเป็นลูกศิษย์อาจารย์หมอที่จุฬาฯ
คุณพยาบาลที่อำเภออมก๋อย อาจเป็นลูกศิษย์อาจารย์พยาบาลที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คุณพยาบาลที่อำเภอแว้ง นราธิวาช อาจเป็นลูกศิษย์อาจารย์พยาบาลที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ อาจเป็นลูกศิษย์วิทยาลัยการสาธารณสุขขอนแก่น


ปัจจัยสำคัญประการต่อมาคือ ความกว้างขวางครอบคลุมของเครือข่าย (Networking Range) ด้วยลักษณะวิชาชีพที่ต้องเข้าถึงพื้นที่ให้บริการ กลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระจายตัวอยู่ในทุกพื้นที่

77 จังหวัด 7,000 ตำบล 68,000 หมู่บ้าน มีกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานอยู่ทั้งสิ้น


ลองคิดดูว่า เครือข่ายของพวกเขาจะกว้างขวางเพียงใด?
หากพวกเขามี "ประเด็นร่วม" (Common Issues) กันแล้ว
หากพวกเขามีความคิดที่สอดคล้องต้องกันแล้ว
หากพวกเขามีทิศทางที่สอดคล้องต้องกันแล้ว

พลังของเครือข่ายจะเข้มแข็งเพียงใด


ผมขอสรุปว่า ความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ มีปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ

1. ลักษณะทางวิชาชีพ (Professionalism)
2. การมีสื่อสมัยใหม่ (New Media)
3. จิตใจ (Mind) จิตสำนึก (Conscious) และจิตวิญญาณ (Spirit)
4. สายสัมพันธ์แห่งความเป็นอาจารย์และความเป็นลูกศิษย์ (Deep Relationship)
5. ความกว้างขวางครอบคลุมของเครือข่าย (Networking Range)

เมื่อสังคมไทยเกิดเหตุการณ์ผลักดันร่างกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระอย่างรวดเร็ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ ที่มีการแก้ไขมาตรา 3 ให้มีการนิรโทษกรรมแบบสุดซอย และลงมติวาระ 3 กันตอนตีสี่ สิ่งนี้จึงส่งกระทบ (Impact) ต่อความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศอย่างรุนแรงที่สุด แน่นอนว่า รวมทั้งกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ด้วยที่เกิดความรู้สึกไม่เห็นด้วย เกิดความรู้สึกคัดค้าน เกิดความรู้สึกต่อต้าน

เมื่อ..ประเด็นตรงกัน
เมื่อ..ความคิดเห็นตรงกัน
เมื่อ..ความรู้สึกตรงกัน
จึงเกิด "อารมณ์ร่วม"
จึงเกิด "การแสดงออกร่วม"

ในการคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว



รูปแบบของการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ใช้วิธีการสื่อสารเพื่อแสดงออกถึงความคิดความรู้สึก 4 วิธีการคือ

(1) การกระกาศเจตนารมณ์ เช่น การออกแถลงกาารณ์
(2) การแสดงสัญลักษณ์การคัดค้าน เช่น การแสดงท่าทางไขว้มือประสาน
(3) การชุมนุมเดินขบวนแสดงการคัดค้าน
(4) การสื่อสารความคิดและการกระทำของกลุ่มไปยังสังคมไทยผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย



พลังของคุณหมอ พลังของคุณพยาบาล พลังของเจ้าหน้าที่สาธาราณสุข และพลังของบุคลากรทางการแพทย์ เป็นพลังที่เข้มแข็ง และยิ่งใหญ่มาก เพราะมันเกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรไทย ใครเห็นก็ต้องทึ่ง ใครเห็นก็ต้องตระหนักในศักยภาพของเครือข่าย ที่สำคัญเครือข่ายนี้ ไม่สามารถโน้มน้าวจูงใจให้เชื่ออะไรง่ายๆ เพราะความคิดและการตัดสินใจของพวกเขาตั้งอยู่บนทฤษฎี หลักการ และเหตุผล ใครก็มาซื้อพลังเครือข่ายของกลุ่มนี้ไปไม่ได้




หากพลังนี้ถูกนำมาใช้ในการปกป้องรักษาสิ่งที่ถูกต้อง มีคุณธรรม สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรม และสิ่งที่ถูกกฎหมาย แล้วย่อมเป็นพลังป้องกันที่แข็งแกร่งที่สุด

ในอีกทางหนึ่ง หากหลังนี้ถูกนำมาใช้ในการต่อสู้ คัดค้าน และต่อต้าน สิ่งที่ไม่ถูกต้อง ปราศจากคุณธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ดีงาม ฝ่าฝืนต่อหลักศีลธรรม และขัดต่อกฎหมายแล้ว ย่อมเป็นพลังยิ่งใหญ่

ยิ่งใหญ่กว่าอำนาจเงินตรา
ยิ่งใหญ่กว่าเครืองจักรกลใดๆ
ยิ่งใหญ่กว่ากระแสลมพายุ และ
ยิ่งใหญ่กว่ากำลังอาวุธทั้งปวง

ที่จะมาทำลายล้างได้ !!

จากข้อเท็จจริงที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้น..เราอาจสรุปได้อย่างไม่เกินความจริงว่า

ท่ามกลางกลุ่มพลังทางสังคมที่เป็นรูปธรรมของสังคมไทยยามนี้ นอกจากการเคลื่อนไหวที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวที่แยกอุรุพงษ์ การเคลื่อนไหวที่แยกผ่านฟ้าลีลาศ และการเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ แล้ว

พลัง "เครือข่ายกลุ่มแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์" 
คือ พลังที่เข้มแข็งที่สุด ในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้านการแสดงออกทางความคิดความรู้สึกทางสังคม

เป็นพลังที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีอำนาจรัฐในการยับยั้งการคิด ยับยั้งการกระทำเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ และเปลี่ยนแปลงการกระทำใดๆ 
ที่ขัดต่อหลักกฎหมาย ขัดต่อหลักนิติธรรม และขัดต่อมโนธรรมสำนึกของประชาชน

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
6 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค