ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้หลัก 5W 1H เพื่อการสื่อสารสภาวะวิกฤติ..ในห้วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วงทางการเมือง

การใช้หลัก 5W 1H เพื่อการสื่อสารในสภาวะวิกฤติ..ในห้วงเวลาแห่งการชุมนุมประท้วงทางการเมือง

ในช่วงเวลาที่ประชาชนนับแสนนับล้านออกมาชุมนุมคัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรมและต่อต้านรัฐบาล

ข่าวที่สร้างความตื่นตกใจมากที่สุด คือ ข่าวตำรวจจะเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งมันหมายถึง การปะทะกันระหว่างตำรวจกับประชาชน โล่ กระบอง และ แก๊สน้ำตา

ประชาชนที่ยีงไม่เคยมีประสบการณ์ลักษณะนี้มาก่อนจะเกิดความรู้สึกตื่นตกใจ กังวลใจ หวั่นวิตก หวาดผวา..เมื่อได้รับรู้ข่าวสาร ข้อความ รูปภาพ จากสื่อเฟสบุ๊ก ก็ยิ่งรู้สึกตกใจ พากันส่งต่อแบ่งปันข้อความและรูปภาพออกไป โดยเจตนาดีที่จะช่วยเหลือกัน ระดมคน ระดมรถ ระดมสิ่งของไปช่วยเหลือกัน

"ความรวดเร็ว" และ "ความรีบร้อน" ในการสื่อสาร กลายเป็นดาบสองคม
ด้านดีคือ การช่วยเหลือกันได้ทันเวลา ทันท่วงที
ด้านเสียคือ ความแตกตื่น (panic) ความตื่นเต้น ความตกใจ ความหวาดวิตก ความสับสนอลหม่าน ความไม่เคลียร์เรื่องข้อเท็จจริง

เพื่อป้องกันผลด้านเสียดังกล่าว เราอาจแก้ไขได้ด้วยวิธีการสื่อสาร โดยใช้หลัก 5W 1H
โดยเรียลำดับความสำคัญ ดังนี้คือ

WHAT: เกิดเหตุอะไร? เช่น เกิดเหตุระเบิดขึ้น 2 ครั้ง

WHERE: เกิดที่ไหน? เช่น ตรงกลางสะพานมัฆวาน ตรงแนวกั้นระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุม

WHEN: เกิดขึ้นเวลาใด เช่น  20.30 น.

HOW: ลักษณะของเหตการณ์เป็นอย่างไร? การกระทำ พฤติการณ์เป็นอย่างไร เช่น มีกลุ่มควันขนาดใหญ่เกิดขึ้น พร้อมกับเสียงดังคล้ายระเบิด 2 ครั้ง ติดต่อกัน ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 30 วินาที

WHO: ใครเป็นคนทำ? เป็นฝีมือของใคร (หากพอจะทราบ) เป็นการระบุตัวบุคคลผู้กระทำ โดยมีผู้ที่เป็นคนเปิดเผย หรือยืนยันข้อเท็จจริง เช่น พยานที่เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเห็นวัตถุสีดำลอยมาจากฝั่งตำรวจ หลังจากนั้นก็เกิดระเบิดขึ้น จึงสันนิษฐานว่าเป็นการกระทำของฝ่ายตำรวจ หรือ มือที่สาม

WHY: ทำทำไม?  การอธิบายว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น เช่น คาดว่าตำรวจต้องการทำลายขวัญผู้ชุมนุม หรือกาเป็นฝีมือของมือที่สามก็อาจต้องการสร้างความปั่นป่วน ยั่วยุให้เกิดความรุนแรง

ข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดคือ อะไร WHAT ที่ไหน WHERE และ อย่างไร HOW เกิดเหตุอะไรขึ้น เกิดที่ไหน เกิดอย่างไร ตรงนี้ต้อง clear ที่สุด ต้องชัดเจน ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด  

ข้อมูลเรื่องเวลา WHEN ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก เพราะส่งผลกระทบต่อ
1. ความทันท่วงทีต่้อการให้ความช่วยเหลือ
2. ความชัดเจนของข้อเท็จจริงว่าเกิดเหตุเมื่อใด
3. คนที่มาเห็น/อ่านพบภายหลังได้ทราบว่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด

กรณีตัวอย่าง การโพสต์แชร์ข้อความ ขอความช่วยเหลือเรื่องบริจาคเลือดให้แก่ผู้ป่วยอุบัติทางรถยนต์ แพทย์ต้องผ่าตัดจำเป็นต้องใช้เลือดกรุ๊ป A แต่ที่ รพ.ขาดแคลนเลือด ใครมีเลือดกรุ๊ปนี้ ช่วยไปที่ รพ.ศิริราช ด่วนที่สุด

มีคนที่เห็นโพสต์แชร์ข้อความเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 เวลา 19.00 น. คนที่มีเลือดกรุ๊ป A เดินทางไปที่ รพ.ศิริราช 20 คนเพื่อบริจาคเลือด ปรากฏว่า ผู้ป่วยคนนี้เสียชีวิตแล้ว หรือ รักษาหายแล้ว กลับไปบ้านตั้งแต่สามเดือนที่แล้ว เพราะผู้โพสต์แชร์ข้อความไม่ได้ระบุวันเวลาไว้อย่างชัดเจน ว่าป่วยเมื่อไหร่ ต้องการเลือดภายในวันที่เท่าไหร่ เวลาอะไร

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
28 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค