ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสพข่าว..การใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง จนความหมายผิดเพี้ยน

เสพข่าว..การใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง จนความหมายผิดเพี้ยน

หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง..ให้สัมภาษณ์เตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการติดตามข่าวสาร โดยท่านกรุณาเตือนว่า ทุกครั้งที่ "เสพข่าว"   ให้มีวิจารณญาณ ไตร่ตรองความถูกต้องก่อนที่จะเชื่อ โดยเฉพาะข่าวในโลกออนไลน์

ชวนให้ผมเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า

คำว่า "ข่าว" นี่มันเป็นสิ่งที่คนเราต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ

แค่ "อ่าน ฟัง ชม" มันไม่พอหรือ ? มันต้อง "เสพ" กันเลยเหรอ ??

มันต้องขนาดนั้นเลยหรือ ?

คำว่า "เสพข่าว" มันควรจะนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ อ่่านข่าวออนไลน์ อ่านเฟสบุ๊ก อ่านทวิตเตอร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ เลยหรือครับ

ผมคิดว่าอันที่จริงมันควรนำมาใช้กับสถานการณ์ "การติดตามข่าวสารแบบเสพติด" ที่เปรียบเสมือนคนติดยาเวสพติด ที่ขาดไม่ได้ ขาดแล้วจะลงแดงตาย อย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งคนที่เข้าข่ายแบบนั้นคงจะมีอยู่จำนวนหนึ่ง

แต่ไม่ใช่คนอย่างเราๆ ท่าน ที่ติดตามข่าวสารกันเป็นประจำ ซึ่งน่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ มากกว่าคนจำพวกที่เสพข่าวแบบบ้าคลั่ง ผมคิดว่า "การติดตามข่าวสาร" ของมนุษย์ในสังคมในชีวิตประจำวัน ไม่น่าจะต้องใช้คำศัพท์ที่ "ฟังยาก" ถึงขนาดนั้น

บางทีการใช้ศัพท์วิชาการ การทำตัวเป็นนักวิชาการ และการใช้ศัพท์แสงที่สูงส่ง
มันก็ทำให้ความหมายของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารกับคนอื่น "ผิดเพี้ยนไปจากความจริง" ได้มากพอสมควรทีเดียว

เรื่องง่าย..ก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องธรรมดา..ก็กลายเป็นเรื่องซับซ้อน

ใช้ศัพท์แสงแบบธรรมดาๆ ก็พอมั้งครับท่าน !!

จะอ่าน จะฟัง จะดู จะติดตามอะไรก็ว่ากันไป..การใช้ภาษาพูดจากันในชีวิตประจำวัน

ไม่ต้อง "ซับซ้อน" ขนาดนั้นก็ได้
ไม่ต้อง "สูงส่ง" ขนาดนั้นก็ได้

ไม่ต้องถึงขนาด "เสพข่าว" ก็ได้

ฟังแล้วรู้สึก "เยอะ" เกินไปจริงๆ ครับพี่น้อง

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
26 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค