ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลังแห่งมโนธรรมสำนึกของ..แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

พลังแห่งมโนธรรมสำนึกของ..แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

การที่ผมแชร์รูปภาพการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของคณะบุคคลที่เป็นแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์..ในการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จากแทบทุกแห่งที่ปรากฏในเฟสบุ๊กในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุผลเพราะ

1. ผมมีความเคารพในความคิดและการใช้เหตุผลของบุคลากรกลุ่มนี้

2. ผมมีความเชื่อถือในความคิดของบุคลากรกลุ่มนี้ที่มีต่อการแสดงออกครั้งนี้

3. ผมเชื่อว่า ไม่ว่าใครก็ตาม คงไม่สามารถชักจูงให้บุคคลที่มี "ความน่าเชื่อถือทางสังคม" สูงระดับนี้ ให้มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันเป็นจำนวนมาก และทั่วประเทศ ได้ขนาดนี้

4. ผมเชื่อว่าบุคคลกลุ่มนี้ มองเห็นถึงการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ไม่ถูกต้องตามหลักความชอบธรรม ไม่เสมอภาค และไม่เป็นธรรม..กำลังเกิดขึ้นในสังคมด้วยการกระทำของนักการเมืองในสภาฯ ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

5. ผมนับถือใน "ความกล้าหาญในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น" ของ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์



จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีสถานพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 17,059 แห่ง ซึ่งเป็นข้อมูลบในยุคสมัยที่ประเทศไทย มี 76 จังหวัด ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมี 77 จังหวัด จำนวนสถานพยาบาล..คงจะมากกว่านี้

แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จาก สถานพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน 17,059 แห่ง
ที่ผ่านมา แม้มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่บุคลากรกลุ่มนี้ไม่ได้ออกมาแสดงความเคลื่อนไหวใดๆ

แต่เหตุการณ์ที่นักการเมืองพยายามที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยฝืนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนจำนวนมากของประเทศ..น่าจะเป็นการกระทำผิดที่เกินกว่าผู้คนจะยอมรับได้..บุคลากรกลุ่มนี้จึงลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวคัดค้านและต่อต้าน

ลองประมาณการตัวเลขสถานพยาบาล จำนวน 17,059 แห่ง
หากมีเพียงครึ่งหนึ่งที่คัดค้าน คิดเป็น 8,529 แห่ง
หากสถานพยาบาลแต่ละแห่งมีจำนวนผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านเพียงแห่งละ 50 คน
จะมีจำนวนผู้คัดค้านทั้งสิ้นประมาณ 426,475 คน


ท่านลองคิดดูนะครับว่า..

แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน  426,475 คน (สีแสนสองหมื่นหกพันสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าคน) มีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกัน คือ คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่กำลังเสนอเข้าสู่สภาฯ ในขณะนี้ ท่านคิดว่ามีน้ำหนักไหม มีความน่าเชื่อถือมากเพียงใด

ประโยคที่ว่า "คัดค้านกฎหมายนิรโทษกรรม" เป็นข้อความโดยย่อที่มีความหมายมากกว่าตัวของมันเองในประโยคนี้..แต่มันหมายถึง

- การมองเห็นการกระทำผิด
- การมองเห็นความทุจริตคอร์รัปชัน
- การมองเห็นความคดโกง
- การมองเห็นการโกหกหลอกลวง
- การมองเห็นความบิดเบือน
- การมองเห็นการแอบอ้างระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก..แก้ไขจาก..สิ่งที่ผิด..ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูก
- การมองเห็นการกระทำที่อัปยศน่าละอายของนักการเมืองไทย ที่ปรากฏชื่อและตัวตนเห็นชัดตรงหน้าว่าพวกนี้เป็นใครบ้าง
- การมองเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมโนธรรม ฝ่าฝืนความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ของมนุษย์

ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยในเวลานี้

ความหมายมันมีมากกว่าการ "คัดค้าน"
แต่..
มันหมายถึง..การเรียกร้องให้ "สำนึกผิด"
มันหมายถึง..การเรียกร้องให้แก้ไข
มันหมายถึง..การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง

จาก..
ความผิด..ให้เป็น..ความถูกต้อง
ความไม่เป็นธรรม..ให้เป็น..ความเป็นธรรม
ความไม่เสมอภาค..ให้เป็น..ความเสมอภาค

สุดท้าย..ผมเคารพ ผมนับถือ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทุกๆ ท่าน
จำนวนหลายแสนคน..

ที่มีความกล้าหาญ กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้กับ..ความไม่ถูกต้อง และ ความไม่เป็นธรรม



ผมขอสนับสนุนความคิดของท่าน และขอสนับสนุนการกระทำของท่าน

ขอแสดงความนับถือ

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
9 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค