ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสื่อสารเพื่อสร้างพลังร่วมทางการเมือง..บทบาทหน้าที่ ลักษณะ และรูปแบบการสื่อสาร

การสร้างพลังร่วมทางการเมือง..ต้องอาศัยพลังการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ


การสร้างพลังร่วมทางการเมือง

การสร้างพลังร่วมเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของงานการเมืองที่สำคัญระดับประเทศ ต้องอาศัยองค์ประกอบ ดังนี้

1. ประเด็นร่วม มีความทุกข์ร่วมกัน มีความทุกข์ มีปัญหาในเรื่องเดียวกัน

2. มิตรร่วม มีมิตรคนเดียวกัน มิตรมีปัญหามิตรได้รับความเดือดร้อน เราจึงต้องช่วย

3. ศัตรูร่วม เมื่อมีศัตรูคนเดียวกัน เรารู้สึกเจ็บแค้นแทนกัน มีอะไนต้องช่วยเหลือกัน

4. ประโยชน์ร่วม มีสิ่งที่ได้รับประโยชน์ร่วมกันอยู่ เช่นที่ดินทำกิน แหล่งน้ำการเกษตร

5. ผลกระทบ(ทางลบ)ร่วม มีสิ่งที่มากระทบกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเหมือนๆกัน มีสิ่งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมร่วมกัน มีสิ่งที่ไม่ได้รับความยุติธรรมร่วมกัน มีสิ่งที่ไม่ได้รับความเสมอภาคร่วมกัน เช่น การขึ้นราคาน้ำมัน การขึ้นราคาแก๊ส การถูกเวนคืนที่ดินจากการสร้างเขื่อน

6. อารมณร่วม มีอารมณ์และความรู้สึกร่วมกัน รักเหมือนกัน เกลียดเหมือนกัน โกรธเหมือนกัน หลงใหลเหมือนกัน

การที่บุคคลและประชาชนมี ความร่วมกัน ดังกล่าวก่อให้เกิด การก่อตัวของแรงปรารถนาที่จะ คิดร่วมกัน แสดงออกร่วมกัน และลงมือกระทำร่วมกัน

บทบาทหน้าที่ของการสื่อสารในการสร้างพลังร่วม

การที่บุคคลและประชาชนจะสามารถคิดร่วมกัน แสดงออกร่วมกัน และลงมือกระทำร่กันได้ จะต้องอาศัย การติดต่อเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกัน และ การสร้างปฏิสัมพันธ์ (interactivity) ระหว่างกัน 

ในการที่จะการติดต่อเชื่อมโยง (connectivity) ระหว่างกัน และ การสร้างปฏิสัมพันธ์ (interactivity) ระหว่างกันได้นัั้น จะต้องอาศัย การสื่อสาร (communication) เป็นกลไกและเครื่องมือในการทำหน้าที่ดังนี้

1. การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (understanding) เป็นการให้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ระหว่างบุคคลและประชาชน ในเรื่องที่มีความสนใจ
ร่วมกัน เพื่อมีข้อมูลเท่าเทียมกัน เข้าใจประเด็นตรงกัน

2. การสร้างความผูกพันทางอารมณ์ (feeling) เป็นการเชื่อมต่อทางอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลและประชาชน ด้วยความรู้สึกอย่างเดียวกัน ในทิศทางเดียวกัน คล้อยตามกัน

3. การกระตุ้นให้มีการแสดงออกร่วมกัน (expression) เป็นการแสดงออกทางความรู้สึกร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การเชียนเฟซบุ๊กชื่นชมหรือด่าทอ

4. การกระตุ้นเร้าให้เกิดการลงมือกระทำร่วมกัน (action) เป็นการลงมือกระทำการอย่างใดอบ่างหนึ่ง เช่น ประดับเครื่องหมายต่อต้านความรุนแรง การเป่านกหวีด การประดับธง การไปลงประชามติ การไปร่วมชุมนุม

5. การธำรงรักษา (maintain) ความรู้สึก อารมณ์ การแสดงออก และการกระทำ ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ เช่น คงที่สม่ำเสมอ เพิ่มขึ้น

การรณรงค์คัดค้านศึกษาวิเคราะห์ EHIA ของโครงการการสร้างเขื่อนแม่วงศ์
การรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงศ์
การรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนสะเอียบ

การรณรงค์ของเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อกรณีการใช้ระบบ P4P
การรณรงค์ของเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อกรณีการคัดค้านการยึดอำนาจบริหารเงินงบประมาณของ สปสช.

การรณรงค์ของเครือข่ายแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อกรณีการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

การชุมนุมทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลของกลุ่ม กปท. กลุ่ม คปท. กลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ที่แปรสภาพมาเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป

ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ทาฃสังคม
ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง

ต่างต้องอาศัยการติดต่อเชื่อมโยง (connectivity) และ การสร้างปฏิสัมพันธ์ (interactivity) ระหว่างบุคคลและประชาชน โดยใช้ การสื่อสาร (communication) เป็นกลไกและเครื่องมือที่สำคัญ

ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ เราได้มีการวางแผนและการใช้การสื่อสารได้มีประสิทธิภาพเพียงใด

กล่าวเฉพาะการสื่อสารในการชุมนุมทางการเมืืองรัฐบาลของกลุ่ม กปท. กลุ่ม คปท. กลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ที่แปรสภาพมาเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ถนนราชดำเนิน มีลักษณะการสื่อสารและรูปแบบการสื่อสาร ดังนี้

ลักษณะการสื่อสาร
ลักษณะการสื่อสารที่ใช้มีดังนี้

1. การพูดเสียดสี
2. การประจาน
3. การด่าทอ
4. การปลุกเร้าอารมณ์
5. การโหมกระพือ
6. การท้าทาย
7. การชี้ช่อง
9. การเชิญชวน
9. การยกย่อง
10. การระดมพลัง
11. การให้ความรู้
12. การโน้มน้าวใจ

รูปแบบการสื่อสาร
รูปแบบการสื่อสารที่นำมาใช้มีดังนี้

1. การปราศรัย (address) โดย
     (1) นักการเมือง
     (2) นักวิชาการ
     (3) นักธุรกิจ
     (4) ทหาร
     (5) นักเคลื่อนไหว

2. การพูดแสดงความรู้สึก (expression)  โดย
     (1) นักเรียน
     (2) นิสิตนักศึกษา1. กล่าวสรรเสริญบุคคลที่เห็นว่ามีความกล้าหาญกล้ามาร่วมชุมนุม

3. การรับรอง (endorse) โดย
     (1) ประกาศชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง ที่มาร่วมชุมนุม เพื่อสร้างการรับรองว่า การชุมนุมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ บุคคลอื่นควรมาร่วมชุมนุม
      (2) ประกาศชื่อกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มธุรกิจ ที่ให้การสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นดีเห็นงาม

4. การอ้างพยาน (testimonial) นำประชาชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกล่าวถึงสิ่งที่ตนเองพบเห็น หรือเคยกระทำ หรือเคยมีส่วนร่วม ในสิ่งที่เป็นคุณแก่ฝ่ายผู้จัดการชุมนุม

5. สร้างอารมณ์ร่วมแบบละคร (dramatize) โดยพูด          แสดงออก นำเสนอ ฉายวิดีโอ ฉายคลิปจากอินเทอร์เน็ต นำข้อความที่โพสต์ในเฟซบุ๊ก ที่มุ่งเน้นการสร้างอารมณ์ (emotion) มากกว่าการให้ข้อมูลข่าวสาร (information)

6. ความบันเทิง (entertainment) นำเสนอการร้องเพลง การแสดงดนตรี

7. การนำเสนอสุนทรียรส (aesthetic) นำเสนอบทกวี การบรรเลงเดี่ยวขลุ่ย เดี่ยวแซกโซโฟน

8. การเดินพาเรด (parade) เป็นการแสดงโชว์การเดินพาเรดเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง ความปลอดภัย ความยิ่งใหญ่ เช่น การเดินพาเรดขึ้นเวทีของเหล่านักวิชาการ การเดินพาเรดของการ์ดรักษาความปลอดภัยทั้งบนเวทีและในที่ชุมนุม

9. การใช้สัญลักษณ์ (symbol) เป็นการใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ร่วมกันในการต่อสู้ เพื่อจุดมุงหมาย 3 ประการคือ
     (1) สื่อความหมาย เช่น ความรักชาติ การต่อตเานคอร์รัปชัน
      (2) การสื่อให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
      (3) การแสดงพลังเชิงปริมาณ เพื่อให้เห็นว่าประชาชนที่สนับสนุนหรือมีความคิดเห็นตรงกันมีจำนวนมาก

10. การกระทำ (action) ที่แสดงออกให้เห็นถึงการต่อต้านโดยตรงด้วยการกระทำโดยการลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสื่อสารให้เห็นถึงการต่อต้าน. เช่น การนำกำลังมวลชนไปกดดัน การเป่านกหวีดใส่หน้า

รศ.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
18 พฤศจิกายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค