ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโทรทัศน์ไทยในช่วงเย็น..กับประเด็นการลดราคารับจำนำข้าวเหลือ 12,000 บาท

การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโทรทัศน์ไทยในช่วงเย็น..กับประเด็นการลดราคารับจำนำข้าวเหลือ 12,000 บาท

............................................................................................................................................
มองผังรายการที่เสนอทางสือโทรทัศน์กระแสหลักที่มี coverage สูง มี impact สูง และมี influence สูง ในช่วงเย็น..โดยเฉพาะเมื่อวานนี้วันที่ 19 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลประกาศราคารับจำนำข้าว 12,000 บาทต่อตัน
.......................................................................................................................................
ช่วงเวลา 18.00-18.45 น. ช่วงเวลาที่ชาวนาและเกษตรกรไทย กำลังล้อมวงกินข้าวเย็น
ช่อง 3 ละคร
ช่อง 5 Hard Core ข่าว และ ข่าวภาคค่ำ
ช่อง 7 ละคร เรื่องใหม่ "โทน"
ช่อง Thai PBS โลกวิทยาการ
.........................................................................................................................................
ขณะที่ชาวนาทั่วประเทศกำลังหวาดหวั่น เครียด (tension) วิตกกังวล (anxiety)
.........................................................................................................................................
สิ่งที่ชาวนาต้องการในขณะนั้น ควรจะเป็น information ที่ให้อะไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์เช่นนี้
        1. เสนอข่าวเชิงการให้ข้อมูลข่าวสารให้ข้อเท็จจริง (informational function) โดยนำเสนอสาเหตุของปัญหา ว่าทำไม รัฐบาลจึงปรับราคารับจำนำข้าวลดลงมา เหตุผลเพราะอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร (explaination)
        2. เสนอข่าวเชิงประสานความคิด (correlation function) ทางออกของปัญหา และแนวทางแก้ไข สำหรับชาวนา (Solution & Problem solving)
        3. เสนอข่าวเชิงการให้ความบันเทิง (entertainment function) ในลักษณะของการคลายความทุกข์และบรรเทาทุกข์ทางจิตใจของชาวนาให้ผ่อนคลายลง (cathasis)
............................................................................................................................................
พิจารณาการทำหน้าที่ทางการสื่อสาร (Media function) ของสื่อโทรทัศน์
        ช่อง 3 และ ช่อง 7 เลือกทำหน้าที่เฉพาะข้อ 3 คือ การบรรเทาทุกข์ (cathasis) ด้วยการพาผู้คนหลบหนีไปจากความจริง (escapism) โดยการชมละครเบาสมอง เพื่อให้สนุกๆๆ ลืมๆๆ ปัญหาแบบชั่วครั้งชั่วคราว กินข้าวเย็นแล้วมานั่งทุกข์กันต่อไป ว่าจะขาดทุนเท่าไหร่ จะหาเงินที่ไหนมาใช้หนี้

        ช่อง 5 เลือกทำหน้าที่ข้อ 1  และ ข้อ 2 สัมภาษณ์นายกสมาคมชาวนาไทย และนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และเกาะติดประเด็นข่าวรับจำนำข้าวต่อในข่าวภาคค่ำ..ชาวนากินข้าวไป ดูข่าวไปได้รู้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตนเองและครอบครัว เพื่อหาหนทางต่อสู้ชีวิต

        ช่อง ThaiPBS เลือกทำหน้าที่แบบฉีกแนวให้ความรู้วิทยาการและวิทยาศาสตร์แก่คนชั้นกลาง

        (ขออภัยที่ไม่ได้ดูช่อง 9 และ ช่อง 11 เพราะถือหลักเกณฑ์ในการเลือกรับชมตาม coverage และ impact)

        การนำเสนอบทความนี้ ผมไม่ได้ต้องการวิเคราะห์เรื่องราวแต่อย่างใด เพียงแค่นำข้อเท็จจริงเชิงเปรียบเทียบ ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงในสังคม มาให้ทุกท่านพิจารณาเท่านั้น
        แต่ด้วยข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ ก็พอจะมองเห็นความคิด นโยบาย และแนวทางการดำเนินงาน ของสถานีโทรทัศน์แต่ละสถานีได้ชัดเจนพอควร

         รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
         20 มิถุนายน 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค