ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"การสร้างความรู้สึกร่วมทางสถานภาพ" วิธีการหาเงินของคนรวย..จากคนจน

"การสร้างความรู้สึกร่วมทางสถานภาพ" วิธีการหาเงินของคนรวย..จากคนจน

นิยามของคำว่า "การหาเงิน" ของคนรวย

        การหาเงิน หมายถึง "การใช้กลยุทธ์และวิธีการต่างๆ ในการรวบรวมเงินจากคนมีรายได้น้อย  หรือที่เรียกว่า คนจน ที่มีอยู่ประมาณ 70 % ของประเทศ ไปให้คนที่มีเงินมากมายมหาศาลอยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า คนรวยมาก ที่มีอยู่ประมาณ 5% ของประเทศ" 

         โดยมากจะใช้กลยุทธ์การเชิญชวนโน้มน้าวใจให้คนมีรายได้น้อย บริโภคสินค้ามวลชน (mass products) ที่ตั้งบนพื้นฐานของการสร้างอารมณ์ความรู้สึกและสร้างจินตนาการ ถึงความสุขที่ได้รับจากการบริโภค สิ่งที่แตกต่างจากสภาพชีวิตความเป็นอยู่จริง ซึ่งมีสถานภาพที่เหนือกว่าชีวิตที่เป็นจริงของตนเองพอสมควร

ตัวอย่างที่เป็นภาพสะท้อนความหมายจริงและความหมายแฝง มีดังนี้

       การบริโภคอาหาร การกินอาหารสำเร็จรูป การกินอาหารตามร้านอาหาร การกินอาหารนอกบ้านแทนการประกอบอาหารกินเองที่บ้านเป็นการแสวงหาการพักผ่อนและความบันเทิงอย่างหนึ่ง

       การสวมใส่เสื้อผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าที่เลียนแบบสินค้าแบรนด์เนม เสื้อผ้าแบบเฮ้าส์แบรนด์ หรือ โลคอลแบรนด์ 

       การใช้สินค้าที่สะท้อนอัตลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย เช่น ความเข้มแข็ง ความกล้าหาญ ความเป็นนักสู้ เป็นที่ยอมรับของผู้หญิง

         การใช้สินค้าที่สะท้อนอัตลักษณะเฉพาะของความเป็นหญิง เช่น รูปร่างดี ทันสมัย ใบหน้าผิวพรรณได้มาตรฐาน เช่น จมูกโด่ง ผิวขาว เป็นที่ยอมรับของผู้ชาย

        การใช้สินค้าอุปโภค สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพูสระผม ครีมทาหน้า ที่สร้าง "ความรู้สึกร่วมทางสถานภาพกับคนรวย" โดยมีดาราผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้แนะนำชักชวน

       การดื่มเครื่องดื่ม ที่สร้างความรู้สึกทันสมัย ให้ความมีชีวิตชีวา มีเลือดนักสู้ มีความเป็นชาย

       การดื่มเครื่องดื่มที่สร้าง "ความรู้สึกร่วมทางสถานภาพกับคนรวย" 

         การดื่มเครื่องดื่มที่สร้าง "ความรู้สึกถึงความแตกต่างจากการดื่มน้ำเปล่า"

         การดื่มเครื่องดื่มที่สร้าง "ความรู้สึกถึงความเหนือกว่าการดื่มน้ำเปล่า" อย่างเด่นชัด

         การใช้สินค้าที่สะท้อนอัตลักษณะเฉพาะของความเป็นชาย สร้าง "ความรู้สึกร่วมทางสถานภาพกับชนชาติที่เจริญ"

        การบริโภควัฒนธรรมดนตรี ที่มีลักษณะร่วมสมัย มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชีวิตตนเอง แต่ศิลปินผู้ร้องต้องมีวิถีชีวิตและภาพลักษณ์ที่สูงกว่าชีวิตตนเอง

        การบริโภคความบันเทิงจากสื่อโทรทัศน์ ที่ มีบุคคลที่มีลักษณะเป็นตัวแทนของตนเองเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องราวเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถูกพูดถึง กล่าวถึง เข้าไปร่วมแข่งขัน ได้รับความเห็นอกเห็นใจผ่านสื่อมวลชน

        การใช้อุกรณ์สื่อสาร ที่ทันสมัย สร้างความรู้สึกถึงการมีสิทธิเท่าเทียมในการใช้ ความเป็นอิสระในการใช้ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ได้ทุกที่ ทุกเวลา

         สินค้าที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ถูกนำมาใช้เป็น "เครื่องมือในการรวบรวมเงิน" จาก คนจน ประมาณ 70% ของประเทศ ไปให้ คนรวยมาก ประมาณ 5% ของประเทศ หรือ กล่าวสั้นๆ ว่า การหาเงินจากคนจนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
2 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค