ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

10 ข้อที่เราควรทำ ก่อนเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติ !!


ก่อนเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติ จงปฏิวัติตัวเองเสียก่อน..!!

        วาทะะสำคัญของผู้บัญชาการทหารบกวันนี้ สะท้อนถึงความคิดของ ผบ.ทบ. ว่ามีความคิดและจะทำอย่างไรต่อปัญหาของประเทศ ซึ่งประชาชนตั้งคำถามและร้องขอให้ช่วยแก้ปัญหา ประกอบกับสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ตั้งคำถามต่อ ผบ.ทบ. 
        ผมไม่ได้รู้จัก ผบ.ทบ. แต่ขอแสดงทัศนะส่วนตัว ไม่ได้เชียร์ ไม่ได้ค้าน..แต่อยากให้คิด..นี่คือวาทะของ ผบ.ทบ. บางส่วน
         (1) "ควรแยกปัญหาออกมาแก้เป็นส่วนๆ ไป" 
         (2) "ทหารต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น" 
         (3) ขอให้สังคมเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของทหาร 
         (4) อยากเห็นทุกภาคส่วนทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดอย่างถูกต้องชอบธรรม ไม่โยนภาระมาให้ใครคนใดหนึ่ง เพราะเป็นอันตรายต่อประเทศในระยะยาวโดยไม่จำเป็น"
         ผมอยากให้ขีดเส้นใต้ประโยคในข้อที่ 4 เพราะ ประชาชนต้องช่วยกันแก้ปัญหาเอง หากให้ทหารแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ทำง่าย คือ รัฐประหาร หรือ ยึดอำนาจ..ผลคือความยุ่งยาก ความลำบากจะตามมา
         ผมขอเสนอความคิดเห็น สิ่งที่ควรทำ 10 ประการ ก่อนที่จะเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติ ดังนี้
         (1) หากยุให้ทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร ปัญหาจะเกิดขึ้นวนเวียน ไม่มีวันจบสิ้น เราควรหันมามองปัญหาให้ชัด แล้วช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหากันเอง โดยประชาชน
         (2) หากทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร จะมีคนได้ประโยชน์จากการรัฐประหารเพียงกลุ่มคนจำนวนไม่กี่กลุ่มเท่านั้้น ประโยชน์ที่ว่าที่ชัดเจนที่สุดคือ เงิน และอำนาจในการกระทำบางประการในทางลับ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังคงยากจนและลำบากเหมือนเดิม
         (3) หากทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร ประเทศไทยจะถูกประเทศมหาอำนาจกดดันอย่างหนักทุกวิถีทาง เพราะเราต้องพึ่งพาหลายอย่างจ่กพวกเขา เช่น สิทธิบัตรยา ลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์
         (4) คนที่เชียร์ให้ยึดอำนาจ ไม่ได้เชียร์จริง และมั่นคงตลอดไป ดีใจเพียงแค่ได้เห็นประโยชน์ระยะสั้น ทันใจตนเองหรือไม่ หากไม่ได้ผลทันใจตามที่ต้องการ  หากไม่เห็นผลดังใจปรารถนา ก็จะลุกขึ้นมาโจมตีเสียเอง
         (5) ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เคยตั้งคำถามเชิงประชดเสียดสี เยาะเย้ย ดูแคลน ต่อผู้นำคณะรัฐประหารในทำนองที่ว่า.."ใครเชิญ ใครขอร้องให้มาปฏิวัติ คุณปฏิวัติของคุณเอง" ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่า ประชาชนจำนวนมาก ไม่ได้คัดค้านการรัฐประหาร และยังมีการมอบดอกกุหลาบสีแดงให้ทหารที่คุมรถถัง
         (6) หากทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร ประชาชนจะไม่พัฒนาตัวเองให้เข้มแข็งขึ้น จะรอแต่วีรบุรุษมากอบกู้สถานการณ์ พูดง่ายๆ คือ รอให้คนอื่นมาแก้ไขปัญหาให้ตัวเอง ง่าย ไว ทันใจ 
         (7) เมื่อปัญหาแก้ไม่ได้ แก้ไม่สำเร็จ ด้วยวิธีการปฏิวัติรัฐประหาร คราวนี้ ประชาชน และสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง จะเริ่มมองหาคนผิด จะเริ่มมองหาคนรับบาป และ "โยนบาปไปให้บุคคลนั้นทันที่ที่หาเจอ" แทนที่จะโทษตัวเอง แก้ไขที่ตัวเอง
         (8) ด้วยความก้าวหน้าของ "อำนาจที่ 6" คือ อำนาจของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้การปฏิวัติรัฐประหารทำได้ยากมาก แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ ทำได้แต่ยากมาก
         (9) อย่าเพียรมองหา "วีรบุรษขี่ม้าขาว" จากที่ไหนเลย ประชาชนพลเมืองที่เข้มแข็งคิอวีรบุรุษที่เก่งที่สุด..ขอเพียงพาตัวเองให้หลุดออกมาจากความลุ่มหลงใน "วีรบุรุษแห่งวังจุฑาเทพ"  และความลุ่มหลงในกระแสโลก ที่พัดพาเราไปไกลจากความเป็นคนไทย ความเป็นคนอาเซียน ที่มีศักยภาพในตัวเองมากพอตัว หันมาทำตัวเองให้เก่ง แกร่ง ในการคิด ในการทำงาน ในการเรียนรู้ ในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง และต้องไม่ลืมที่จะเลิก ดูถูกเหยียดหยามกันเอง เหยียบย่ำกันเอง ขัดขากันเอง ริษยากันเอง จึงจะหลุดพ้นจากวังวนแห่งปัญหาไปได้
         (10) เรียนรู้ด้วยตนเองให้ได้ พัฒนาตนเองให้ได้ และพึ่งตนเองให้ได้ ด้วยการใช้ความเป็นคนไทย ใช้สื่อและเทคโนโลยี ใช้วิธีการเรียนรู้และพัฒนาให้สุดกำลัง

         "ในสถานการณ์เช่นนี้ ก่อนร้องขอให้ทหารทำการปฏิวัติ จงปฏิวัติตัวเองเสียก่อน จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด"

         ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
         16 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค