ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันที่รู้สึกอึดอัดที่สุดในชีวิต

วันที่รู้สึกอึดอัดที่สุด
ไม่ใช่..วันที่ตกอยู่ในสภาวะมืดมนไร้หนทางออก
ไม่ใช่..วันที่รู้ความลับ แต่น้ำท่วมปากบอกใครไม่ได้
ไม่ใช่..วันที่ถูกคุกคามกดดันจากผู้มีอำนาจ
ไม่ใช่..วันที่เราถูกข่าวสารไหลบ่าถมทับท่วมท้น !!

ตรงกันข้าม "วันที่ว่างเปล่า" กลับเป็นวันที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดอย่างยิ่ง

ทำไม ??

ใครที่มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.  2516-2535 คงจำได้

        วันรุ่งขึ้นถัดไปหลังจากเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร เกิดอะไรขึ้น ??
ทุกอย่างอยู่ในความว่างเปล่าและเงียบสงบ
แผงหนังสือพิมพ์ว่างเปล่า ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันวางขายสักฉบับ
เพราะคณะปฏิวัติห้ามพิมพ์หนีงสือพิมพ์ขาย ในอีกความหมายหนึ่งคือ
..ขอให้คุณอยู่ในความสงบ ขอให้คนไม่พูด ไม่วิจารณ์
..ขอให้คุณอยู่ในความว่างเปล่า..
เพื่อให้สะดวกต่อการ "ควบคุม" ได้โดยสะดวก

     เปล่าครับ บทความนี้ไม่ได้จะพูดถึงความเลวร้ายของการปฏิวัติรัฐประหาร หรือ
ความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็นประชาธิปไตย

     แต่ผมกำลังจะพูดถึง
        "ความอึดอัด" ที่เกิดขึ้นจาก "ความว่างเปล่า"
         "ความอึดอัด" ที่เกิดขึ้นจาก "การไร้การติดต่่อสื่อสาร" 
                ระหว่างคนในสังคมคนหนึ่ง กับ มวลชนส่วนใหญ่ หรือกับคนส่วนใหญ่ในสังคม
การขาดการติดต่อสื่อสาร ทำให้เรา
        ขาด "การรับรู้"
        ขาด "การมีส่วนร่วมทางอารมณ์และความรู้สึก"
                 กับ..ผู้คนอื่นๆ ในสังคม

ท่านเชื่อไหมว่า..ความรู้สึกอึดอัดแบบเดียวกันกับในอดีต เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีอยู่ !!

ท่านลองคิดถึงวันที่ "อินเทอร์เน็ตล่ม"
        หากท่านไม่สามารถ..เข้าไปเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้
        หากท่านไม่สามารถ..เข้าเว็บกูเกิ้ลเพื่อค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างได้
        หากท่านไม่สามารถ..เข้าไปอ่านอีเมล์หรือส่งอีเมล์ได้
        หากท่านไม่สามารถ..ล็อกอินเข้าเฟสบุ๊กได้ 
        หากท่านไม่สามารถ..โพสต์ภาพตัวเองได้ ไม่สามารถพิมพ์อะไรลงไปเพื่อให้คนอื่นรับรู้ได้
        หากท่านไม่สามารถ..ดูภาพและอ่านข้อความของคนอื่นได้
        หากท่านไม่สามารถ..ส่งข้อความ 140 ตัวอักษรได้

ท่านจะรู้สึกอย่างไร ??

หากสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ระหว่าง  "อินเทอร์เน็ตล่ม" กับสิ่งเหล่านี้
        ..น้ำประปาไม่ไหล
        ..ไฟดับสามชั่วโมง
        ..ปั๊มน้ำมันไม่มีน้ำมันขายสามวัน
         ..ร้าน 7Eleven ปิดให้บริการสามวัน
         ..แม้กระทั่ง ไม่มีหนังสือพิมพ์วางขายที่แผงหนึ่งสัปดาห์ แต่ว่ายังมีหนังสือพิมพ์ออนไลน์ให้อ่าน

ท่านจะเลือกอะไร ??

สำหรับผม..ผมขอสารภาพว่า ผมยอมไม่มีสิ่งที่ว่านั้นเป็นการชั่วคราว 
เพื่อแลกกับการมี "อินเทอร์เน็ต" ในการติดต่อสื่อสาร เพราอะไร ??
คำตอบคือ เพราะผมรู้สึก "อึดอัด" และ "อึดอัดเป็นอย่างมาก"
หากผมไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ในการติดต่อสื่อสาร

หากคำตอบจากท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ในประเทศนี้ เลือกการมีอินเทอร์เน็ตมากกว่าเช่นกัน
นั่นหมายความว่า เรา ขาดการติดต่อสื่อสารออนไลน์ไม่ได้
หรือ เราไม่อยากที่จะขาดการติดต่อสื่อสารออนไลน์

        เราอึดอัด เราอึดอัด เราอึดอัด..
        เราอึดอัด..ที่จะไม่ได้ติดต่อสื่อสารทางโลกออนไลน์
        เราอึดอัด....ที่จะไม่ได้ใช้ "สมาร์ทโฟน"
        เราอึดอัด..ที่จะไม่ได้ใช้ "แทบเล็ต"
        เราอึดอัด..ที่จะไม่ได้ใช้ "คอมพิวเตอร์"

        เพื่อที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น คนอื่นๆ คนจริงๆ ในโลกนี้ "ที่อยู่ในระบบออนไลน์"

         เราอึดอัดจริงๆ ใช่ไหม ??
         ถ้าเราขาดการติดต่อสื่อสารทาง "อินเทอร์เน็ต"

         ถ้าเราขาดการติดต่อสื่อสารทาง "โลกออนไลน์"

         เรากำลังอยู่ในสังคมแห่งการสื่อสาร (communication society) ใช่ไหม ??
         เราจึงอึดอัดเมื่อไร้การติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารทาง "อินเทอร์เน็ต"


         รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
         12 กรกฎาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค