ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สารพิษในข้าว..พิษร้ายในใจคน

สารพิษในข้าว..พิษร้ายในใจคน

       ประเด็นปัญหาว่าด้วยสารพิษเมทิล โบรไมด์ ตกค้างในข้าวสาร

        การแถลงข่าวรายงานผลการตรวจสารเมทิล โบรไมด์ตกค้างในข้าวสารข้าวสาร 46 ตัวอย่าง โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อบ่ายวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ปรากฏว่า ไม่พบสารตกค้าง 12 ตัวอย่าง 26.1% พบสารตกค้างสูงเกินมาตรฐาน codex 1 ตัวอย่าง 2% พบสารตกค้างสูง 25-50 ppm 5 ตัวอย่าง พบสารตกค้างสูง 5-25 ppm 7 ตัวอย่าง
        จากรายงานผลการตรวจที่แถลงข่าวให้ประชาชนทั้งประเทศทราบวันนี้
        - ผู้ผลิตข้าวบางบริษัทตกใจแทบช็อค
        - ผู้ผลิตข้าวบางบริษัทตกใจบ้างพอสมควร
        - ผู้ผลิตข้าวบางบริษัทดีใจสุดๆ ที่ไม่พบสารพิษในข้าวของตนเอง

        แต่ที่ตกใจที่สุด กลับน่าจะเป็น ประชาชนผู้บริโภคข้าว !! 
        เพราะอะไรหรือครับ..ผมจะแจกแจงให้ฟังดังต่อไปนี้ครับ

        รายงานผลการตรวจสอบสารพิษตกค้างในข้าวสาร ตามข้อมูลที่ได้นำเสนอข้างต้นนี้นับเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจซื้อข้าวยี่ห้อใดมาบริโภค ต้องขอขอบคุณในความริเริ่มของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยเฉพาะคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขามูลนิธิ

        อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นประชาชนที่ซื้อข้าวสารถุงมาบริโภคเป็นประจำ เดือนละ 4 ถุง รวม 20 ก.ก. ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 10 ปี ผมมีข้อสงสัย ขอตั้งประเด็นคำถาม และมีข้อสังเกตต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

        ประเด็นที่ 1 กลุ่มที่เสี่ยงที่สุดต่อการได้รับสารพิษ คือใคร ?
            1. พิจารณาจากการสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างข้าวสารมาตรวจทั้งหมด 46 ตัวอย่าง คละชนิดของข้าวทั้งหมด ทั้งข้าวขาว ข้าวเสาไห้ ข้าวหอม ข้าวหอมมะลิ ผมไม่ได้ตั้งประเด็นในเชิงวิชาการสถิติใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผมเห็นว่า ข้าวแต่ละชนิด มีกลุ่มผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง 
            ก. ข้าวขาว ข้าวเสาไห้ ข้าวขาวตาแห้ง เป็นข้าวที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ข้าวแข็ง เป็นตัว หมายถึง เมล็ดข้าวที่หุงแล้วจะร่วนซุยเป็นเมล็ดๆ หุงขึ้นหม้อ กินข้าวชนิดนี้แล้วอิ่มท้อง อยู่ท้องได้นาน ข้าวชนิดนี้จัดเป็นข้าวระดับพื้นฐาน ราคาไม่แพง กลุ่มประชาชนทั่วไป ประชาชนชั้นล่าง ผู้ใช้แรงงาน นิยมรับประทาน เพราะอิ่มอยู่ท้อง ไม่หิวบ่อย
            ข. ข้าวหอม เป็นข้าวที่มีความนุ่มนวลมากกว่าข้าวขาวหรือข้าวเสาไห้ หุงขึ้นหม้อพอสมควร กินข้าวชนิดนี้แล้วอิ่มท้องพอสมควร ข้าวชนิดนี้จัดเป็นข้าวระดับปานกลาง ราคาปานกลาง คนชั้นกลาง รวมทั้งคนชั้นสูงบางคนที่ไม่ชอบข้าวนิ่มเกินไปแบบข้าวหอมมะลิ นิยมบริโภคข้าวชนิดนี้
             ค. ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่มีความนุ่มมากกว่าสองชนิดแรก หุงแล้วเมล็ดนิ่ม ไม่ขึ้นหม้อ ปริมาณข้าวดูเหมือนจะไม่ขยายตัวมากขึ้น ในขณะที่ข้าวขาวหนือข้าวเสาไห้ดูเหมือนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ข้าวชนิดนี้จัดเป็นข้าวระดับสูง มีราคาแพง คนชั้นกลาง และคนชั้นกลางบนขึ้นไป นิยมบริโภค
              ปัญหาคือ เมื่อเราไม่ได้แยกกลุ่ม ก่อนสุ่มมาตรวจ อาจทำให้ตัวเลขร้อยละคลาดเคลื่อนได้ ดูรวมๆ แล้วเราอาจเห็นว่าข้าวบางชนิดปลอดภัยมากกว่า 
               2. พิจารณาชนิดข้าวที่ปนสารพิษและกลุ่มผู้บริโภค
                   จากผลการตรวจสอบ
                   (1) ข้าวสารที่ไม่พบสารตกค้าง 12 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น
                         - ข้าวขาว 5 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอม 4 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอมมะลิ 3 ตัวอย่าง
                        อันทีี่จริง เราควรจะแบ่งกลุ่มของข้าวออกเป็น 3 ชนิดเสียก่อน แล้วจึงสุ่มข้าวจาก 3 ชนิดนั้น
              เมื่อผลการตรวจออกมา ก็ควรจะแยกผลการตรวจของข้าวแต่ละชนิดแยกกัน คิดค่าร้อยละแยกกัน

              กรณีข้าวสารที่ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีปัญหา

              แต่ถ้าเป็น กรณีข้าวสารที่มีสารพิษตกค้าง จำนวน 46-12 = 34 ตัวอย่าง ตรงนี้แหละที่น่าจะมีปัญหา
              เพราะ 34 ตัวอย่างนี้ แยกเป็น
                   ก. ข้าวที่มีสารพิษตกค้างระดับมากเกินกำหนด 1 ตัวอย่าง
                   ข. ข้าวที่มีสารพิษตกค้างระดับสูง 25-50 ppm 5 ตัวอย่าง
                   ค. ข้าวที่พบสารตกค้างสูง 5-25 ppm 7 ตัวอย่าง
                   ง. ข้าวที่พบสารตกค้างน้อย 14 ตัวอย่าง
                   จ. ข้าวที่พบสารตกค้างน้อยมาก 7 ตัวอย่าง

               สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ 
                   (1) ข้าวที่มีสารพิษตกค้างสูงเกินกำหนด 1 ตัวอย่าง เป็นข้าวขาว เป็นข้าวชนิดที่ประชนทั่วไป ประชาชนชั้นล่างบริโภค
                   (2) ข้าวที่มีสารพิษตกค้างระดับสูง 25-50 ppm 5 ตัวอย่าง แยกเป็น
                         - ข้าวขาว/ข้าวเสาไห้/ข้าวขาวตาแห้ง 3 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอม 1 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอมมะลิ 1 ตัวอย่าง
                         จะเห็นได้ว่า เป็นข้าวขาว ถึง 3 ตัวอย่าง และข้าวหอมอีก 1 ตัวอย่าง รวม 4 ตัวอย่างที่ เป็นข้าวที่ชนชั้นล่าง และชนชั้นกลางนิยมบริโภค

                   (3) ข้าวที่มีสารพิษตกค้างระดับสูง 5-25  ppm 7 ตัวอย่าง แยกเป็น
                         - ข้าวขาว/ข้าวเสาไห้/ข้าวขาวตาแห้ง 3 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอม 3 ตัวอย่าง
                         - ข้าวหอมมะลิ 1 ตัวอย่าง
                     จะเห็นได้ว่า เป็นข้าวขาว ถึง 3 ตัวอย่าง และข้าวหอมอีก 3 ตัวอย่าง รวม 6 ตัวอย่าง ที่เป็นข้าวที่ชนชั้นล่าง และชนชั้นกลางนิยมบริโภค

                     จากข้อมูลใน (1)-(3) เราจะเห็นว่า ผู้ที่บริโภคข้าวที่มีสารพิษเจือปน เป็น กลุ่มผู้บริโภคระดับชนชั้นล่าง และชั้นกลางล่าง 
                     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ทีีบริโภคข้าวที่มีสารพิษเจือปนเกินกว่าระดับมาตรฐาน เป็นกลุ่มชั้นล่าง !! เป็น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งมีสถานภาพทางสังคมต่ำ และที่สำคัญคือพวกเขามี "อำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจและสังคม" ในระดับต่ำ หมายความว่า พวกเขาไม่มีโอกาสไปเลือกซื้อข้าวราคาแพง ที่มีโอกาสปลอดภัยมากกว่ามาบริโภค อันหมายความว่า พวกเขามีโอกาสเสี่ยงมากกว่าที่จะ "ได้รับสารพิษ" จาก "การกินข้าว" !! ทุกวี่ทุกวัน

              ประเด็นที่ 2 เราเสี่ยงอันตรายจากกินข้าวปนเปื้อนสารพิษมานานกี่ปีแล้ว ?
                       เพราะ เราเพิ่งจะเริ่มได้รับการเตือนเรื่องข้าวแนเแื้อนสารพิษเมทิล โบรไมด์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 นี่เอง !!
                       การตรวจสารพิษปนเปื้อนเพิ่งจะเริ่มมีการตรวจในปลายเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2556 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แล้วก็พบว่า ข้าวบางยี่ห้อที่สุ่มมาตรวจ "มีสารพิษปนเปื้อน" อยู่จริง
                       คำถามแรกคือ เรากินข้าวที่ปนสารพิษเมทิล โบรไมด์ มานานเท่าไหร่แล้ว
                       คำถามที่สองคือ เราในที่นี้คือ ชนชั้นล่าง กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา กินข้าวที่ปนสารพิษเมทิล โบรไมด์ มานานเท่าไหร่แล้ว
                        คำถามที่สามคือ ก่อนหน้านี้ทำไม เราไม่ได้รับคำเตือนอะไรจากภาครัฐเลย ?? ทำไมมันเหมือนว่าเราไม่มีใครที่กินเงินจากภาษีของเรา ทำงานเรื่องนี้ บอกเราเรื่องนี้ มาก่อนเลย ??
                        ผมขอเรียนว่า ผมไม่ได้เอาเรื่องนี้ไปผูกโยงกับเรื่องทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น

             ประเด็นที่ 3 การตรวจสอบสารพิษเมทิลโบรไมด์ในข้าวสารควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด ??
                              การตรวจสารพิษเมทิล โบรไมด์ รวมทั้งสารพิษชนิดอื่นในข้าวสาร ควรจะเป็นพันธกิจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใด หน่วยงานภาครัฐ ในที่นี้ ผมไม่ได้หมายถึง หมายถึง รัฐบาล แต่ผมหมายถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น
                            กระทรวงเกษตร - กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร
                            กระทรวงสาธารณสุข - กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงาน อย.
                            หรือ..
                            กระทรวงอะไรก็ได้ กรมอะไรก็ได้ แผนกอะไรก็ได้สักแผนกหนึ่ง.,ที่มีความรู้สึกตระหนักในความปลอดภัยของประชาชน ความรับผิดชอบในชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นล่าง !!

                            คำถามสุดท้าย คงเป็นคำถามเชิงรำพันว่า..ถ้ามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไม่ลุกขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ 
                            คนกินข้าวสารถุง ที่เป็นชนชั้นกลางค่อนทางล่าง และชนชั้นล่างอย่างพวกเรา..จะต้องกินข้าวปนสารพิษไปอีกนานแค่ไหน !!
                            เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาจะรู้สึกตระหนักในพันธกิจในการปกป้องประชาชนเมื่อไกร่ !!
                            หากเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ไม่ทำอะไร ก็คงต้องรบกวน

                            ท่านรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                            ท่านรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข
                            ท่านรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ..กระทรวงอะไรก็ได้ สักกระทรวงหนึ่ง..!!

                             ช่วยเป็นธุระให้ที..จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

                             รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
                             16 กรกฎาคม 2556







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค