ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คนทำข้าว-คนทำข่าว..เราต้องการสิ่งเดียวกันคือ ความกล้าหาญ และ การพูดความจริง

คนทำข้าว-คนทำข่าว..เราต้องการสิ่งเดียวกันคือ ความกล้าหาญ และ การพูดความจริง

          เหตุการณ์ตรวจพบสารพิษเมทิล โบรไมด์ ตกค้างในข้าวสารถุงกว่า 20 ยี่ห้อ ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถีเปิดเผยผลการตรวจสอบเมื่อวันอังคารที่ 16 ก.ค. 56 ที่ผ่านมา

         ข้าวที่ผู้คนจดจำชื่อยี่ห้อได้มากที่สุด น่าจะเป็นข้าวสาร "โคโค่ ข้าวขาวพิมพา" เหตุเพราะเป็นยี่ห้อเดียวที่พบสารพิษตกค้างสูงเกินระดับมาตรฐาน สูงถึง 67.4 ppm ขณะที่ค่ามาตรฐาน codex กำหนดไว้เพียง 50 ppm

        ขณะที่คนทำข่าวบางส่วน เสนอข่าว "ตามน้ำ" และ "ตาม setting" การจัด press tour ที่พระนครศรีอยุธยา สำนักข่าวบางส่วนเปิดเผยต้นตอที่มาของ "ข้าวปนสารพิษ" จนได้พบ "คนทำข้าว" ตัวจริง คือ คุณจรูญ ศรีวสันต์ศักดิ์ ผู้จัดการบริษัท สยามเกรนต์ ผู้ผลิตข้าวสารถุง โคโค่ พิมพา

        แทนที่จะ "หลบเลี่ยง เบี่ยงประเด็น" คุณจรูญ ศรีวสันต์ศักดิ์ กลับ พูดความจริงแบบตรงไปตรงมา..ยอมรับอย่างกล้าหาญว่า ข้าวสารที่ผลิตปนสารพิษเมทิล โบรไมด์ไปนั้น ตนทำลงไปด้วย "ความไม่รู้"

        เป็นความไม่รู้ในเรื่องเทคนิคการผลิต ว่าที่ถูกต้องแล้ว จะต้องรมควันก่อนบรรจุถุง แต่คุณจรูญ บรรจุถุง แล้วจึงรมควัน เป็นเหตุให้มีสารเมทิล โบรไมด์ ตกค้างในข้าวสารถุง

        นานเท่าไหร่แล้วไม่รู้..ที่คนไทย ไม่เคยพบเห็น คนที่มีความกล้าหาญ ยอมรับความผิด ยอมรับข้อผิดพลาดบกพร่อง อย่างตรงไปตรงมาเช่นนี้..บอกตรงๆ เห็นแล้วชื่นใจที่สุด ดีใจที่สุด เหมือน "ฟางเส้นเดียว ลอยมาในกระแสน้ำเชี่ยว" ที่คนกำลังจะจมน้ำเพราะหมดแรง กลับมีความหวังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

        คนทำข้าว..กล้าหาญ เผชิญหน้า เปิดเผยความจริง

        เราคาดหวังคุณลักษณะสำคัญแบบคุณจรูญ ศรีวสันต์ศักดิ์ คือ ความกล้าหาญและการพูดความจริง จากสังคมไทยทุกภาคส่วนด้วยเช่นกัน

        ยามที่ประเทศชาติเกิดวิกฤติ สิ่งที่ประชาชนต้องการมากที่สุดคือ "ความกล้าหาญ และ การพูดความจริง"

        จาก "นักวิจัย"
        จาก "นักวิชาการ"
        จาก "คนทำข่าว"
        จาก "หน่วยงานภาครัฐ"
        จาก "รัฐมนตรี"
        จาก "นายกรัฐมนตรี"

               รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน
               18 กรกฎาคม 2556

ขอขอบคุณภาพจาก ThaiPBS


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก (Consciousness) การสร้างจิตสำนึก และการปลูกฝังจิตสำนึก ........................................................................................................................................ จิตสำนึกคืออะไร? สร้างอย่างไร? ปลูกฝังอย่างไร? ความหมายของจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกตระหนัก และการให้ความสำคัญ ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดและจิตใจของมนุษย์ ลักษณะของจิตสำนึก จิตสำนึกเป็นสภาวะที่ผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก การเกิดจิตสำนึก จิตสำนึก (Consciousness) เกิดจากการรับรู้ การเรียนรู้ การประเมินค่า จากสิ่งเร้าต่าง ๆ ประสบการณ์ จนเกิดเป็นความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้น สิ่งเร้าที่มนุษย์รับรู้ เรียนรู้ จนพัฒนามาเป็นจิตสำนึก ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ อารมณ์ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึก 1. การรับรู้ 2. ทัศนคติ 3. ประสบการณ์ 4. ระยะเวลาในการรับรู้ ความถี่ ความต่อเนื่อง ผลของ

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐฐ์วัฒน์  สุทธิโยธิน 9 มิถุนายน 2559             การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการสร้างเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดตัวแปรได้ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การตรวจสอบเครื่องมือวิจัยเบื้องต้น             การตรวจเครื่องมือวิจัย สอบเบื้องต้น มีสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้             1.1 การตรวจสอบเชิงโครงสร้างของเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจสอบว่า เครื่องมือวิจัยที่ตนเองสร้างขึ้นมานั้น มีความครอบคลุม มีความครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบต้องดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดให้ครบ             1.2 การตรวจสอบเชิงแนวคิด ผู้วิจัยต้องตรวจสอบเครื่องมือวิจัยโดยนำ “กรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual framework) มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบเทียบเคียงกับเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นว่า มีการ “วัดตัวแปร” หรือมีการ “เขียนข้อคำถาม” ครบถ้วนทุกตัวแปร ทุกประเด็น

นวัตกรรม ตอนที่ 4 กระบวนการสร้างนวัตกรรม

บทนำ การสร้างนวัตกรรมมีลักษณะเป็นกระบวนการ กระบวนการสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการหลัก 4 กระบวนการ คือ           1. กระบวนการสร้างความคิด (Idea generation)           2. กระบวนการสร้างโอกาส (Opportunity recognition)           3. กระบวนการพัฒนา (Development)           4. กระบวนการทำให้เป็นจริง (Realization)             การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีเป้าหมาย และมีกลยุทธ์ในการดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ในการนำเสนอเนื้อหาตอนนี้ที่ว่าด้วยกระบวนการสร้างนวัตกรรม จะได้กล่าวถึงเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงกับการสร้างนวัตกรรม และกระบวนการสร้างนวัตกรรม เป้าหมายของการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมมีเป้าหมาย 10 ประการคือ (O’Sullivan and Dooley, 2009 pp.58-59) 1. การปรับปรุงคุณภาพ (Improve quality) เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า หรือบริการ หรือกระบวนการในการให้บริการหรือกระบวนการในการทำงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น 2. การสร้างสรรค